Header

“โรคพิษสุนัขบ้า” พาหะของโรคมากมาย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

โรคพิษสุนัขบ้า โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรรภูมิ

ในประเทศไทย “โรคพิษสุนัขบ้า” ยังคงเป็นโรคที่เราต้องให้ความสำคัญ และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เรายังคงพบว่า มีผู้ป่วยโรคพิษสุนัขบ้าอยู่ตลอด           อีกทั้งบ้านเราเป็นเมืองร้อน มีทั้งสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคมากมาย โดยเฉพาะสุนัข ที่มีทั้งสุนัขเลี้ยง และสุนัขจรจัดเป็นจำนวนมาก เราจึงต้องระมัดระวังตัวเอง และคนในครอบครัว เพื่อให้ปลอดภัยและห่างไกลจากโรคพิษสุนัขบ้า 

 

ทำความรู้จัก “โรคพิษสุนัขบ้า” หรือ โรคกลัวน้ำ 

หลายท่านอาจจะยังคงไม่รู้จักเกี่ยวกับ “โรคพิษสุนัขบ้า” กันเท่าไรนัก แต่หลายคนก็อาจจะเรียกว่า “โรคกลัวน้ำ” โรคนี้จะพบในสัตว์เลือดอุ่น โดยเฉพาะสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น  หนู วัว ควาย ม้า แกะ ลิง ชะนี กระรอก ค้างคาว แมว กระต่าย กระแต และในสุนัข 

เกิดจากการติดเชื้อไวรัส จากการถูกสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสกัดหรือข่วน เลีย หรือรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีเชื้อซึ่งเป็นอันตราย โดยผู้ที่ได้รับเชื้อมักจะไม่ปรากฏอาการใดๆ แต่อาการมักเกิดหลังจากถูกกัด โดยประมาณ 7 วันหรือเป็นเดือน จึงปรากฏอาการให้เห็น 

 

หากถูกสัตว์กัด/ข่วน ควรดูแลตัวเองดังนี้

  • ล้างแผลก่อนเป็นอันดับแรกด้วยน้ำสะอาด และฟอกสบู่เบา ๆ หลาย ๆ ครั้ง เพื่อทำความสะอาดแผล 
  • ใช้ผ้าสะอาดหรือสำลีสะอาด เช็ดแผลให้แห้ง แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ
  • ขัง/กักสัตว์ที่กัด เพื่อสังเกตอาการ 10 - 15 วัน (หรือหาเจ้าของและเช็คประวัติการฉีดวัคซีนหากทำได้ทันที)
  • ควรรีบไปพบแพทย์เร็วที่สุด เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน และรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรค
  • ถ้าสามารถฉีดวัคซีนป้องกันก่อนได้ แนะนำว่าควรฉีดวัคซีนให้ครบ และตรงตามเวลาของกำหนดการฉีดวัคซีน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน 

 

อาการของ “โรคพิษสุนัขบ้า”

อาการที่พบ เช่น ไข้ต่ำ 324ๆ เจ็บคอ เพลีย มีไข้ ปวดศีรษะ รู้สึกหงุดหงิด มีความกระวนกระวาย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณแผล เกร็งกล้ามเนื้อที่ใช้กลืน มีอาการกลัวน้ำ  และสุดท้ายอาจมีอาการชัก อัมพาต อาการหนักมากอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด 

ทันทีที่ถูกสัตว์กัด ยิ่งถ้าไม่ได้เป็นสัตว์ที่เลี้ยงเอง ควรรีบไปโรงพยาบาล เพื่อทำการฉีดวัคซีนป้องกันอย่างรวดเร็ว 

ดังนั้นการป้องกันตัวเองที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันโรค คือ การหลีกเลี่ยงการถูกสัตว์กัด /ข่วนนอกจากนี้ ควรเข้ารับการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าล่วงหน้า 

 

วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าต้องฉีดอย่างไร

มีรายละเอียดแตกต่างกัน ดังนี้

1. ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (ก่อนการถูกสัตว์กัด) 

  • ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกสัตว์กัด เช่น บุรุษไปรษณีย์ สัตว์แพทย์ หรือผู้ที่จะเดินทางในพื้นที่ที่พบโรคพิษสุนัขบ้า 
  • ควรฉีดวัคซีนจนครบ 3 เข็ม ก่อนกำหนดการเดินทางประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน (ระดับที่สามารถป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า)

การฉีดวัคซีน จะฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือใต้ผิวหนัง จำนวนทั้งหมด 3 เข็ม โดยสามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อการวางแผนในการฉีดให้มีภูมิคุ้มกันได้

  • เข็มที่ 1 วันที่ต้องการฉีด 
  • เข็มที่ 2 ห่างหลังจากเข็มแรก 7 วัน
  • เข็มที่ 3 หลังจากเข็มแรก 21 - 28 วัน 

 

2. ป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (หลังถูกสัตว์กัด) 

ท่านที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน แพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อจำนวน 4 เข็ม หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังจำนวน 3 เข็ม (แพทย์อาจพิจารณาแนะนำการฉีดอิมมูโนโกลบูลิน

ร่วมด้วย)

  • เข็มที่ 1 วันที่ต้องการฉีด 
  • เข็มที่ 2 ห่างหลังจากเข็มแรก 3 วัน
  • เข็มที่ 3 ห่างหลังจากเข็มแรก 7 วัน
  • เข็มที่ 4 ห่างหลังจากเข็มแรก 14 - 28 วัน
  • เข็มที่ 5 ในดุลยพินิจของแพทย์ 
  • กรณีที่รับวัคซีนครบ 4 หรือ 5 เข็ม มาก่อนแล้ว มาสัมผัสหรือถูกสัตว์กัด (แพทย์อาจจะแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 2 เข็ม โดยไม่จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบูลินร่วมด้วย)

 

ข้อดีของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

หากได้รับการฉีดวัคซีนก่อนการสัมผัสเชื้อ หรือก่อนโดนสัตว์กัด จะมีประโยชน์ดังนี้

  • ผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ต้องฉีด Immunoglobulin รอบบาดแผล
    โดยอิมมูโนโกลบูลิน จะสามารถทำลายเชื้อไวรัสบริเวณแผลได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังฉีด 

(หากแพทย์พิจารณาฉีดอิมมูโนโกลบูลินร่วมกับการให้วัคซีน จำเป็นต้องฉีดอิมมูโนโกลบูลินโดยเร็วที่สุดและฉีดเพียงครั้งเดียว) 

สำหรับการฉีด จะฉีดบริเวณด้านในและรอบบาดแผล โดยขนาดที่ให้ฉีดจะปรับตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย 

การฉีดอิมมูโนโกลบูลิน คือ

อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เป็นการฉีดเพื่อช่วยให้ภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้า หลังโดนสัตว์กัด/ข่วน  

 

  • ผู้ที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว

หากโดนสัตว์กัดหรือข่วน จะฉีดกระตุ้นเพียง 2 เข็ม เท่านั้น คือ ในวันที่ 0 และ 3 

(แต่ในผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันมาก่อน ต้องฉีดจำนวน 5 เข็ม และฉีดอิมมูโนโกลบูลิน รอบๆ แผลทุกแผล เพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายควบคู่กัน)

 

ดังนั้นหากสามารถฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้ ก็จะยิ่งเป็นการดี หรือถ้าหากมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสัตว์แล้วด้วย ก็ควรจะฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าป้องกันเอาไว้เพื่อความปลอดภัย  

 

 บทความโดย :  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

 

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์