Header

กรมควบคุมโรค เตือน ระวังป่วย “โรคอุจจาระร่วง” และ “โรคฉี่หนู” โรคร้ายที่มาพร้อมกับน้ำท่วม

16 พฤศจิกายน 2565

กรมควบคุมโรค เตือน ระวังป่วย “โรคอุจจาระร่วง” และ “โรคฉี่หนู” โรคร้ายที่มาพร้อมกับน้ำท่วม 

“น้ำท่วม” เป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนของทุกปี และไม่ได้สร้างความเสียหายให้แก่อาคารบ้านเรือนเพียงอย่างเดียว แต่กลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้อาศัยในบริเวณที่เกิดน้ำท่วมขังอีกด้วย 

กรมควบคุมโรค เตือน ระวังป่วยจากโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วม 

จากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่น “มู่หลาน” ทำให้เกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน และน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่ โดยจากรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 พบว่า มีน้ำท่วมใน 13 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร ตาก นครสวรรค์ มหาสารคาม ขอนแก่น ศรีสะเกษ ชัยภูมิ ปราจีนบุรี และสระแก้ว 

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เช่น โรคอุจจาระร่วง และโรคฉี่หนู เป็นต้น 

“โรคอุจจาระร่วง” เกิดจากอะไร และป้องกันได้อย่างไร ? 

โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิ ซึ่งเราสามารถรับเชื้อได้ผ่านการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้เข้าไป ผู้ป่วยมักมีอาการถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายมีมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้งใน 1 วัน นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย สามารถป้องกันโรคอุจจาระร่วง ได้ เพียงยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” 

  • สุก: รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ไม่รับประทานอาหารดิบ หรือ สุก ๆ ดิบ ๆ 

  • ร้อน: อาหารที่เก็บไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง ต้องนำมาอุ่นร้อนให้ทั่วถึงก่อนรับประทานทุกครั้ง 

  • สะอาด: เลือกบริโภคอาหาร น้ำดื่มและน้ำแข็งที่สะอาด มีเครื่องหมาย อย. ล้างมือด้วยน้ำสบู่และน้ำให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หลังเข้าห้องน้ำหรือสัมผัสสิ่งสกปรก ตลอดจนเลือกซื้อวัตถุดิบที่สด สะอาด และมีคุณภาพ และใช้ช้อนกลางตักอาหารเมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น 

“โรคฉี่หนู” เกิดจากอะไร และป้องกันได้อย่างไร ? 

โรคฉี่หนู เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ออกมากับฉี่ของสัตว์ เช่น หนู หมู วัว ควาย สุนัข แพะ แกะ ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ ลำคลอง แอ่งน้ำขังเล็ก ๆ รวมทั้งพื้นดินโคลนที่ชื้นแฉะ คนจะได้รับเชื้อผ่านทางบาดแผลรอยถลอก รอยขีดข่วน หรือเชื้ออาจไชผ่านผิวหนังที่อ่อนนุ่มจากการแช่น้ำนาน และจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง (หลังลุยหรือแช่น้ำ 1 – 2 สัปดาห์) ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่บริเวณน่องหรือโคนขา ตาแดง ตัวเหลือง ตาเหลือง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที อาจเสียชีวิตได้ โดยเราสามารถป้องกันโรคฉี่หนูได้ โดยการ: 

  • หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลน หรือแช่น้ำเป็นเวลานาน หากจำเป็นต้องเดินลุยน้ำหรือทำความสะอาดบ้านเรือนหลังน้ำลด ควรสวมรองเท้าบู๊ทหรือถุงพลาสติกสะอาดที่หาได้ในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เท้าสัมผัสน้ำโดยตรง 

  • กรณีที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม มีความจำเป็นต้องลงแช่น้ำหรือลุยน้ำให้รีบอาบน้ำชำระร่างกายทันทีหลังเสร็จภารกิจ เพื่อลดระยะเวลาของการสัมผัสกับเชื้อ 

  • หมั่นทำความสะอาดบ้านเรือนและสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านให้สะอาด ไม่มีหนูชุกชุม 

  • หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการสงสัยโรคฉี่หนู ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต 

อ้างอิง : กองโรคติดต่อทั่วไป/ สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค (ข้อมูล ณ วันที่ 18 สิงหาคม 2565) 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

22 พฤศจิกายน 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้จัดซ้อมแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน “อุบัติเหตุหมู่” ประจำปี 2567

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้จัดซ้อมแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน “อุบัติเหตุหมู่” ประจำปี 2567 โดยมีคณะผู้บริหาร ทีมแพทย์และพยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล, เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บางแก้ว และอาสาสมัครหน่วยกู้ภัยฯ เข้าร่วมในการซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่

22 พฤศจิกายน 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้จัดซ้อมแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน “อุบัติเหตุหมู่” ประจำปี 2567

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้จัดซ้อมแผนปฏิบัติการฉุกเฉิน “อุบัติเหตุหมู่” ประจำปี 2567 โดยมีคณะผู้บริหาร ทีมแพทย์และพยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล, เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บางแก้ว และอาสาสมัครหน่วยกู้ภัยฯ เข้าร่วมในการซ้อมแผนอุบัติเหตุหมู่

19 พฤศจิกายน 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้รับการอนุมัติจาก สำนักแรงงานทางทะเล โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นสถานพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพและออกใบรับรองแพทย์คนประจำเรือ

วันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้รับการอนุมัติจาก สำนักแรงงานทางทะเล โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นสถานพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพและออกใบรับรองแพทย์คนประจำเรือ

19 พฤศจิกายน 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้รับการอนุมัติจาก สำนักแรงงานทางทะเล โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นสถานพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพและออกใบรับรองแพทย์คนประจำเรือ

วันที่ 18 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้รับการอนุมัติจาก สำนักแรงงานทางทะเล โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นสถานพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพและออกใบรับรองแพทย์คนประจำเรือ

17 พฤศจิกายน 2567

ประมวลภาพกิจกรรม ร่วมสืบสานประเพณีไทย วันลอยกระทงประจำปี 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้จัดกิจกรรมให้ผู้ใช้บริการมาแลกรับกระทงได้ฟรี และกิจกรรมประกวด "หนูน้อย Secret นักอนุรักษ์ตัวจิ๋ว" ณ ชั้น G อาคาร A

17 พฤศจิกายน 2567

ประมวลภาพกิจกรรม ร่วมสืบสานประเพณีไทย วันลอยกระทงประจำปี 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้จัดกิจกรรมให้ผู้ใช้บริการมาแลกรับกระทงได้ฟรี และกิจกรรมประกวด "หนูน้อย Secret นักอนุรักษ์ตัวจิ๋ว" ณ ชั้น G อาคาร A

05 พฤศจิกายน 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ขอขอบคุณ ไอ เฮิร์บ กรุ๊ป (iHerb Group) ที่ได้ร่วมบริจาคแผงยาใช้แล้วตามโครงการรับบริจาคแผงยาเก่า ในโครงการ “Care the Whale สถานีขยะล่องหน"

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ขอขอบคุณ ไอ เฮิร์บ กรุ๊ป (iHerb Group) นำโดย "คุณยัญชัย บุญใช้" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ เฮิร์บ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ได้ร่วมบริจาคแผงยาใช้แล้วตามโครงการรับบริจาคแผงยาเก่า

05 พฤศจิกายน 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ขอขอบคุณ ไอ เฮิร์บ กรุ๊ป (iHerb Group) ที่ได้ร่วมบริจาคแผงยาใช้แล้วตามโครงการรับบริจาคแผงยาเก่า ในโครงการ “Care the Whale สถานีขยะล่องหน"

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ขอขอบคุณ ไอ เฮิร์บ กรุ๊ป (iHerb Group) นำโดย "คุณยัญชัย บุญใช้" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอ เฮิร์บ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่ได้ร่วมบริจาคแผงยาใช้แล้วตามโครงการรับบริจาคแผงยาเก่า