เมื่อลูกชักจากไข้ จะทำอย่างไรดี ?
ภาวะชักจากไข้สูงมีอาการอย่างไร ?
- อาการชักเกิดร่วมกับไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส
- อาการชักเกิดภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากมีไข้
- มักมีอาการนานไม่เกิน 15 นาที
- ไม่เคยชักโดยไม่มีไข้มาก่อน
- พบได้ในช่วงอายุ 6 เดือน – 5 ปี
- หายเองได้ในช่วงอายุที่มากขึ้นช่วง 6-7 ปี
อาการชักอาจเกิดจากโรค หรือภาวะอื่นๆได้หรือไม่ ?
- การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง
- โรคลมชัก
- ความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
ภาวะนี้มีผลต่อพัฒนาการ หรือสติปัญญาของเด็กหรือไม่ ?
- เป็นภาวะชักจากไข้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายในสมอง
- ไม่มีผลต่อพัฒนาการ
- ไม่มีผลต่อการเรียนในอนาคต
จะทำอย่างไรเมื่อลูกชัก ?
- จับนอนตะแคงให้ศีรษะต่ำ เพื่อไม่ให้สำลักน้ำลาย/อาเจียน
- ห้ามใช้วัสดุใดๆยัดปาก / ห้ามป้อนยาทางปากขณะชัก
- หากชักขณะที่ทานอาหารหรือมีเศษอาหารอยู่ในช่องปาก
ควรล้วงเศษอาหารนั้นออก
เพื่อป้องกันภาวะอุดกลั้นของทางเดินหายใจ - คลายเสื้อผ้าที่รัดตัวออกจากเด็ก โดยเฉพาะที่บริเวณคอ
- จัดสภาพแวดล้อมรอบตัวให้ไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
- พาไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของไข้
สังเกตลักษณะการชัก
- ชักเฉพาะที่ / ชักพร้อมกันทั้งตัว
- เริ่มชัก ซ้าย/ขวา /พร้อมกันสองข้าง
- ระยะเวลาในการชัก
จะมีโอกาสชักซ้ำ ถ้ามีไข้สูงอีกหรือไม่ ?
- เกิดชักซ้ำได้ ทั่วไปประมาณ : 20-30%
- เกิดชักซ้ำเกิน 3 ครั้ง : 10%
ปัจจัยเสี่ยง
- ชักครั้งแรกก่อนอายุ 12 เดือน
- ประวัติชักจากไข้ในพ่อแม่ พี่น้อง
- ชักภายในชั่วโมงแรกของไข้
- ชักโดยไข้ไม่สูงมาก (38-38.5 องศาเซลเซียส)
เคยเป็นไข้ชักมีโอกาสเป็นโรคลมชักหรือไม่ ?
- โอกาสเป็นโรคลมชัก 1-2% ขึ้นกับปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยง
- ประวัติครอบครัวเป็นลมชัก
- ชักนานเกิน 15 นาที, ชักซ้ำเกิดใน 24 ชั่วโมง
- มีพัฒนาการช้า หรือภาวะสมองพิการ
- ชักภายในชั่วโมงแรกของไข้
ป้องกันอาการชักซ้ำเมื่อลูกมีไข้สูงได้อย่างไร ?
เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ จึงยังไม่มีวิธีป้องกันการชักจากภาวะไข้สูงที่ชัดเจน
- เช็ดตัวลดไข้ **
- ทานยาลดไข้พาราเซตามอล
- เช็ดตัวลดไข้
- ผ้าขนหนู ชุบน้ำอุณหภูมิปกติ ** ห้ามใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็ง **
- ควรถอดเสื้อผ้าออกให้หมด
- เช็ดทุกส่วนของร่างกาย ย้อนรูขุมขน เน้นบริเวณข้อพับ
- ทำซ้ำหลายๆครั้ง ใช้เวลา 15-20 นาที
- หลังเช็ดตัวจนไข้ ซับตัวให้แห้ง แล้วใส่เสื้อผ้าปกติ ไม่ต้องใส่เสื้อผ้าหนา
จำเป็นต้องกินยากันชักหรือไม่ ?
-
ยากันชักระยะยาว ไม่มีประโยชน์ต่อภาวะไข้ชัก
และมีผลกดการทำงานของสมอง -
ยากันชักระยะสั้นในระยะ 24 - 48 ชั่วโมง ควรอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
ต้องดูแลเรื่องการลดไข้ร่วมด้วย
ระวังอาการข้างเคียงของยา
เช่น เดินเซ หยุดหายใจ ง่วงซึม/หลับ บดบังอาการความผิดปกติของระบบประสาท
Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
แผนกเด็ก 24 ชั่วโมง
สถานที่
อาคาร A ชั้น 2
เวลาทำการ
จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00
เบอร์ติดต่อ
02 080 5999 ต่อ 4401