Header

โรคซึมเศร้า แก้ได้ รักษาใจให้ถูกวิธี

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ปัจจุบันเราจะพบเห็นข่าวมากมาย หรือแม้แต่คนรอบข้าง ที่ป่วยด้วยภาวะซึมเศร้า ในบทความนี้ เราจะมาดูแลกายใจของเราและคนใกล้ตัว ให้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้า แบบถูกวิธีกัน

โรคซึมเศร้า (Depression)

เป็นกลุ่มอาการของโรคทางจิตเวช ที่ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก พฤติกรรม และสภาวะร่างกายและจิตใจ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า ชีวิตของตนเองไร้ค่า จมอยู่กับความเศร้า จนไม่อยากที่จะใช้ชีวิตอยู่

ผู้ป่วยที่เป็นซึมเศร้า จะรู้สึกเคว้งคว้าง เหงา เพลีย หดหู่ และรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวังในใจ จนสังเกตตัวเองได้ และอยากทจะหาที่ระบาย ปรึกษาคนใกล้ชิด เพื่อหาวิธีการบรรเทา ความทุกข์ใจ หรือหาคนที่ไว้วางใจ เพื่อการปรับทุกข์

 

โรคซึมเศร้า มีสาเหตุ

  • สารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ ส่งผลกระทบต่อความรู้สึก ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า
  • ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล อาจจะพบได้ในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ จากเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน หรือต่างปัจจัยตามตัวบุคคล
  • พันธุกรรม อย่างที่ทราบว่า พันธุกรรมเป็นต้นเหตุ ของการสืบทอดของโรคต่างๆมากมาย  ในปัจจุบันเรามักพบผู้ป่วย ที่มีความเกี่ยวข้องกันในครอบครัว ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเหมือนกัน

“คุณ !” เข้าข่ายผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแล้วหรือยัง

อาการของโรคซึมเศร้า ผู้ป่วยที่มีภาวะอารมณ์ซึมเศร้า อาการอาจจะกำเริบได้เป็นระยะๆ หากจิตใจหดหู่ เครียด หรือเข้าสู่ความคาดหวัง จากเรื่องส่วนตัว หรือสถานการณ์บังคับ จะพบอาการได้เป็นระลอกๆ เหตุการณ์นี้จบก็จะเกิดอีกหนึ่งเหตุการณ์ขึ้นใหม่ วนเวียนเป็นวัฏจักร

อาการที่เด่นชัดของโรคซึมเศร้า

  • ความรู้สึกเหงา หดหู่ เศร้า อ้างว้างในจิตใจ เหมือนอยู่คนเดียวในโลก
  • ความคาดหวัง และเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
  • รู้สึกน้อยใจ โกรธ หงุดหงิดในชีวิตตัวเอง
  • หมดไฟ อยากละทิ้งทุกอย่างในชีวิต และเรื่องที่ต้องทำในชีวิตประจำวัน
  • มีปัญหาเรื่องการนอน นอนไม่ได้ นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • เหนื่อยล้า ในการทำกิจกรรมทุกอย่าง
  • ความอยากอาหารลดลง หรือบางรายกินจุมากกว่าเดิม
  • เมื่อต้องเข้าสังคม รู้สึกวิตกกังวล ประหม่า คิดช้า ทำช้า พูดช้า
  • ความจำไม่ดี ขาดสมาธิ หมกมุ่น ครุ่นคิดแต่เรื่องตัวเอง และมักต่อว่าตัวเองเปรียบเทียบ
  • ความบอบช้ำทางร่างกายและจิตใจ จากปมปัญหาในอดีต
  • ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ และการไม่เป็นที่ยอมรับจากสังคม
  • มีความคิดสั้น อยากทำร้ายตัวเอง หรือเจอเรื่องหนักๆอาจคิดอยากฆ่าตัวตาย มักโทษว่าตัวเองไร้ค่า
  • ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังจากโรคต่างๆ เช่น หลอดเลือดสมอง หัวใจ และมะเร็ง

 

โรคซึมเศร้า แก้ได้…รักษาใจให้ถูกวิธี

โรคซึมเศร้ารักษาได้ จิตแพทย์ที่ทำการรักษา จะซักประวัติ และให้ผู้ป่วยบอกเล่าถึงภาวะเรื่องราวของความซึมเศร้า ที่เป็นปมปัญหาของตัวเอง เพื่อช่วยหาทางคลี่คลาย ผู้ป่วยต้องการให้การรับฟัง คำวินิจฉัย เพื่อเปรียบเทียบตรวจเช็คอาการ เพื่อให้การรักษามี ประสิทธิภาพสมบูรณ์

นอกจากนี้ ทั้งจิตแพทย์ นักจิตบำบัด จะมีบทบาทเป็นตัวช่วยแล้ว ยาที่แพทย์จ่ายให้ผู้ป่วยก็จะละเลยไม่ได้เลย และที่สำคัญ ผู้ป่วยยังจะต้องระวังรักษา ภาวะทางอารมณ์ของตัวเอง เพราะจิตแพทย์จะทำหน้าที่ให้ยารักษาผู้ป่วยตามอาการ ผู้ป่วยจะต้องกลับไปบำบัดจิตใจตัวเองหลังการพบแพทย์ การรักษาจึงต้องปฏิบัติตนตามแพทย์แนะนำ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย จะได้กลับมาดีเหมือนเดิมในเร็ววัน

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์