Header

โรคไต ไม่ได้เกิดจากการทานเค็มอย่างเดียว

พญ.ธัญวลัย เลิศวนิชกิจกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พญ.ธัญวลัย เลิศวนิชกิจกุล

โรคไต (Kidney Disease) - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

“กินเค็มระวังเป็นโรคไต” ประโยคนี้หลายคนมักใช้เตือนคนที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็ม แต่โรคไตไม่ได้เกิดจากการรับประทานอาหารรสเค็ม หรือรสจัดอย่างเดียว

เพราะโรคนี้สามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่มาจากการใช้ชีวิตประจำวันของเราเองซึ่งส่งผลให้เราเป็นโรคร้ายนี้ได้ด้วยเช่นกัน หากไตมีปัญหาจะทำให้ประสิทธิภาพในการขับของเสียลดลง ทำให้เกิดอาการตัวบวม และในที่สุดจะทำให้เกิดไตวาย หรือภาวะไตล้มเหลวได้ ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับโรคไตให้มากขึ้นกันดีกว่านะคะ

 

ไตมีหน้าที่กำจัดของเสีย ควบคุมความเป็นกรด-ด่างในกระแสเลือด ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ และควบคุมปริมาณน้ำในร่างกายอีกด้วย ดังนั้นเมื่อไตทำงานผิดปกติ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะทำให้เกิดภาวะเลือดจางและขาดวิตามินได้ โดยโรคร้ายนี้มีอยู่หลายชนิด และที่พบได้บ่อย ได้แก่ กรวยไตอักเสบ ไตอักเสบ นิ่วในไต ไตเรื้อรัง และไตวาย

อาการของโรคไต

  • หนังตา ใบหน้า เท้า ขา และลำตัวบวม
  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ขุ่น เป็นฟอง เป็นเลือด สีชาแก่ / น้ำล้างเนื้อ
  • การถ่ายปัสสาวะผิดปกติเช่น บ่อย แสบ ขัด ปริมาณน้อย
  • ปวดหลัง คลำได้ก้อน บริเวณไต
  • ความดันโลหิตสูง
  • ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ไม่กระฉับกระเฉง
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน
  • เบื่ออาหาร การรับรสอาหารเปลี่ยนไป
  • ปวดศีรษะ นอนหลับไม่สนิท

 

ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไต

  • เกิดจากโรคอื่นที่มีผลกระทบกับไต เช่น เบาหวาน, ความดัน, โรคเก๊าท์ โรคต่าง ๆ เหล่านี้จะส่งผลให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตเสื่อมลง การทำงานของไตก็จะลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะไตเสื่อม
  • อายุมากกว่า 60 ปี เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ก็อาจจะทำให้การทำงานของไตลดลง
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต
  • มีประวัติการเป็นโรคไตอักเสบ หรือถุงน้ำในไต ก็ทำให้ไตเสื่อมได้เช่นกัน
  • การใช้ยาผิดประเภท ใช้ยาเกินขนาด จะทำให้การทำงานของไตลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในคนไทย
  • การทานอาหารรสจัดไม่ใช่เพียงแค่รสเค็ม รวมไปถึงหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วยเช่นกัน
  • ดื่มน้ำน้อยเกินไป
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • มีความเครียด

 

 

การรักษาผู้ป่วยโรคไต

  • รักษาตามอาการ เช่น การรับประทานยา และควบคุมความดันโลหิตให้เหมาะสม ลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงยาบางประเภท
  • รักษาด้วยวิธีการบำบัดทดแทนไต ใช้รักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเพื่อช่วยขจัดของเสียทดแทนไตที่เสียไป สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้
    1. การฟอดเลือด เพื่อทำให้เลือดสะอาดโดยใช้ระยะเวลา 4-5 ชั่วโมง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
    2. การฟอกไตผ่านทางช่องท้อง อาศัยช่องท้องในการฟอกเลือด โดยจะฟอกวันละ 4 รอบ
    3. การปลูกถ่ายไต โดยการนำไตจากผู้บริจาคใส่เชิงกรานของผู้รับไต

 

สาเหตุการเกิดโรคไตไม่ได้มาจากการรับประทานอาหารรสเค็มเพียงอย่างเดียว พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันก็ส่งผลเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยต้องใช้ความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไตมากขึ้น ดังนั้นเราควรหมั่นคอยสังเกตอาการ และพบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากโรคร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นกันนะคะ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกตา หู คอ จมูก

พญ.ธนวดี รัตนพงษ์

จักษุวิทยาภูมิคุ้มกันและการอักเสบ

แผนกทันตกรรม

แผนกไตเทียม

นพ.ไชยวัฒน์ อู่ตะเภา

อายุรเเพทย์โรคไต

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์