Header

ทำความรู้จัก LGBTQ+ โอบกอดความหลากหลายที่ “ไม่จำเป็นต้องรักษา”

15 พฤศจิกายน 2565

ปัจจุบัน เดือนมิถุนายนของทุกปี ได้กลายมาเป็นที่รู้จักในชื่อ “Pride Month” ซึ่งเป็นเดือนที่เต็มไปด้วยความคึกคัก และสีสันของการเดินขบวนรณรงค์ เพื่อเรียกร้องการยอมรับ และความเท่าเทียมทางเพศ ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หรือ LGBTQ+ เพื่อสื่อถึงการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียม 

เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ขอถือโอกาสนี้ แบ่งปันข้อมูลความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ควรทำ หากมีคนใกล้ตัว หรือสมาชิกในครอบครัว เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ 

LGBTQ+ คืออะไร? 

คือกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยตัวอักษรภาษาอังกฤษแต่ละตัว เป็นตัวแทนของความหลากหลายทางเพศแบบหนึ่ง โดยเพศวิถีใน LGBTQ+ (แอล-จี-บี-ที-คิว-พลัส) มีดังนี้: 

  • L – Lesbian (เลสเบี้ยน): ผู้หญิงที่รักผู้หญิง 

  • G – Gay (เกย์): ผู้ชายที่รักผู้ชาย 

  • B – Bisexual (ไบเซ็กชวล): ชายหรือหญิงที่มีความรักกับเพศเดียวกัน หรือเพศตรงข้ามก็ได้ 

  • T – Transgender (ทรานส์เจนเดอร์): ผู้ที่เปลี่ยนแปลงเพศสภาพของตน ไปเป็นเพศตรงข้าม 

  • Q – Queer (เควียร์): คนที่ไม่จำกัดตนเองเป็นเพศใด ๆ และไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ 

และตัวย่อนี้ ยังรวมถึงบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอื่น ๆ (+) อีกด้วย 

ความหลากหลายทางเพศ “ไม่ใช่โรค หรือความผิดปกติ” 

สมัยก่อนมีการมองว่า การรักใคร่ชอบพอในเพศเดียวกัน เป็นสิ่งที่ผิดปกติ มีเอกสารระบุว่า “กะเทย” คือ ผู้มีความผิดปกติทางจิต ซึ่งความคิดเหล่านี้ล้วนถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรม หรือบรรทัดฐานทางสังคมในยุคนั้น ๆ เป็นเหตุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ ทำให้คนที่มีความหลากหลายทางเพศในอดีต ไม่ได้รับสิทธิ และการยอมรับจากสังคมเท่าที่พวกเขาควรจะได้รับ 

ปัจจุบัน ในทางการแพทย์ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ “ไม่ได้เป็นโรค” หรือ “มีความผิดปกติทางจิตใจ” แต่อย่างใด โดยการเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ อาจเกิดขึ้นจากองค์ประกอบหลายอย่าง ทั้งภายในร่างกาย เช่น ระดับฮอร์โมน สารเคมีในสมอง และภายนอกร่างกาย เช่น รูปแบบการเลี้ยงดู วัฒนธรรม หรือพื้นฐานทางสังคมที่หล่อหลอมขัดเกลาบุคคล “ความหลากหลายทางเพศ จึงไม่ใช่ความผิดปกติแต่อย่างใด” 

ยอมรับ-ปฏิบัติต่อบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ อย่างถูกต้องและเท่าเทียม 

ช่วงอายุ 5 – 8 เดือน ลูกจะเริ่มจำหน้าพ่อแม่ได้รับรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร แม้จะเห็นเพียงบางส่วนก็ตาม เขาจะรับรู้ว่าวัตถุอยู่ห่างจากตัวเองมากแค่ไหน มองเห็นโลกแบบสามมิติ มองเห็นสีได้มากขึ้นและจดจำสิ่งต่าง ๆ แสดงอารมณ์ดีใจ ขัดใจ หันตามเสียงเรียก เริ่มทำเสียงพยางค์เดียวได้เช่น หม่ำ ป๊ะ เมื่อมีของตกลงพื้นสามารถมองตามได้ คว้าของมือเดียว สลับมือถือของได้ เริ่มพลิกคว่ำพลิกหงาย จะเคลื่อนไหวได้คล่องขึ้น และสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น อยากรู้อยากเห็น  อยากจับของทุกอย่างเด็กวัยนี้จะเริ่มมีฟันน้ำนมขึ้น ลูกอาจมีอาการคันเหงือกและหยิบจับสิ่งของเข้าปากมากขึ้นกว่าเดิม 

  • ไม่เปรียบเทียบเรื่องเพศของสมาชิกในครอบครัวกับใคร และควรส่งเสริมการรู้คุณค่าในตนเอง 

  • เพิ่มการสื่อสารในเชิงบวก พูดคุย เปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวได้บอกเล่าเรื่องราว 

  • ใส่ใจความรู้สึก ให้ความสำคัญ และชื่นชมในสิ่งที่สมาชิกในครอบครัวทำได้ 

  • สังเกตพฤติกรรม โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ เนื่องจากอาจต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งทางร่างกาย และทางด้านจิตใจ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณว่าตนเองรู้สึกแปลกแยกจากสังคม หรือมีพฤติกรรมการแสดงออกที่ไม่เหมาะสม ใช้ความรุนแรง มีอาการซึมเศร้า เป็นต้น 

  • ปฏิบัติต่อบุคคลในครอบครัว โดยให้เกียรติความหลากหลายทางเพศ “ที่บุคคลนั้นเป็นผู้เลือก” 

  • เคารพสิทธิส่วนบุคคล ไม่ถามถึง รสนิยมทางเพศ ของสมาชิกในครอบครัว 

  • ไม่ตัดสินเพศวิถีจากรูปลักษณ์ภายนอก และการแสดงออกของสมาชิกในครอบครัว 

ร่วมผลักดันการยอมรับ LGBTQ+ ในสังคม 

ปีนี้ จะมีการจัดงานไพรด์ พาเหรด ขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ประชาชนได้แสดงออกถึงการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในสังคมไทย และเป็นการสนับสนุนและเคารพความหลากหลายของเพศวิถี ในชื่องาน “บางกอก นฤมิตไพรด์” ซึ่งจะมีการเดินขบวนพาเหรดตั้งแต่หน้าวัดแขกมุ่งหน้าสู่ถนนสีลม ตั้งแต่เวลา 15:00 – 19:00 น. ในวันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน 2565 ที่จะถึงนี้ 

อ้างอิง : Bangkok Pride 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

06 มีนาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ให้การรักษาคุณโจนัส แอนเดอร์สัน ที่เข้ารับการผ่าตัด จากอาการ โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดส่วนหน้า

คุณโจนัส แอนเดอร์สัน ที่เข้ารับการผ่าตัดด่วน จากอาการ โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดส่วนหน้า โดยมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลียและวูบ

06 มีนาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ให้การรักษาคุณโจนัส แอนเดอร์สัน ที่เข้ารับการผ่าตัด จากอาการ โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดส่วนหน้า

คุณโจนัส แอนเดอร์สัน ที่เข้ารับการผ่าตัดด่วน จากอาการ โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดส่วนหน้า โดยมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลียและวูบ

16 กุมภาพันธ์ 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุรถชน

รถชนกัน 3 คัน (รสบัส 2 คัน, รถปิคอัพ 1 คัน) บริเวณถนนมอเตอร์เวย์ สาย7 ขาออก มุ่งหน้าต่างระดับทับช้าง

16 กุมภาพันธ์ 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุรถชน

รถชนกัน 3 คัน (รสบัส 2 คัน, รถปิคอัพ 1 คัน) บริเวณถนนมอเตอร์เวย์ สาย7 ขาออก มุ่งหน้าต่างระดับทับช้าง

14 กุมภาพันธ์ 2567

สุขสันต์วันวาเลนไทน์! ยกขบวนส่งความรักให้ใจฟู

นำขบวนโดย นพ.กรานต์ เจียรคุปต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเเพทย์ คุณสุดามาศ บุญวรรณ ผู้อำนวยการบริหาร

14 กุมภาพันธ์ 2567

สุขสันต์วันวาเลนไทน์! ยกขบวนส่งความรักให้ใจฟู

นำขบวนโดย นพ.กรานต์ เจียรคุปต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเเพทย์ คุณสุดามาศ บุญวรรณ ผู้อำนวยการบริหาร