Header

“ประจำเดือน” ผิดปกติ สาเหตุของโรคอะไรบ้าง?

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ประจำเดือนผิดปกติ - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ประจำเดือน คือเยื่อบุของโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ในปกติผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์จะมีรอบเดือนทุกๆ 21-35 วัน และแต่ละรอบจะยาวนานราว 2-7 วัน หากประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือมีความผิดปกติอะไรบ้างอย่าง อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ได้
 

เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดเป็นอย่างไร?

อาการเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด สามารถแบ่งผู้ป่วยได้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ยังไม่ควรจะมีประจำเดือน เช่น เด็ก หรือวัยรุ่นผู้หญิงที่ยังไม่มีประจำเดือน กับ กลุ่มผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ในสองกลุ่มนี้ถ้ามีเลือดออกทางช่องคลอด ถือว่ามีความผิดปกติ
 

สำหรับกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เลือดประจำเดือนที่ผิดปกติอาจพบได้ ดังนี้

  1. เลือดประจำเดือนมีปริมาณมากกว่าปกติ ทั้งในแง่ของปริมาณ และระยะเวลาที่มีประจำเดือน
  2. มีเลือดออกมานอกรอบประจำเดือน
     

สาเหตุของเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด

  1. รังไข่ทำงานผิดปกติ
  2. ใช้ฮอร์โมนคุมกำเนิด หรือฮอร์โมนผู้หญิงทดแทนในวัยหมดประจำเดือน
  3. ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
  4. โรคติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์ เช่น โรคเนื้องอกในมดลูกที่สามารถพบได้บ่อย รวมถึงมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
     


เลือดออกผิดปกติในช่องคลอดอย่างไร ควรมาพบแพทย์

  1. ผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือน (ยังไม่มี หรือหมดแล้ว) แต่มีเลือดออกทางช่องคลอด เช่น ในเด็ก หรือผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
  2. ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ มีประจำเดือนปกติ แต่มีเลือดออกนอกรอบประจำเดือนด้วย หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
  3. มีประจำเดือนในปริมาณที่มากขึ้น หรือมีระยะเวลาของประจำเดือนนานขึ้น สังเกตได้จากการที่ใช้ผ้าอนามัยมากกว่า 4 แผ่นชุ่มๆ ต่อวัน หรือมีประจำเดือนในแต่ละรอบมากกว่า 7 วัน ซึ่งทำให้มีอาการเหนื่อย เพลีย หลังมีประจำเดือนจากภาวะโลหิตจางได้


การตรวจวินิจฉัยโรค เมื่อมีเลือดออกผิดปกติในช่องคลอด

แพทย์จะทำการซักประวัติถึงอาการที่เป็นอยู่เพื่อหาสาเหตุอย่างคร่าวๆ จากนั้นในบางรายที่มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ แพทย์อาจขอตรวจภายใน และอาจจะต้องมีการตรวจเซลล์ของปากมดลูกที่เรียกว่า Pap smear เพื่อตรวจคัดกรองภาวะมะเร็งปากมดลูก (แนะนำให้ตรวจทุกๆ 2-3 ปี ในกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยง แต่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ติดเชื้อ HIV แพทย์จะแนะนำให้ตรวจทุกปี)ในบางกรณี แพทย์อาจขอตรวจเยื่อบุโพรงมดลูก โดยการขูดมดลูก หรือเอาเซลล์ของมดลูกมาตรวจ ในกรณีที่แพทย์อาจสงสัยว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้องอกหรือไม่ แพทย์อาจขอตรวจอัลตร้าซาวนด์ หรือที่เรียกว่าการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และในกรณีที่จะตรวจระดับฮอร์โมน แพทย์อาจขอเจาะเลือดตรวจ ซึ่งนอกจากจะตรวจระดับฮอร์โมนแล้ว ยังสามารถตรวจภาวะโลหิตจางได้ด้วย
 

การรักษาภาวะเลือดออกผิดปกติในช่องคลอด

ถ้าอาการที่เกิดขึ้นเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของรังไข่ แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยา เพื่อควบคุมการทำงานของรังไข่ แต่ถ้ามีเนื้องอกในมดลูก หรือมีมะเร็งของระบบสืบพันธุ์ อาจรักษาด้วยการผ่าตัด หรือใช้รังสีรักษา สำหรับผู้ที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติในช่องคลอด สามารถเข้ารับคำปรึกษาที่แพทย์แผนกสูตินรีเวช 
 



สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center
02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ปวีณา อมรเพชรกุล

สูตินรีแพทย์

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.นพเมศฐ์ ศรีจารุสิทธิ์

สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา, มะเร็งวิทยานรีเวช

แผนกสุขภาพสตรี

พญ.ดวงสมร เกียรติสุดา

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา, เวชศาสตร์มารดาและทารก

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

นอนกรน สัญญาณอันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การนอน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน หรือประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งถ้าหากในช่วงการนอนหลับของเรานั้นไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีปัญหา

blank แผนกตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
นอนกรน สัญญาณอันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การนอน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน หรือประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งถ้าหากในช่วงการนอนหลับของเรานั้นไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีปัญหา

blank แผนกตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ไขข้อสงสัย ชนิด วิธีการ ผลข้างเคียง ‘วัคซีนโควิด-19 ในเด็ก’

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกอย่างหยุดชะงัก ทั้งการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ รวมถึงการไปโรงเรียนของเด็ก ๆ ที่ต้องเปลี่ยนไปเรียนออนไลน์นานนับปี ซึ่งส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และความเครียดของเด็กเป็นอย่างมาก วัคซีนโควิด-19 จึงถือเป็นความหวังที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้กลับไปเรียนตามปกติอีกครั้ง

ไขข้อสงสัย ชนิด วิธีการ ผลข้างเคียง ‘วัคซีนโควิด-19 ในเด็ก’

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกอย่างหยุดชะงัก ทั้งการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ รวมถึงการไปโรงเรียนของเด็ก ๆ ที่ต้องเปลี่ยนไปเรียนออนไลน์นานนับปี ซึ่งส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และความเครียดของเด็กเป็นอย่างมาก วัคซีนโควิด-19 จึงถือเป็นความหวังที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้กลับไปเรียนตามปกติอีกครั้ง

โรคเกาต์ (Gout) อาการแสบร้อนตามข้อต่อ

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่จะพบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูก และข้อส่งผลให้การเดิน และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคเกาต์ (Gout) อาการแสบร้อนตามข้อต่อ

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนแต่จะพบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุซึ่งเป็นโรคที่สร้างความเจ็บปวดบริเวณกระดูก และข้อส่งผลให้การเดิน และการใช้ชีวิตประจำวันเป็นไปได้อย่างยากลำบาก

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม