Header

เลือก “คาร์ซีท” อย่างไร ให้ปลอดภัยสำหรับเด็ก 5 ช่วงวัย

15 พฤศจิกายน 2565

อุบัติเหตุบนท้องถนนตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2560 – 2564) ทำให้มีเด็กอายุ 0 – 6 ปี เสียชีวิต 1,155 คน โดยพบว่า 221 คน เกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ เฉลี่ยแล้วปีละ 44 คน ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตเนื่องจากกระเด็นออกนอกรถและเกิดการกระแทกรุนแรงเนื่องจากไม่ได้นั่งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือ คาร์ซีท (Car Seat) โดยเด็กไทยใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก มีเพียง 3.46% เท่านั้น  

ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่  พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 ระบุว่า คนโดยสารที่เป็น “เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี สูงไม่เกิน 135 เซนติเมตร” ต้องจัดให้นั่งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก หรือนั่งในที่พิเศษสำหรับเด็ก เพื่อป้องกันอันตราย หรือมีวิธีป้องกันอันตรายในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ    

จากประกาศดังกล่าวทำให้มีกระแสเกี่ยวกับคาร์ซีทในโลกออนไลน์ ผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านตื่นตัวเกี่ยวกับความสำคัญและความปลอดภัยของการเลือกคาร์ซีท หลาย ๆ ท่านยังมองว่า เด็กแรกเกิด – 6 เดือน กระดูกยังอ่อนไม่จำเป็นต้องใช้ ขณะเดียวกัน การอุ้มเด็กนั่งตักในเบาะหน้า คือ จุดที่อันตรายที่สุดในรถ เพราะเวลาเกิดเหตุ การอุ้มเด็กนั่งตักจะทำให้เด็กใกล้ถุงลมนิรภัย หากเกิดการระเบิดแทนที่จะปลอดภัยกลับอันตราย  

วันนี้ เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ ได้รวบรวมข้อมูล การเลือกคาร์ซีทอย่างไรให้ปลอดภัย และเหมาะสมสำหรับเด็กในแต่ละช่วงวัย ว่าควรเป็นรูปแบบไหน ติดตั้งอย่างไร ตลอดจนสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกที่นั่งนิรภัยที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก 

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขระบุว่า การเลือกที่นั่งนิรภัยที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก มีดังนี้: 

  • ควรจัดให้มีที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก และใช้งานอย่างถูกวิธีตลอดเวลาที่โดยสารรถยนต์  

  • เลือกรูปแบบคาร์ซีท และติดตั้งให้เหมาะสมตามช่วงอายุ สรีระ น้ำหนัก และส่วนสูงของเด็ก โดยที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กแรกเกิด – 3 ปี ควรใช้คาร์ซีทเป็นที่นั่งแบบปรับให้หันหน้าไปด้านหลังรถ ซึ่งจะปลอดภัยมากที่สุด หรือเด็กที่มีอายุ 2 – 6 ปี สามารถใช้คาร์ซีทเป็นที่นั่งแบบหันมาด้านหน้าได้  ส่วนเด็กที่เริ่มโต ควรใช้บูสเตอร์ซีท เป็นที่นั่งแบบหันมาด้านหน้าใช้ร่วมกับเข็มขัดนิรภัยปกติ 

  • มีมาตรฐานความปลอดภัย จากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ กรณีเลือกใช้ที่นั่งนิรภัยมือสอง ควรสำรวจสภาพไม่มีรอยบุบหรือแตก สายรัดหรือเข็มขัดมีสภาพดี และอายุการใช้งานไม่ควรเกิน 6 ปี 

  • อ่านคำแนะนำการใช้การติดตั้งอย่างละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด 

  • สำหรับรถเก๋ง ควรติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่เบาะหลัง ไม่ควรติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่เบาะด้านหน้าข้างคนขับ เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุเด็กอาจโดนกระแทกจากถุงลมนิรภัยได้ 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422 

ส่วนรูปแบบคาร์ซีท (Car Seat) ตามช่วงอายุจะต้องเลือกแบบไหน และการติดตั้งคาร์ซีท (Car Seat) และ บูทส์เตอร์ ซีท (Booster Seat) ควรติดตั้งตามคำแนะนำของผลิตภัณฑ์และไม่ควรติดตั้งที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กที่เบาะด้านหน้าข้างคนขับ 

เด็กแรกเกิด – 1 ปี 

– ควรใช้คาร์ซีทสำหรับทารกที่เป็นที่นั่งแบบปรับให้หันหน้าไปด้านหลังรถ (Rear-facing Car Seat) 

เด็กอายุ 1 – 3 ปี 

– ควรใช้คาร์ซีทสำหรับเด็กเล็กที่เป็นที่นั่งแบบปรับให้หันหน้าไปด้านหลังรถ (Rear-facing Car Seat) 

เด็กอายุ 2 – 6 ปี 

– ควรใช้คาร์ซีทเป็นที่นั่งแบบหันหน้ามาด้านหน้า (Forward-facing Car Seat) 

เด็กอายุ 4 – 12 ปี 

– ควรใช้ Booster Seat เป็นที่นั่งแบบหันหน้ามาด้านหน้า สำหรับเด็กโตใช้ร่วมกับเข็มขัดนิรภัยปกติ (ขึ้นอยู่กับน้ำหนักและส่วนสูง) 

เด็กอายุมากกว่า 12 ปี 

– ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง ทุกตำแหน่งที่นั่งโดยสาร 

องค์การอนามัยโลกสนับสนุนการใช้ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์สำหรับเด็ก เนื่องจากสามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 70 และในการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในปี 2560 มีมติเห็นชอบ 12 เป้าหมายโลก สำหรับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนน โดยในเป้าหมายที่ 8 กำหนดให้มีการเพิ่มสัดส่วนการใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสารยานยนต์หรือใช้อุปกรณ์รัดตึงนิรภัยสำหรับเด็กที่ได้มาตรฐานให้ใกล้เคียงร้อยละ 100 

เรื่องของ “คาร์ซีท” นั้น แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่มือใหม่จะให้ความใส่ใจ แต่ก็ยังมีอีกหลายครอบครัวที่ไม่ได้ซื้อคาร์ซีทมาติดตั้งบนรถ ซึ่งเหตุผลอาจจะเป็นเรื่องของราคาที่สูงโดยเริ่มต้นตั้งแต่หลักพัน ถึงหลักหลายหมื่นบาท และอาจเพราะความเคยชินในการอุ้มเด็กนั่งตัก อย่างไรก็ตาม หลังจากที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับให้เด็กอายุไม่เกิน 6 ปี ต้องนั่งคาร์ซีท (Car Seat) ซึ่งหากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 2,000 บาท ทำให้มีการพูดถึงและให้ความสำคัญเรื่องนี้กันมากขึ้น หลาย ๆ ครอบครัวที่ยังไม่มีคาร์ซีทสามารถเลือกได้ตามกำลังซื้อและความต้องการที่เหมาะสมสำหรับตนเองและครอบครัว 

อ้างอิง: กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค (ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2565) 

 

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

06 มีนาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ให้การรักษาคุณโจนัส แอนเดอร์สัน ที่เข้ารับการผ่าตัด จากอาการ โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดส่วนหน้า

คุณโจนัส แอนเดอร์สัน ที่เข้ารับการผ่าตัดด่วน จากอาการ โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดส่วนหน้า โดยมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลียและวูบ

06 มีนาคม 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ให้การรักษาคุณโจนัส แอนเดอร์สัน ที่เข้ารับการผ่าตัด จากอาการ โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดส่วนหน้า

คุณโจนัส แอนเดอร์สัน ที่เข้ารับการผ่าตัดด่วน จากอาการ โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือดส่วนหน้า โดยมีอาการเจ็บหน้าอก อ่อนเพลียและวูบ

16 กุมภาพันธ์ 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุรถชน

รถชนกัน 3 คัน (รสบัส 2 คัน, รถปิคอัพ 1 คัน) บริเวณถนนมอเตอร์เวย์ สาย7 ขาออก มุ่งหน้าต่างระดับทับช้าง

16 กุมภาพันธ์ 2567

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุรถชน

รถชนกัน 3 คัน (รสบัส 2 คัน, รถปิคอัพ 1 คัน) บริเวณถนนมอเตอร์เวย์ สาย7 ขาออก มุ่งหน้าต่างระดับทับช้าง

14 กุมภาพันธ์ 2567

สุขสันต์วันวาเลนไทน์! ยกขบวนส่งความรักให้ใจฟู

นำขบวนโดย นพ.กรานต์ เจียรคุปต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเเพทย์ คุณสุดามาศ บุญวรรณ ผู้อำนวยการบริหาร

14 กุมภาพันธ์ 2567

สุขสันต์วันวาเลนไทน์! ยกขบวนส่งความรักให้ใจฟู

นำขบวนโดย นพ.กรานต์ เจียรคุปต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการเเพทย์ คุณสุดามาศ บุญวรรณ ผู้อำนวยการบริหาร