Header

ไวรัสตับอักเสบซี โรคร้ายที่มาแบบไม่เตือน

ไวรัสตับอักเสบมีหลายชนิด และไวรัสตับอักเสบซี คือหนึ่งในโรคที่ไม่ควรประมาท เพราะผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีส่วนใหญ่จะไม่มีอาการผิดปกติ กว่าจะทราบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ตับมักเริ่มเสื่อมมากแล้ว ซึ่งพบได้โดยการตรวจเลือดเท่านั้น ผู้ที่เป็นและไม่ได้รับการรักษาจะกลายเป็นไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง และในที่สุดจะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ ตับแข็ง และมะเร็งตับ ซึ่งสุดท้ายอาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต

ไวรัสตับอักเสบ ซี คืออะไร ?

ไวรัสตับอักเสบ ซี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิด ซี ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยพอควร โดยเฉพาะในผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น แต่ผู้ป่วยมักจะไม่ทราบมาก่อนว่ามีเชื้อนี้อยู่ในร่างกาย จะทราบก็ต่อเมื่อไปตรวจร่างกายแล้วพบการทำงานของตับผิดปกติ และตรวจเลือดพบการติดเชื้อ

เชื้อไวรัสตับอักเสบซีติดต่อกันอย่างไร ?

ไวรัสตับอักเสบ ซี สามารถติดต่อกันทางเลือด การใช้เข็มร่วมกัน การฟอกไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง  เพศสัมพันธ์ คล้ายกับไวรัสตับอักเสบ บี แต่ไม่สามารถติดต่อกันได้ทางการให้นมบุตร การจามหรือไอรดกัน การรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำด้วยกัน และการใช้ถ้วยชามร่วมกัน

ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ?

  • ผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์
  • ชายรักชาย และพนักงานบริการทางเพศ
  • ผู้ที่มีประวัติใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
  • ผู้ต้องขังหรือผู้เคยมีประวัติต้องขัง
  • ผู้ที่เคยได้รับเลือดและ/หรือรับบริจาคอวัยวะก่อนปี พ.ศ. 2535
  • ผู้ที่เคยสักผิวหนัง เจาะผิวหนังหรืออวัยวะต่าง ๆ ในสถานประกอบการที่ไม่ใช่ สถานพยาบาล
  • ผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังที่จำเป็นต้องได้รับการฟอกไตเป็นประจำ
  • ผู้ที่เป็นคู่สมรส หรือผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง รวมทั้ง สมาชิกในครอบครัวเดียวกัน
  • ผู้ที่มีมารดาเป็นผู้ป่วยโรคไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรัง
  • ผู้ที่เคยรับการรักษาจากผู้ที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข เช่น ฉีดยา ทำฟัน หรือหัตถการอื่น ๆ
  • ผู้ที่มีค่าเอนไซม์ของตับผิดปกติ
  • ผู้ที่สัมผัสหรือมีประวัติสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส ตับอักเสบ ซี

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ ซี

แบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ตับอักเสบเฉียบพลัน

หลังจากไวรัสตับอักเสบ ซี เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้เกิดการ อักเสบของตับ แต่ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่มีอาการ มีเพียงประมาณร้อยละ 25-30 ของผู้ป่วย จะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ที่เรียกว่า ดีซ่าน ดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่าตัวเอง เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี แบบเฉียบพลัน

ระยะที่ 2 ตับอักเสบเรื้อรัง

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี มากกว่าร้อยละ 80 จะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ซึ่ง ในระยะแรกผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ จนเมื่อตับถูกทำลายไปมากพอควรหรือมีการอักเสบของตับมาก ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

ระยะที่ 3 ตับแข็ง

ในระยะแรก ยังไม่มีอาการ หรือความผิดปกติ ผู้ป่วยยังสามารถมีชีวิต ทำงานได้ ตามปกติเหมือนเดิมจนกระทั่งผู้ป่วยสูญเสียการทำงานของตับมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะเริ่มมี อาการต่าง ๆ ซึ่งอาการแสดงแบ่งเป็น 2 ระยะ

อาการที่เกิดจาการสูญเสียการทำงานของเซลล์ตับ ทำให้การสร้างสารอาหาร พลังงาน และการทำลายพิษต่าง ๆ ผิดปกติ อาจพบอาการ ดังนี้

  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผอมลง
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • ท้องมาน ขาบวม
  • ผิวดำคล้ำ แห้ง คันโดยไม่มีแผล หรือผื่นมากกว่าเดิม
  • เลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟัน
  • ผิวหนังช้ำ เขียวง่าย
  • ไวต่อยาหรือสารพิษต่าง ๆ มากกว่าปกติ
  • สมองมึนงง ซึม สับสน หรือโคม่า

 อาการที่เกิดจากภาวะตับแข็ง (Cirrhosis)

  • อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือด เนื่องจากมีการแตกของหลอดเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร (Esophageal varices)
  • ม้ามโต
  • ซีด เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ
  • มะเร็งตับ

การรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี

แพทย์จะพิจารณาตามภาวะของโรค และโรคร่วมต่าง ๆ ที่ผู้ป่วยเป็น โดยโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้โดยการรับประทานยาร่วมกับยาฉีด สามารถกำจัดเชื้อให้หายขาดอย่างถาวร โดยประเมินจากจำนวนเชื้อไวรัสในเลือดหลังการรักษา ซึ่งจะช่วยให้อาการตับอักเสบดีขึ้น และหายไป ป้องกันไม่ให้เกิดตับแข็ง และมะเร็งตับ

ไวรัสตับอักเสบ ซี นี้เป็นสาเหตุของมะเร็งตับ และทำให้เกิดภาวะตับแข็ง ไวรัสตับอักเสบ ซี เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้โดยไม่มีสัญญาณเตือนเมื่อรับเชื้อแต่สิ่งที่เราสามารถทำได้ คือการตรวจสุขภาพประจำปี เมื่อทราบผล และรับการรักษาในตอนต้นจะให้ผลการรักษาที่ดี อีกทั้งยังสามารถระมัดระวังดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามมาได้อีกด้วย

 

ที่มา : ศูนย์ประสานงานโรคตับอักเสบจากไวรัส กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density, BMD)

เป็นการตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเอกซเรย์ทั่วไป เพื่อประเมินภาวะกระดูกพรุน

เครื่องตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density, BMD)

เป็นการตรวจความหนาแน่นของกระดูกโดยใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเอกซเรย์ทั่วไป เพื่อประเมินภาวะกระดูกพรุน

ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ

ชี้ชัด พฤติกรรมเสี่ยง นำไปสู่โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

โรคหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท หรือที่คุ้นหูคุ้นปากประชาชนทั่วไปมากกว่าคือโรค “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” เป็นโรคที่รู้จักกันโดยทั่วไป ว่ามักมีอาการบ่งชี้คือ การปวดหลังร้าวลงขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปลายเท้าชา และมักพบในผู้สูงอายุ