Header

โรคหลอดเลือดสมอง นักฆ่าเฉียบพลัน

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคอัมพาตเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของประเทศไทย! โดยมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ ปีละกว่า 30,000 คน นอกจากนี้ยังเป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศ ทุกวัยอีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่ใกล้ตัวเรามากทีเดียวเลยค่ะ

โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร?

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) คือภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน แตก หรือฉีกขาด ซึ่งขัดขวางการลำเลียงเลือดซึ่งนำออกซิเจนและสารอาหารไปหล่อเลี้ยงเซลล์สมอง ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงักลง จนเกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

โรคหลอดเลือดสมองมีกี่ประเภท?

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic Stroke)

เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยสามารถพบได้กว่า 80% ซึ่งความผิดปกติประเภทนี้อาจเกิดจาก 2 ลักษณะ ได้แก่

  • การเสื่อมสภาพของหลอดเลือดจากการสะสมของคราบหินปูน ไขมัน ที่ผนังหลอดเลือดชั้นใน ทำให้ผนังหลอดเลือดในตำแหน่งนี้หนาขึ้น แต่ในทางกลับกันรูของหลอดเลือดก็จะตีบหรือแคบลงไปด้วย อีกทั้งยังขาดความยืดหยุ่น ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง
  • การอุดตันของลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในหลอดเลือดสมองและขยายใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง หรือการอุดตันของลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นแล้วไหลตามกระแสเลือดจนมาอุดตันที่หลอดเลือดสมอง

ซึ่งการเกิดอุบัติการณ์ในลักษณะเช่นนี้ ส่งผลให้เกิด “ภาวะสมองขาดเลือด” นั่นเอง

  1. หลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic Stroke)

สามารถพบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง โดยเกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบาง โป่งพอง ร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นแตกออก เกิด “ภาวะเลือดออกในสมอง” ส่งผลให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บจากการมีเลือดคั่งในสมอง หรือแม้แต่ทำให้เนื้อสมองตาย แม้อุบัติการณ์นี้จะมีโอกาสพบได้น้อยกว่า แต่ถือว่ามีความอันตรายเป็นอย่างมาก โดยอาจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในระยะเวลาอันรวดเร็วได้

 

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่

  • ชาหรืออ่อนแรงตามใบหน้าหรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกายอย่างฉับพลัน
  • มุมปากตก ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  • เดินเซ ทรงตัวลำบาก สูญเสียการทรงตัว
  • มองเห็นภาพซ้อน มองเห็นภาพครึ่งเดียว หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรงฉับพลัน

 

หรือสามารถสังเกตได้ตามหลักการ F.A.S.T

F : Face หรือใบหน้า ให้ยิงฟันหรือยิ้ม แล้วสังเกตว่ามีอาการปากเบี้ยวหรือมุมปากตกหรือไม่

A : Arm หรือแขน ให้ยกแขนทั้ง 2 ข้างขึ้น เป็นเวลา 10 วินาที แล้วสังเกตว่ามีแขนข้างใดข้างหนึ่งตกหรือยกไม่ขึ้นหรือไม่

S : Speech หรือการพูด ให้ลองพูดประโยคง่าย ๆ ซ้ำ ๆ แล้วสังเกตว่ามีการพูดไม่ชัดหรือออกเสียงเพี้ยนหรือไม่

T : Time หรือเวลา หากพบอาการผิดปกติ ให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลภายใน 4.5​ ชั่วโมง

 

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้

  • อายุ ยิ่งอายุมาก ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น เพราะเกิดความเสื่อมสภาพของหลอดเลือด
  • เพศ พบว่าเพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง
  • ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ

ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้

  • ความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • ไขมันในเลือดสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • การสูบบุหรี่
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้สารเสพติด
     

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง

สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan)

 

ข้อดีของการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)

การตรวจ CT Scan จะช่วยวินิจฉัยแยกภาวะสมองขาดเลือดกับภาวะเลือดออกในสมองได้ โดยใช้ระยะเวลาในการตรวจน้อยกว่า MRI Scan ดังนั้นผู้ป่วยจะได้รับการรักษาที่รวดเร็วกว่า

 

ข้อดีของการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan)

การตรวจ MRI Scan จะมีความไวต่อการตรวจวินิจฉัยหาภาวะสมองขาดเลือดได้ในระยะแรก ๆ มากกว่าการทำ CT Scan อย่างไรก็ตาม MRI Scan สามารถวินิจฉัยแยกภาวะสมองขาดเลือดกับภาวะเลือดออกในสมองได้เช่นเดียวกัน

รู้จักโรคหลอดเลือดสมองอย่างละเอียดกันขนาดนี้แล้ว เพราะฉะนั้นอย่าลืมหมั่นใส่ใจสุขภาพ มาลดเสี่ยง เลี่ยงอัมพาต ด้วยการออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ลดหวานมันเค็ม เพิ่มผัก และตรวจสุขภาพประจำปีกันนะคะ

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

ศูนย์การแพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ของการตรวจ Sleep Test

การนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน (ประมาณ 8 ชั่วโมง) อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เราไม่รับรู้อะไรมากที่สุด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ประโยชน์ของการตรวจ Sleep Test

การนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน (ประมาณ 8 ชั่วโมง) อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เราไม่รับรู้อะไรมากที่สุด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ

10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ มีดังนี้ กินอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ

10 วิธี การกินอาหารเพื่อสุขภาพ มีดังนี้ กินอาหารเช้า เป็นพฤติกรรมพื้นฐานที่ส่งผลต่อจิตใจ และพลังชีวิตของคุณไปตลอดทั้งวัน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ

blank คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการท้องผูก

หลาย ๆ คนมักจะหลงคิดไปว่าท้องผูกเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่าง

อาการท้องผูก

หลาย ๆ คนมักจะหลงคิดไปว่าท้องผูกเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่าง