Header

ตาบอดสี

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

“ตา” เป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ภาวะ “ตาบอดสี” จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เพราะทำให้มองเห็นสีแตกต่างจากผู้อื่น หรือเห็นสีผิดเพี้ยนไปจากเดิม และสีเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราจำภาพหรือวัตถุต่าง ๆ ได้ สีมีอิทธิพลที่ทำให้เรารู้สึกชอบหรือไม่ชอบวัตถุนั้น ๆ แล้วถ้าเราเกิดภาวะที่เรียกว่า ตาบอดสี เราจะทำอย่างไร สามารถรักษาได้หรือไม่ เรามาหาคำตอบกันที่บทความนี้กันได้เลยค่ะ

ตาบอดสี (Color Blindness/Color Vision Deficiency) คืออะไร ?

เป็นภาวะการมองเห็นสีบางสีได้ไม่ชัดเจน หรือผิดเพี้ยนไปจากผู้ที่มีสายตาผิดปกติ โดยมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง การมองเห็นสีของดวงตาจะต้องอาศัยเซลล์หลังจอตา 2 ชนิดเป็นส่วนสำคัญในการแยกสีที่เรามองเห็น คือ เซลล์รูปแท่ง (Rod Cell) ที่มีความไวต่อการรับแสงแบบสลัว โดยใช้สำหรับการมองเห็นในเวลากลางคืน แต่สีที่มองเห็นจะเป็นสีในโทนดำ ขาว และเทาเท่านั้น ส่วนอีกชนิด คือ เซลล์รูปกรวย (Cone Cell) ที่มีความไวในการรับแสงที่สว่างกว่าเซลล์รูปแท่ง และสามารถแยกแสงสีต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน โดยเซลล์รูปกรวยนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย คือ เซลล์รูปกรวยชนิดที่ไวต่อแสงสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งในคนปกติจะมีเซลล์รูปกรวยครบทั้ง 3 ชนิดที่ไวต่อแสง แต่ละสีก็จะส่งสัญญาณไปยังสมองในการแยกสี และการผสมของแสงสีต่าง ๆ จากเซลล์นี้ จึงทำให้คนปกติสามารถมองเห็นสีได้หลายโทนสี

ตาบอดสีเป็นภาวะพบได้บ่อยในผู้ชายประมาณ 8% และพบในผู้หญิงได้ประมาณ 0.4% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งสีที่คนมักเป็นตาบอดสี คือ สีเขียว เหลือง ส้มและสีแดง ส่วนภาวะตาบอดสีทุกสี (Achromatopsia) จะพบได้น้อยมาก

 

ตาบอดสี เกิดจากอะไร ?

สาเหตุของการเกิดโรคตาบอดสีนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เป็นได้ตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นได้ในภายหลัง ดังนี้

  • กรรมพันธุ์ หรือเป็นตาบอดสีมาแต่กำเนิด เป็นสาเหตุหลักที่พบได้มากที่สุด โดยอาการที่พบบ่อยคือ บอดสีเขียว และสีแดง โดยพบในเพศชาย 7% และในเพศหญิงประมาณ 0.5 – 1%
  • อายุ อายุที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ไปตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น
  • โรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น โรคต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก
  • โรคอื่น ๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน
  • สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ การได้รับบาดเจ็บที่บริเวณดวงตาจากอุบัติเหตุ การได้รับสารเคมีเป็นระยะเวลานาน ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค เป็นต้น

 

อาการของโรคตาบอดสี สังเกตได้อย่างไร ?

อาการของโรคตาบอดสี จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • ระดับน้อย สีภาพที่เห็นอาจไม่เหมือนคนทั่วไป แต่สามารถบอกได้ว่าน่าจะเป็นสีอะไร
  • ระดับปานกลาง ความสามารถในการแยกสีน้อยลง
  • ระดับรุนแรง เห็นทุกอย่างเป็นสีขาวกับดำ ซึ่งระดับนี้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก

 

เราสามารถทดสอบตาบอดสีได้อย่างไร ?

ผู้ที่ต้องการตรวจว่าเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจ และปรึกษาจากจักษุแพทย์ ซึ่งวิธีวินิจฉัยโรคตาบอดสีมีอยู่หลายวิธี แตกต่างกันไป ได้แก่ แผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara plates) แบบทดสอบเคมบริดจ์ (Cambridge color test) การทดสอบด้วยเครื่อง Anomaloscope เป็นต้น

 

ตัวอย่างแบบทดสอบตาบอดสีแบบอิชิฮารา

ผู้ที่ต้องการตรวจว่าเป็นโรคตาบอดสีหรือไม่ ควรเข้ารับการตรวจ และปรึกษาจากจักษุแพทย์ ซึ่งวิธีวินิจฉัยโรคตาบอดสีมีอยู่หลายวิธี แตกต่างกันไป ได้แก่ แผ่นทดสอบอิชิฮารา (Ishihara plates) แบบทดสอบเคมบริดจ์ (Cambridge color test) การทดสอบด้วยเครื่อง Anomaloscope เป็นต้น

ผู้ที่มีสายตาปกติ และตาบอดสี จะมองเห็นเลข 12

 

ผู้ที่มีสายตาปกติจะอ่านได้ 29

ผู้ตาบอดสีแดง และสีเขียว จะอ่านได้ 70

ผู้ที่ตาบอดสีทั้งหมด จะอ่านแบบทดสอบนี้ไม่ได้

 

ผู้ที่มีสายตาปกติจะอ่านได้ 3

ผู้ตาบอดสีแดง และสีเขียว จะอ่านได้ 5

ผู้ที่ตาบอดสีทั้งหมด จะอ่านแบบทดสอบนี้ไม่ได้

 

ผู้ที่มีสายตาปกติจะอ่านได้ 74

ผู้ตาบอดสีแดง และสีเขียว จะอ่านได้ 21

ผู้ที่ตาบอดสีทั้งหมด จะอ่านแบบทดสอบนี้ไม่ได้

 

ผู้ที่มีสายตาปกติจะอ่านได้ 73

ผู้ที่ตาบอดสีจะอ่านแบบทดสอบนี้ไม่ได้

 

ผู้ที่มีสายตาปกติจะลากเส้นจาก X ไป X ได้

ผู้ตาบอดสีแดง และเขียว จะลากเส้นจาก X ไป X ตามเส้นสีม่วง ต่อกับสีเขียว

ผู้ที่ตาบอดสีทั้งหมด จะลากเส้นจาก X ไป X ไม่ได้

 

ตาบอดสีกับผลกระทบในชีวิตประจำวันอย่างไรบ้าง ?

ในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยตาบอดสีอาจมองเห็นสีผิดเพี้ยนไปบ้าง ซึ่งอาจเกิดความยุ่งยากในการตัดสินใจเกี่ยวกับเลือกสีของสิ่งของอยู่บ้าง ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีมีหลายประเภท อาจจะมองไม่เห็นหรือจำแนกสีหนึ่งออกจากอีกสีได้ยาก เช่น สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง ทำให้สีที่เห็นผิดเพี้ยนไป หรือในคนที่ตาบอดทุกสี หรือตาบอดสีระดับรุนแรง จะทำให้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นสีขาวดำ ตาบอดสีส่งผลกระทบอย่างไรในแต่ละอาชีพ ?

  • วัยเด็ก – วัยเรียน มีผลกระทบต่อเรื่องของการเรียนศิลปะ การประเมินพัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการในการเรียนรู้
  • งานที่ผู้ทึ่มีภาวะตาบอดสีควรหลีกเลี่ยงได้แก่ งานด้านเคมี จิตรกร นักบิน ช่างอิเทคโทรนิกส์ หรืองานที่ต้องมีการใช้สีเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงสิ่งต่าง ๆ
  • ผู้ที่มีภาวะตาบอดสีสามารถสอบใบขับขี่ได้ หากสามารถบอกความแตกต่างของสัญญาณไฟจราจรได้ถูกต้อง และผ่านเกณฑ์ประเมินอื่น ๆ

 

ตาบอดสีรักษาได้ไหม ?

  • สำหรับผู้ที่เป็นตาบอดสีโดยกรรมพันธุ์ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติได้ โดยหากผู้ป่วยทราบว่าตนเองเป็นตาบอดสีแต่กรรมพันธุ์ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาแนวทางป้องกันการเกิดภาวะตาบอดสีในเครือญาติ
  • ในกรณีที่ไม่เป็นตาบอดสีแต่กำเนิด ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุการเกิดตาบอดสี เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

จักษุแพทย์อาจมีการแนะนำให้ผู้ป่วยตาบอดสี สวมแว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ที่มีเลนส์กรองแสงบางสีออกไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้ชัดขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยมองเห็นสีได้เหมือนคนปกติ

ผู้ที่เป็นตาบอดสี สามารถทำเลสิคได้ (LASIK) ได้ เช่นเดียวกันกับผู้ที่มีสภาวะตาปกติทั่วไป แต่การรักษาด้วยวิธีการทำเลสิค เป็นการรักษาอาการสายตาผิดปกติ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียงเท่านั้น ไม่สามารถช่วยรักษาโรคตาบอดสีได้

การตรวจิวินิจฉัยโรคตาบอดสี ควรตรวจคัดกรองตาบอดสีตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยแนะนำที่อายุ 4 ขวบครึ่ง เพื่อป้องกันการเกิดภาวะช็อคเมื่อตนเองตาบอดสี ซึ่งจะทำให้เกิดข้อจำกัดต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต และการพบว่าเป็นโรคตาบอดสีได้เร็ว จะช่วยในการวางแผนการรักษาและวางแผนการใช้ชีวิตได้ดี

การตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำอย่างน้อยทุกปี หรือบ่อยตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ ซึ่งควรรวมทั้งการตรวจภาวะตาบอดสีด้วย โดยเริ่มตั้งแต่เด็กเมื่อเด็กสามารถให้ความร่วมมือในการตรวจได้ คือ ช่วงอายุประมาณ 3 – 5 ปี โดยเฉพาะเมื่อบิดา หรือมารดาตาบอดสี  สำหรับผู้ที่เป็นตาบอดสีโดยกรรมพันธุ์ไม่สามารถรักษาให้หายกลับมาเป็นปกติได้ แต่ผู้ที่เกิดภาวะตาบอดสีจากปัจจัยอื่น ๆ ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคในเด็กที่พบบ่อยตามฤดู โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก มักจะพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ นะคะ จำนวน ไม่แน่ใจ  แต่ว่าโรคจะระบาดในช่วงฤดูฝน อาการของโรค คือ มีไข้ มีแผลในปาก มีตุ่มแดงตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคในเด็กที่พบบ่อยตามฤดู โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก มักจะพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ นะคะ จำนวน ไม่แน่ใจ  แต่ว่าโรคจะระบาดในช่วงฤดูฝน อาการของโรค คือ มีไข้ มีแผลในปาก มีตุ่มแดงตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PRINCSUVARNABHUMI PODCAST EP. 2 สาระดี ๆ มีที่พริ้นซ์ ‘โรคพาร์กินสัน’

Podcast ที่จะชวนคุณหมอมาถามเรื่องสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บพร้อมคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PRINCSUVARNABHUMI PODCAST EP. 2 สาระดี ๆ มีที่พริ้นซ์ ‘โรคพาร์กินสัน’

Podcast ที่จะชวนคุณหมอมาถามเรื่องสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บพร้อมคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.วุทธิกรณ์ พันธุ์ประสิทธิ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เครื่องเอกซเรย์ทั่วไประบบดิจิตอล (Digital General X-ray)

เป็นการถ่ายภาพโดยใช้รังสีเอกซ์เพื่อนำมาวินิจฉัยโรคต่างๆ สามารถใช้สร้างภาพต่างๆในร่างกายได้ เช่น ปอด ช่องท้อง กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง แขน ขา เป็นต้น

เครื่องเอกซเรย์ทั่วไประบบดิจิตอล (Digital General X-ray)

เป็นการถ่ายภาพโดยใช้รังสีเอกซ์เพื่อนำมาวินิจฉัยโรคต่างๆ สามารถใช้สร้างภาพต่างๆในร่างกายได้ เช่น ปอด ช่องท้อง กะโหลกศีรษะ กระดูกสันหลัง แขน ขา เป็นต้น