Header

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน

นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย

heat stroke โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคลมร้อน หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน

“โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิกายลงได้ เป็นภาวะที่ต้องได้รับการบำบัดอย่างทันท่วงทีเนื่องจากอาจทำให้เสียชีวิตได้สูงมาก”

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือโรคลมแดด เป็นภาวะวิกฤตที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ มักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูง 40 องศาเซลเซียส (104 ฟาเรนไฮต์) หรือมากกว่า ส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะ หน้ามืด เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ช็อก หากปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการหรือไม่สามารถระบายความร้อนออกได้มากกว่า 2 ชั่วโมง อาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ ซึ่งหากได้รับการรักษาที่ล่าช้า ก็มีอันตรายถึงชีวิตได้

 

นพ.สมประสงค์ เกียรติวัฒนชัย เเพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ อธิบายว่า Heat Stroke มีสาเหตุการเกิดโรคออกเป็น 2 ประเภท คือ Classical Heat Stroke เกิดจากความร้อนในสิ่งแวดล้อมที่อาศัยอยู่มีมากเกินไป ส่วนใหญ่เกิดในช่วงที่มีอากาศร้อน พบบ่อยในผู้ที่มีอายุมากและมีโรคเรื้อรัง มักเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง อาการที่สำคัญ ได้แก่ อุณหภุมิร่างกายสูง ไม่มีเหงื่อ มักเกิดในช่วงมีคลื่นความร้อนสูง (Heat Wave) และอยู่ในบ้านที่ปิดมิด ไม่มีที่ระบายอากาศ และ Exertional Heat Stroke เกิดจากการออกกำลังที่หักโหมเกินไป มักจะเกิดในหน้าร้อนโดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานและนักกรีฑา อาการคล้ายกับ Classical แต่ต่างตรงที่กลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้จะมีเหงื่อออกมากต่อมาเหงื่อจะหยุดออก  นอกจากนี้ยังพบการเกิดการสลายเซลล์กล้ามเนื้อลาย โดยจะมีอาการแทรกซ้อน ได้แก่ ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูง ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำ และพบไมโอโกลบินในปัสสาวะด้วย เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน หมดสติ ชัก อาจมีเลือดออกทุกทวาร

 

“สัญญาณสำคัญของภาวะฮีทสโตรก” คือ ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งต่างจากการเพลียจากแดดทั่ว ๆ ไป หากมีอาการดังกล่าว จะต้องหยุดพักทันที ถ้าหากพบเจอผู้เป็นโรคลมแดดสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้โดย นำผู้มีอาการเข้าร่ม นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ ข้อพับ ขาหนีบ ศีรษะ  ร่วมกับการใช้พัดลมเป่า พ่นละอองน้ำ ระบายความร้อน เทน้ำเย็นราดลงบนตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

 

นพ.สมประสงค์ ยังกล่าวถึงแนวทางป้องกันภาวะฮีทสโตรกว่า หากต้องไปทำงานท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อน ก็ควรเตรียมตัวโดยการออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง  อย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง เพื่อให้ร่างกายชินกับสภาพอากาศร้อน  เป็นเวลา 2 สัปดาห์ (Heat Acclimatization) ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด และหากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร และแม้ว่าจะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว สวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายความร้อนได้ดี ก่อนออกจากบ้านควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟ 15 ขึ้นไป หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในอากาศร้อนจัด ควรดื่มน้ำให้เพียงพอระหว่างออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการกินยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการใช้ยาเสพติดทุกชนิด ในเด็กเล็กและคนชราควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ต้องจัดให้อยู่ในห้องที่อากาศระบายได้ดี และอย่าปล่อยให้เด็กหรือคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพัง

 

ทั้งนี้ ภาวะฮีทสโตรกเป็นภาวะที่เกิดจากความร้อน ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ซึ่งหากอาการรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ดังนั้น การดื่มน้ำและหลีกเลี่ยงการทำงานท่ามกลางสภาพอากาศร้อน เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยหลีกเลี่ยงภาวะฮีทสโตรกได้ หากมีอาการที่สงสัยหรือพบเจอผู้ที่เป็นภาวะฮีทสโตรกให้รีบทำการช่วยเหลือเบื้องต้น ลดอุณหภูมิในร่างกายด้วยการ ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด สำหรับครอบครัวที่มีเด็กเล็กและคนชราควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน

 

สำหรับ ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ เปิดให้บริการคำปรึกษาทางการแพทย์ ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02 080 5999 และเว็บไซต์ princsuvarnabhumi หรือที่ Line@: @psuv

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

สถานที่

อาคาร B ชั้น G

เวลาทำการ

24 ชม.

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4003

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

นพ.ภาณุพงศ์ ดำเกิงขจรวงศ์

เเพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

พญ.บุชกร ชุนเฮงพันธุ์

เเพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน

พญ.นภวรรณ สินธุวงษ์

เเพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

หวัดหน้าร้อน ใน “เด็ก”

เราสามารถพบอาการเด็กป่วยด้วยโรคไข้หวัดในฤดูร้อนได้ ยกตัวอย่างเช่น ไข้หวัดแดด ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งพบได้บ่อยมาก

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
หวัดหน้าร้อน ใน “เด็ก”

เราสามารถพบอาการเด็กป่วยด้วยโรคไข้หวัดในฤดูร้อนได้ ยกตัวอย่างเช่น ไข้หวัดแดด ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ ซึ่งพบได้บ่อยมาก

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เที่ยวทะเลหน้าร้อนในวันหยุด ต้องระมัดระวังตัวเองอย่างไร

หน้าร้อนแบบนี้ หลายครอบครัว คงมีแพลนทริปไปเที่ยวทะเลกัน วันนี้เราจึงนำวิธีการดูแลตัวเอง ก่อนเก็บกระเป๋าไปเที่ยวทะเลหน้าร้อน… ว่าต้องระมัดระวังตัวเองอย่างไร มาฝากทุกครอบครัวนะคะ

เที่ยวทะเลหน้าร้อนในวันหยุด ต้องระมัดระวังตัวเองอย่างไร

หน้าร้อนแบบนี้ หลายครอบครัว คงมีแพลนทริปไปเที่ยวทะเลกัน วันนี้เราจึงนำวิธีการดูแลตัวเอง ก่อนเก็บกระเป๋าไปเที่ยวทะเลหน้าร้อน… ว่าต้องระมัดระวังตัวเองอย่างไร มาฝากทุกครอบครัวนะคะ

กินน้ำแข็งหน้าร้อนเสี่ยงท้องเสีย

อากาศร้อน ใคร ๆ ก็อยากกินน้ำแข็ง แต่อย่าลืมนึกถึงเรื่องความสะอาด ก่อนที่จะรับประทานเข้าไป

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
กินน้ำแข็งหน้าร้อนเสี่ยงท้องเสีย

อากาศร้อน ใคร ๆ ก็อยากกินน้ำแข็ง แต่อย่าลืมนึกถึงเรื่องความสะอาด ก่อนที่จะรับประทานเข้าไป

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม