Header

อาการแบบไหนถึงเข้าเกณฑ์ต้องผ่าตัดหัวเข่า?

อาการปวดเข่าอาจเป็นผลมาจากภาวะเข่าเสื่อม ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ หลายคนอาจเกิดอาการปวดเข่าจากปัจจัยภายใน อย่างเช่น ปัญหาด้านสรีระร่างกายต่าง ๆ ได้แก่ การเรียงตัวของเข่า ขาทั้งสองข้างยาวไม่เท่ากัน หรือการมีน้ำหนักมาก หรือบางรายอาจปวดเข่าหลังจากการทำงานหนัก หรือการเล่นกีฬา ซึ่งปัจจัยทั้งภายในและภายนอกเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อมที่ต้องได้รับการรักษา

โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถรักษาได้อย่างไร?

ในเบื้องต้น โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถรักษาฟื้นฟูได้โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต รับประทานอาหารที่เหมาะสมเพื่อควบคุมน้ำหนักกรณีมีน้ำหนักตัวมาก เพื่อลดแรงกดบนข้อเข่า ออกกำลังกายชนิดที่ส่งแรงกระแทกข้อเข่าน้อยเป็นประจำ หรือทำกายภาพบำบัดโดยการฝึกกล้ามเนื้อขาเพื่อเสริมให้ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น อาจมีการใช้ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มีการฉีดยาหล่อเลี้ยงข้อเข่าในกรณีมีอาการปวดไม่มากจนรบกวนการใช้ชีวิต และกระดูกอ่อนยังไม่ถูกทำลายขั้นรุนแรง

เมื่อไร ถึงควรเข้ารับการผ่าตัดหัวเข่า?

อาการแบบไหน ถึงเป็นสัญญาณว่าเราควรเข้ารับการผ่าตัด? อาจจะเป็นอีกคำถามที่หลายคนอาจกำลังตั้งข้อสงสัย การทำหัตถการเพื่อรักษาอาการเกี่ยวกับข้อเข่าเสื่อม หรืออาการอื่น ๆ เกี่ยวกับหัวเข่า จะทำเมื่อ ผู้ป่วยไม่สามารถเคลื่อนไหวเข่าได้และจำเป็นต้องฝืน และได้รับการพิจารณาจากแพทย์ผู้วินิจฉัยอาการ และในกรณีนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดเพื่อรักษามีหลายวิธี เช่น

  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
    • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมด้านเดียว
    • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ
  • การผ่าตัดหมอนรองกระดูกเข่าโดยวิธีส่องกล้อง

ทั้งนี้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาอาการรายบุคคลและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับผู้ป่วยแต่ละราย

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

สารพัดโรคร้าย ทำลายตับ

ตับเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง ทำหน้าที่ควบคุมสภาพร่างกายให้เป็นปกติ

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สารพัดโรคร้าย ทำลายตับ

ตับเป็นอวัยวะภายในร่างกายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ใต้ชายโครงด้านขวา โดยมีซี่โครงเป็นเกราะกำบัง ทำหน้าที่ควบคุมสภาพร่างกายให้เป็นปกติ

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

blank กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

blank กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ มีประโยชน์อย่างไร

วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิด 4 สายพันธุ์

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ มีประโยชน์อย่างไร