Header

เตรียมความพร้อมเต้านมคุณแม่ ก่อนคลอด สำคัญอย่างไร ?

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

เตรียมความพร้อมเต้านมคุณแม่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เตรียมความพร้อมเต้านมคุณแม่ก่อนคลอด สำคัญอย่างไร ?

ปัจจุบัน สถิติการให้นมแม่ทั่วโลกมีเพียง 43%  องค์การอนามัยโลก (WHO) พยายามช่วยกันรณรงค์ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน (Exclusive breast feeding 6 months) ให้ได้ 50% ในปี 2025 ซึ่งในประเทศไทยมีการสำรวจเมื่อ 2020 พบว่า มีการให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เพียง 23.1% เท่านั้น สาเหตุหนึ่งของปัญหานี้ มาจากหัวนมของคุณแม่ที่ไม่พร้อม หรือไม่สามารถให้นมได้

 

วิธีการประเมินเบื้องต้นว่า “หัวนมปกติ” หรือไม่?

1) การสังเกตลักษณะของเต้านมและหัวนมด้วยตนเอง คือ การดูแลวัดความยาวของหัวนม จากฐานลานนม

  • หัวนมปกติ - หัวนมยาว 0.7 - 1 ซม.
  • หัวนมสั้น  -  หัวนมยาวน้อยกว่า 0.7 ซม.
  • หัวนมบอด - หัวนมจะไม่ยื่นออกมา หรือบุ๋มลงไป

2) Pinch Test คือ การวางหัวแม่มือและนิ้วชี้ไว้ที่ฐานของหัวนม ใกล้กับขอบลานนม จากนั้นค่อยๆ กดนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เข้าหากัน เพื่อบีบหัวนมเบา ๆ ให้หัวนมยื่นออกมาจากลานนม

  • หัวนมปกติ - หัวนมจะยื่นออกมา จากลานนมปกติ ประมาณ 1 ซม.
  • หัวนมสั้น - หัวนมจะอยู่กับที่ หรือเคลื่อนเล็กน้อย
  • หัวนมบอด - หัวนมของคุณแม่ จะหดตัวกลับและจมลงไป 

3) Waller’s Test คือ การวางมือบนเต้านมให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ วางราบไปกับผิวหนัง  ให้นิ้วทั้งสองนั้นอยู่ชิดหัวนมตรงรอยต่อระหว่างหัวนม และลานหัวนม จากนั้นกดนิ้วทั้งสองเข้าหากัน เป็นการเลียนแบบการดูดนมตามธรรมชาติของลูก ซึ่งหากคุณแม่จับหัวนมได้ แสดงว่าลูกน้อยสามารถดูดนมแม่ได้ แต่ถ้าหัวนมผลุบลงไปจับไม่ติด แสดงว่าหัวนมแบนราบเกินไปหรือหัวนมบุ๋ม จะทำให้ลูกดูดนมแม่ไม่ได้

หากคุณแม่ตรวจพบว่า หัวนมของตัวเองนั้นมีความผิดปกติ เช่น มีหัวนมสั้น หรือหัวนมบอด สามารถทำการแก้ไขก่อนคลอด เพื่อเตรียมความพร้อมในการให้นมลูกหลังคลอดได้ ดังนี้

  • แก้ไขหัวนมสั้น สามารถนวดคลึงและดึงหัวนมได้ด้วยตัวเอง ตามวิธีดังนี้คือ
    • Nipple rolling จับด้านข้างของหัวนมตรงส่วนที่ติดกับลานนม ด้วยนิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือ คลึงเบา ๆ ไปมา พร้อมกับจับหัวนมดึงยืดออกมาเล็กน้อยแล้วปล่อย ทำซ้ำประมาณ 5 - 10 ครั้ง วันละ 2 ครั้ง
    • Hoffmann’s maneuver วางนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้างให้ชิดโคนหัวนม จากนั้นกดนิ้วและดึงแยกออกจากกันไป ทางด้านข้างทั้งสองทางเบาๆ  ทำทั้งจากด้านข้าง ด้านทิศบนและล่างให้รอบบริเวณหัวนม ทำซ้ำ 10 - 20 ครั้งต่อข้าง หลังอาบน้ำ
    • การใช้ปทุมแก้ว (Breast Shell หรือ Breast Cup) ใช้ปทุมแก้วครอบให้หัวนม อยู่ตรงกลางรูของฐานปทุมแก้ว หัวนมจะยื่นขึ้นมาที่ขอบรู และส่วนปทุมแก้วที่นาบกับลานหัวนม โดยใส่ไว้ใต้เสื้อชั้นในเฉพาะเวลากลางวันหลังอาบน้ำ ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ วันละ 2-3 ชั่วโมง อาจใช้ประมาณ 1 สัปดาห์หรือ 1 เดือน
  • แก้ไขหัวนมบอด อุปกรณ์ที่ช่วยดึงหัวนมแม่ได้ มีดังนี้
    • Nipple puller ด้วยการใช้นิ้วมือคุณแม่ บีบกระเปาะยางแล้วไปครอบหัวนม จากนั้นปล่อยนิ้วที่บีบกระเปาะเบา ๆ ใช้วิธีนี้ดึงหัวนมบ่อยๆ ทำวันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น ครั้งละ 10 นาที
    • Syringe puller โดยนำไซริงค์มาดูดบริเวณหัวนม วิธีการคือดึงลูกสูบขึ้นประมาณ 1/3 ของกระบอก แล้วนำด้านที่มีปีกมาครอบหัวนมให้สนิท ดึงลูกสูบช้า ๆ จนเห็นหัวนมยื่นยาวออกมา

ข้อควรระวัง: ไม่ควรกระตุ้นด้วยการนวดจับหรือสัมผัสเต้านมและหัวนมนานเกินไป ควรเริ่มเมื่ออายุครรภ์ 14 สัปดาห์ขึ้นไป เนื่องจากการกระตุ้นเต้านม ร่างกายจะส่งสัญญาณไปที่สมอง อาจทำให้มดลูกบีบรัดตัว จนแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ นอกจากความยาวและลักษณะหัวนม ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีก เช่น การตรวจคลำพบก้อนเต้านม ลักษณะผิวของเต้านม ความชุ่มชื้น หรือ รอยแตกแยกของผิวหนังบริเวณหัวนม ก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นกัน ที่อาจมีผลต่อการให้นมลูกในอนาคตอันใกล้

ดังนั้นหากคุณแม่มีความผิดปกติด้านหัวนม หรือเต้านม ควรปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ ผู้ดูแลตลอดการฝากครรภ์ก่อน เพื่อรับคำแนะนำอย่างถูกต้อง

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ปวีณา อมรเพชรกุล

สูตินรีแพทย์

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.มาโนชญ์ ลีชุติวัฒน์

เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา, มะเร็งวิทยานรีเวช

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเจ็บเต้านม มีก้อนที่เต้านม มีแผลที่หัวนม หรือมีน้ำไหลจากหัวนม มักจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าจะมีความผิดปกติในเต้านมหรือไม่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเจ็บเต้านม มีก้อนที่เต้านม มีแผลที่หัวนม หรือมีน้ำไหลจากหัวนม มักจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าจะมีความผิดปกติในเต้านมหรือไม่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ “ความรักความห่วงใยที่ช่วยทั้งคุณแม่และลูกน้อย”

เด็กทารกที่เกิดใหม่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับเด็ก การได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ทารกเติบโตได้สมบูรณ์แข็งแรง

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ “ความรักความห่วงใยที่ช่วยทั้งคุณแม่และลูกน้อย”

เด็กทารกที่เกิดใหม่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับเด็ก การได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ทารกเติบโตได้สมบูรณ์แข็งแรง

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ดีกว่า รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล

การคลอดบุตร รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล ขั้นตอนการมาคลอดธรรมชาติ และขั้นตอนการมาผ่าตัดคลอด ข้อดีของการคลอดแต่ละแบบ รวมถึงข้อเสียของการคลอดแต่ละแบบ

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ดีกว่า รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล

การคลอดบุตร รู้ก่อน พร้อมก่อน คลายกังวล ขั้นตอนการมาคลอดธรรมชาติ และขั้นตอนการมาผ่าตัดคลอด ข้อดีของการคลอดแต่ละแบบ รวมถึงข้อเสียของการคลอดแต่ละแบบ