5 วิธีดูแลจิตใจ เด็กและเยาวชน เมื่อผ่านเหตุการณ์ความรุนแรง
25 กุมภาพันธ์ 2566
5 วิธีดูแลจิตใจ เด็กและเยาวชน เมื่อผ่านเหตุการณ์ความรุนแรง
เหตุการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กและเยาวชนมากกว่าที่ผู้ใหญ่อย่างเราคิด เนื่องจากว่าเด็กยังไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรง ไม่รู้ว่าตัวเองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์เหล่านั้นได้ และไม่รู้วิธีรับมือกับสถานการณ์ยากลำบากเหล่านั้น เหมือนกับผู้ใหญ่
เหตุการณ์ความรุนแรง มีผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนอย่างไรบ้าง ?
- ปัญหาสุขภาพจิต: ซึมเศร้า วิตกกังวล ตกใจง่าย ฝันร้าย
- ปัญหาพัฒนาการ: พัฒนาการหยุดชะงัก ปัสสาวะรดที่นอน
- ปัญหาการเรียน: สมาธิแย่ลง ผลการเรียนแย่ลง และอาจมีปัญหาหนีเรียน
- ปัญหาพฤติกรรม: เด็กอาจมีพฤติกรรมเซื่องซึม เก็บตัว หรือก้าวร้าว
ผู้ปกครอง สามารถดูแลจิตใจเด็กและเยาวชนได้อย่างไรบ้าง ?
- ให้เด็กได้เล่าหรือพูดถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นไป ถ้าเด็กต้องการ โดยอย่าบังคับ
- ให้เด็กได้อยู่ใกล้ชิดผู้ปกครอง ครู หรือผู้ใหญ่ที่ไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อให้เด็กรู้สึกปลอดภัย
- ให้เด็กลดการดูสื่อที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เพิ่งเกิดขึ้น
- เมื่อเด็กพร้อม กระตุ้นให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการจัดการผลกระทบบางอย่างที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกว่าตนเองสามารถควบคุมสถานการณ์ได้บ้าง
- หากเด็กมีความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรม ควรพาเข้าพบจิตแพทย์ หรือโทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323
อ้างอิง : กรมสุขภาพจิต