Header

มะเร็งต่อมลูกหมาก - อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา

12 กุมภาพันธ์ 2567

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

มะเร็งต่อมลูกหมาก | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ต่อมลูกหมากคืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร

ต่อมลูกหมาก (Prostate Gland) เป็นอวัยวะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์และระบบปัสสาวะชาย ทำหน้าที่ผลิตน้ำหล่อลื่นที่อยู่ในน้ำอสุจิ ต่อมลูกหมากตั้งอยู่ที่ฐานของกระเพาะปัสสาวะ ตัวต่อมแบ่งเป็นสองซีกโดยมีท่อปัสสาวะอยู่ตรงกลาง 
 

ที่มา: clevelandclinic


จากสถิติในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ในปี ค.ศ. 2014 คาดว่าจะพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่จำนวนถึง 233,000 คน คิดเป็นร้อยละ 24 ของมะเร็งทั้งหมด อย่างไรก็ตาม อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด โดยจำนวนผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากที่เสียชีวิตในปี ค.ศ. 2014 เท่ากับ 29,480 คน อัตราการเสียชีวิตของมะเร็งต่อมลูกหมากที่น้อยกว่า อาจเนื่องด้วยเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากมีการกระจายตัวช้ากว่า รวมทั้งการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากที่ทำให้วินิจฉัยมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ทำให้ผลการรักษาดีขึ้น


มะเร็งต่อมลูกหมากคืออะไร

มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบบ่อยในเพศชาย มีความอันตรายที่ไม่รุนแรง แต่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต สามารถรักษาให้หายขาดได้หากเป็นในระยะแรก โดยจะเริ่มต้นจากต่อมลูกหมากซึ่งอยู่ระหว่างอวัยวะเพศชายและกระเพาะปัสสาวะ และความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น


สาเหตุการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก

สาเหตุในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากมีหลายปัจจัย ได้แก่

  • อายุ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นจะเพิ่มมากขึ้นเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป
  • เชื้อชาติและชาติพันธุ์ หากเป็นคนผิวดำหรือมีเชื้อสายแอฟริกัน จะมีความเสี่ยงมากขึ้นและมีแนวโน้มจะเป็นก่อนอายุ 50 อีกด้วย
  • ครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก โอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะเพิ่มขึ้นสองถึงสามเท่าหากสมาชิกในครอบครัวที่ใกล้ชิดเป็น
  • พันธุศาสตร์ จะมีความเสี่ยงมากขึ้นหากมีโรค Lynch หรือภาวะทางพันธุกรรมที่สามารถนำไปสู่มะเร็งได้


มะเร็งต่อมลูกหมากมีอาการอย่างไร

ในระยะเริ่มแรกมักไม่ค่อยแสดงอาการ แต่หากเป็นระยะที่เพิ่มขึ้นอาการเหล่านี้ก็จะเริ่มแสดงออกมา

  • ปวดปัสสาวะบ่อย
  • ปัสสาวะกะปริดปะปรอย
  • รู้สึกปวดหรือแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • กลั้นอุจจาระไม่อยู่
  • รู้สึกเจ็บเมื่อมีการหลั่งอสุจิและหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • มีเลือดปะปนในน้ำอสุจิหรือปัสสาวะ
  • ปวดหลังส่วนล่าง สะโพก หรือหน้าอก

 

การตรวจวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก

  • การตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam: DRE) การตรวจมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยวิธีนี้ แพทย์จะทำการสวมถุงมือหล่อลื่นแล้วสอดนิ้วเข้าไปในทวารหนัก เพื่อตรวจดูความผิดปกติของขนาดหรือเนื้อเยื่อ
  • การตรวจเลือดด้วยแอนติเจนหรือสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) การตรวจด้วยวิธีนี้แพทย์จะเอาตัวอย่างเลือดจากเส้นเลือดที่แขนมาวิเคราะห์หาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งเป็นสารที่ต่อมลูกหมากผลิตขึ้นเอง หากพบสารเพียงเล็กน้อยถือว่าปกติ แต่หากพบสารนี้ระดับที่สูงกว่าปกติ อาจบ่งชี้ถึงการติดเชื้อ การอักเสบ หรือการขยายตัวของมะเร็งได้

 

ใครที่ควรตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก

ผู้ชายทุกคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปควรเข้ารับการตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA) แต่หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ควรเข้ารับการตรวจครั้งแรกเมื่ออายุ 45 ปี และควรตรวจเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


วิธีป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

  1. ใส่ใจเรื่องอาหารการกิน 

    1. ด้วยการลดไขมัน กินไขมันทรานส์และไขมันอิ่มตัวให้น้อยลง เน้นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 จากถั่ว เมล็ดพืช และปลา
    2. กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น ผักตระกูลกะหล่ำ เช่น บรอกโคลีและกะหล่ำดอก มีสารประกอบที่เรียกว่าซัลโฟราเฟนซึ่งอาจป้องกันมะเร็งได้
    3. เพิ่มชาเขียวและถั่วเหลือง การทดลองทางคลินิกชี้ให้เห็นว่าถั่วเหลืองอาจลดระดับ PSA และชาเขียวอาจช่วยให้ผู้ชายที่มีความเสี่ยงสูงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากลดความเสี่ยงได้
    4. เลี่ยงเนื้อไหม้เกรียม เพราะเนื้อที่ไหม้จะมีสารเคมีที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้


ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก

ส่วนใหญ่แล้ว แพทย์จะใช้ระบบ TNM  เป็นเกณฑ์กำหนดระยะของมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งมีองค์ประกอบคือ

  • T=เนื้องอก ซึ่งอธิบายขนาด ตำแหน่ง และความลึกของเนื้องอกในเนื้อเยื่อ
  • N=โหนด บ่งชี้ว่าเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงหรือช่องทางที่เชื่อมต่อกับต่อมน้ำเหลือง
  • M=การแพร่กระจาย หมายความว่าเซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่อยู่ห่างออกไป

ระยะของมะเร็งจะช่วยให้แพทย์และผู้ป่วยตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

ระยะของมะเร็งต่อมลูกหมากมี 4 ระยะ ได้แก่

  1. มะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 1 หมายความว่ามะเร็งยังอยู่ที่ต่อมลูกหมากและยังไม่แพร่กระจาย
  2. มะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 2 หมายความว่าเซลล์มะเร็งยังคงอยู่ในต่อมลูกหมาก แต่อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายมากกว่าระยะที่ 1
  3. มะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 3 หมายถึงมะเร็งลุกลามเฉพาะที่
  4. มะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 4 หมายถึงมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้ว

 

วิธีรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

  • การเฝ้าระวังเชิงรุก มีการทดสอบ PSA เป็นประจำ การสแกน MRI และบางครั้งอาจมีการตัดชิ้นเนื้อมาตรวจดูความผิดปกติ 
  • การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออก การรักษานี้เป็นทางเลือกในการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากที่ไม่แพร่กระจายไปไกลมากนัก แต่จะไม่สามารถหลั่งระหว่างมีเพศสัมพันธ์ได้ ซึ่งก็หมายความว่าจะไม่สามารถมีลูกผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้นั่นเอง
  • รังสีบำบัด การรักษาโดยการใช้รังสีนั้นก็เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งให้หายไป นอกจากนั้น ยังชะลอการลุกลามของมะเร็งต่อมลูกหมากที่ลุกลามและบรรเทาอาการได้ ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการรักษาด้วยรังสีหลังการผ่าตัดต่อมลูกหมากออก อาจเพิ่มโอกาสในการรักษาให้ให้หายขาดได้อีกด้วย


หากกังวลหรือต้องการคำแนะนำ ควรพบแพทย์เฉพาะทางระบบปัสสาวะ แผนกสุขภาพเพศชาย เพื่อรับการตรวจอย่างละเอียดที่โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ

ศูนย์มะเร็ง

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

อังคาร - ศุกร์ - เสาร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แผนกสุขภาพเพศชาย

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์-อังคาร-พุธ 17.00-20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์