Header

ความดันโลหิตสูง HYPERTENSION

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ความดันโลหิตสูง จัดเป็นภาวะหนึ่งซึ่งทำให้เกิดผลกระทบในทางเสื่อม ต่ออวัยวะสำคัญต่าง ๆ มากมาย เช่น สมอง หัวใจ ไต และส่งผลทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ในที่สุด

ความดันโลหิตคืออะไร

ความดันโลหิต   เป็นแรงดันเลือดที่เกิดจากหัวใจบีบตัว ส่งเลือดเข้าหลอดเลือดต่าง ๆ ขณะหัวใจบีบตัวความดันโลหิตสูงขึ้น เรียกความดันขณะนี้ว่า ความดันขณะหัวใจบีบตัว หรือ แรงดันโลหิตซีสโตลิค หรือ ความดันตัวบน ขณะหัวใจคลายตัวเลือดจากหลอดเลือดแดงจะไหลออกไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ความดันโลหิตลดต่ำลงเนื่องจากหัวใจคลายตัว ความดันขณะนี้ว่า  ความดันขณะหัวใจคลายตัว หรือ แรงดันโบหิตไดแอสโตลิค หรือ ความดันตัวล่าง

 

การบันทึกความดันโลหิต

บันทึกเป็นตัวเลข 2 ชุด เช่น 110 / 70 มิลลิเมตรปรอท สำหรับเครื่องที่เป็นดิจิตอลจะมีการบันทึกชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจด้วย
 

ความดันโลหิตปกติ

ความดันโลหิตปกติ ไม่ควรเกิน 130 / 85 มิลลิเมตรปรอทในขณะพักผ่อนความดันโลหิตแปรผันไม่คงที่ขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น ภาวะตื่นเต้น ดีใจ  ตกใจ หรือออกกำลังกายความดันโลหิตจะสูงขึ้น เมื่อพักผ่อนหรือนอนหลับความดันโลหิตจะต่ำลง
 

เมื่อใดเรียกว่า “ความดันโลหิตสูง”

ความดันโลหิตที่สูงเกินกว่า 140 / 85 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเริ่มผิดปกติ ควรมีการดูแลรักษาด้วยวิธีการปฏิบัติตัว (ดูรายละเอียดตอนท้าย) ถ้าสามารถลดค่าของความดันโลหิตได้ก็ไม่ต้องรับประทานยา แต่ถ้าควบคุมไม่ได้ แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาควบคู่ไปด้วย
 

สาเหตุ

มากกว่าร้อยละ 90 ไม่ทราบสาเหตุแต่พบปัจจัยเสริมดังนี้

  1. กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยที่แก้ไขไม่ได้
  2. สิ่งแวล้อม เป็นปัจจัยที่แก้ไขได้ เช่น อ้วนมาก เบาหวาน ทานอาหารรสเค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เครียด ไม่ออกกำลังกายและส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากโรคไต โรคที่มีความผิดปกติของระบบฮอร์โมน โรคความผิดปกติของหลอดเลือดระบบไหลเวียน ยาบางชนิด

 

อาการ

  • ความดันโลหิตสูงระดับอ่อนหรือปานกลาง มักจะไม่มีอาการอะไร แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปทีละน้อยอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเกิดผลแทรกซ้อนในที่สุด เช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ หรือ อัมพาต อัมพฤกษ์ ภาวะความดันโลหิตสูงจึงได้รับการขนานนามว่า “ฆาตกรเงียบ”
  • ความดันโลหิตสูงอย่างรุนแรง  ผู้ป่วยอาจเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นได้ เช่น เลือดกำเดาออก ตามองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งชั่วคราว เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เวียนศีรษะตุบ ๆ เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้ไม่เฉพาะ เพราะอาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้ เช่น เครียด ไมเกรน

ดังนั้นเมื่อเกิดอาการผิดปกติ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าพบความดันโลหิตสูงจะรักษาได้ถูกต้องและทันท่วงที ซึ่งเมื่อความดันโลหิตลดลงมาเป็นปกติ อาการดังกล่าวก็จะหายไป

 

ผลของโรคความดันโลหิตสูง

ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะก่อให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะสำคัญดังนี้

  • สมอง :  เลือดไปเลียงสมองไม่พอ บางส่วนของเนื้อสมองตายเกิดอัมพาต บางรายเสื้นเลือดในสมองโป่งพองและแตกทำให้เลือดออกในสมองและเสียชีวิตได้
  • ตา :  เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เรตินา ซึ่งเป็นส่วนของประสาทและหลอดเลือดที่ทำให้สามารถมองเห็นได้ โดยอาจเกิดมีน้ำคั่งหรือมีเลือดออก ทำให้ประสาทตาเสื่อมสมรรถภาพถึงกับตามองไม่เห็นได้
  • หัวใจ :  กล้ามเนื้อหัวใจ หนาขึ้น หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบลงเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
  • ไต :  เนื้อของจากหลอดเลือดแข็งและตีบลง เนื้อที่การกรองของไตน้อยลงเกิดการคั่งของของเสียในร่างกายมากขึ้น ไตทำงานไม่เป็นปกติ เกิดภาวะไตวายได้

 

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

หากพบว่าค่าความดันโลหิตผิดปกติควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษา และต้องปฏิบัติตนให้ถูกต้องอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ดังนี้

  • รับประทานอาหารและยาตามแพทย์สั่งและมาพบแพทย์ถ้ามีอาการผิดปกติ แพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดและปรับชนิดของยา
  • หลีกเลี่ยงจากความเครียด
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ วันละ 20-30 นาที
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หรือน้ำตาลมาก
  • จำกัดปริมาณเกลือ
  • งดสูบบุหรี่
  • ตรวจวัดระดับโคเลสเตอรอลสม่ำเสมอ
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ตรวจวัดความดันโลหิตให้สม่ำเสมอ
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

ศูนย์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของการหัวเราะ

มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าเพียงหัวเราะก็ง่ายกว่าการไปหาหมอหรือมีประสิทธิภาพดีกว่ายาเสียอีก ซึ่งจะบอกว่าเสียงหัวเราะเป็น “ยาวิเศษ” ก็ไม่ผิดตามคำกล่าว

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ประโยชน์ของการหัวเราะ

มีข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าเพียงหัวเราะก็ง่ายกว่าการไปหาหมอหรือมีประสิทธิภาพดีกว่ายาเสียอีก ซึ่งจะบอกว่าเสียงหัวเราะเป็น “ยาวิเศษ” ก็ไม่ผิดตามคำกล่าว

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคในเด็กที่พบบ่อยตามฤดู : โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก มักจะพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ นะคะ จำนวน ไม่แน่ใจ  แต่ว่าโรคจะระบาดในช่วงฤดูฝน อาการของโรค คือ มีไข้ มีแผลในปาก มีตุ่มแดงตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคในเด็กที่พบบ่อยตามฤดู : โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก มักจะพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ นะคะ จำนวน ไม่แน่ใจ  แต่ว่าโรคจะระบาดในช่วงฤดูฝน อาการของโรค คือ มีไข้ มีแผลในปาก มีตุ่มแดงตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง MRI และ CT SCAN

การตรวจคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้า MRI 3 Tesla คือ การตรวจหาความผิดปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกายโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการสะท้อนคลื่นวิทยุมาประกอบกันแล้วแปลงเป็นสัญญาณบนคอมพิวเตอร์ภาพที่ได้จะเป็นภาพตัดขวาง 3 มิติ

blank บทความโดย : ศูนย์รังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง MRI และ CT SCAN

การตรวจคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้า MRI 3 Tesla คือ การตรวจหาความผิดปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกายโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการสะท้อนคลื่นวิทยุมาประกอบกันแล้วแปลงเป็นสัญญาณบนคอมพิวเตอร์ภาพที่ได้จะเป็นภาพตัดขวาง 3 มิติ

blank บทความโดย : ศูนย์รังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม