Header

นอนกรน สัญญาณอันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

blank คลินิกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

นอนกรน สัญญาณอันตราย - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การนอน ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน หรือประมาณ 8 ชั่วโมง ซึ่งถ้าหากในช่วงการนอนหลับของเรานั้นไม่มีประสิทธิภาพ หรือมีปัญหา เช่น การหยุดหายใจขณะนอนหลับ การตื่นมาแล้วไม่สดชื่นหรือปวดหัว หากปล่อยไว้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่คอยบั่นทอนสุขภาพ ดังนั้นคุณจึงควรหมั่นสังเกตว่าการนอนหลับของตัวเอง และคนที่คุณรักในทุก ๆ คืนนั้นมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด

 

นอนกรน เป็นสัญญาณอันตรายของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

โดยอาการนอนกรน เป็นสัญญาณเบื้องต้นหนึ่งที่พบได้บ่อยมากของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โดยอาจเป็นอาการที่บ่งบอกว่ามีการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้ไม่สามารถหายใจเข้าออกได้ตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนอนหลับ ซึ่งภาวะนี้อันตรายกว่าที่เราคิด โดยอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคร้ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง อัมพฤกษ์และอัมพาต ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง ความจำเสื่อม การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ รวมถึงอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย และจิตใจ โดยทำให้ ผู้ป่วยมักง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน ทั้งที่นอนเพียงพอ เกิดปัญหาการเรียนหรือประสิทธิภาพการทำงานตกต่ำ เกิดปัญหาทางครอบครัวหรือสังคม และมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนปกติ

ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนี้ สามารถพบได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ และจะยิ่งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และพบได้บ่อยในผู้ที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ปกติหรือภาวะอ้วน หรือมีลักษณะทางกายวิภาคที่ทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจง่ายกว่าปกติ เช่น คางเล็ก คางสั้น คอสั้น ขากรรไกรเล็ก เป็นต้น รวมไปถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน ด้วยเช่นกัน
 

อาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ได้แก่

  • นอนกรนเสียงดัง
  • ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น
  • สะดุ้งตื่นตอนนอน
  • ง่วงตอนกลางวัน ทั้งที่นอนเพียงพอ
  • วูบหลับไม่รู้ตัว
  • นอนขากระตุก กัดฟัน ละเมอ ฝันร้าย

โดยปกติแล้ว ภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่ได้สังเกตถึงความปกติได้ด้วยตนเอง แต่ผู้ที่พบความผิดปกติมักจะเป็นคนใกล้ชิด ดังนั้นหากคุณ หรือคนที่คุณรักมีอาการนอนกรนดังมากเป็นประจำ คุณจึงควรเข้ามาพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม

 

การตรวจวินิจฉัย

สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ซึ่งจะเป็นการตรวจวัดการทำงานของระบบต่าง ๆ  ของร่างกายขณะนอนหลับ ด้วยเครื่อง Polysomnography เพื่อค้นหาความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น การหยุดหายใจขณะหลับและการนอนกรน เป็นต้น หรือสามารถทำแบบแบบทดสอบเพื่อเช็กความเสี่ยงด้านการนอนของคุณได้ที่นี่


แนวทางการรักษา

แนวทางการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรง รวมถึงสาเหตุต้นตอ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย

  • การดูแลและปฏิบัติตัวเบื้องต้น ได้แก่
    • การปรับสุขอนามัยในการนอนหลับ เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ เข้านอนและตื่นนอนอย่างตรงเวลาสม่ำเสมอ
    • งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ประสิทธิภาพในการนอนหลับแย่ลง อีกทั้งยังกดการหายใจ ทำให้มีอาการกรนมากยิ่งขึ้น
    • การลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ปกติหรือภาวะอ้วน โดยต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    • หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับและยาที่มีฤทธิ์กดประสาทหรือคลายกล้ามเนื้อ เพราะยาประเภทนี้จะกดการหายใจ ทำให้มีอาการกรนมากยิ่งขึ้น
    • งดเว้นการดื่มชา กาแฟ และหยุดสูบบุหรี่
  • การใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก (CPAP) ซึ่งเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงและปลอดภัย โดยเครื่องมือนี้จะเป่าลมผ่านท่อสายยางผ่านทางช่องจมูกหรือทางปาก เพื่อเปิดขยายและถ่างทางเดินหายใจส่วนต้นไว้ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ตีบแคบขณะนอนหลับ โดยเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะมีการปรับแรงดันที่แตกต่างกันให้เหมาะสบกับผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อลดภาวะหยุดหายใจขณะหลับและการนอนกรน
  • การใส่เครื่องมือในช่องปาก (Oral Appliance) คือการใส่เครื่องมือลักษณะคล้ายฟันยางหรือเครื่องมือดัดฟัน เพื่อป้องกันลิ้นตกไปอุดกั้นทางเดินหายใจ สำหรับวิธีนี้จะใช้ในผู้ป่วยรายที่ไม่มีอาการรุนแรงมาก
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด (Surgical Treatment) มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัดจมูก การผ่าตัดต่อมทอนซิลหรือต่อมอะดีนอยด์ การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน การผ่าตัดบริเวณโคนลิ้น การผ่าตัดเลื่อนกรามและขากรรไกร

 

นอนกรน อันตรายกว่าที่คุณคิด !

การนอนกรนอาจเป็นทั้งเรื่องน่าขำและน่าอายสำหรับหลาย ๆ คน แต่จริง ๆ แล้ว มันไม่ใช่เรื่องตลกอย่างที่คิดเพราะอาการนี้เป็นสัญญาณเตือนของร่างกายที่ทำงานผิดปกติ ! นั่นก็คือภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับนั่นเอง
 

ซึ่งภาวะนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคร้ายมากมาย และเป็นอันตรายถึงชีวิต ได้แก่

  • โรคเบาหวาน
  • โรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
  • อัมพฤกษ์และอัมพาต
  • ภาวะซึมเศร้าเรื้อรัง
  • ความจำเสื่อม
  • การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการนอนกรน เป็นสัญญาณเบื้องต้นหนึ่งที่พบได้บ่อยมากของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ โดยอาจเป็นอาการที่บ่งบอกว่ามีการตีบแคบของทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้ไม่สามารถหายใจเข้าออกได้ตามปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณของการเสี่ยงเป็นโรคร้ายมากมาย เพราะฉะนั้นสังเกตให้ดี หากคุณหรือคนที่คุณรักมีอาการนอนกรนเป็นประจำ อย่ารอช้า รีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาโดยด่วน !



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกตา หู คอ จมูก

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การตรวจสุขภาพก่อนทำงาน

การตรวจสุขภาพ หมายถึง การตรวจร่างกาย และสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจสุขภาพก่อนทำงาน

การตรวจสุขภาพ หมายถึง การตรวจร่างกาย และสภาวะทางจิตใจตามวิธีทางการแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงความเหมาะสม และผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน

blank บทความโดย : ศูนย์ตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
6 ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยง

สถานการณ์การกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อหรือการแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ตัว เรามีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูและตัวเองและสังคมได้ ดังนี้

6 ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยง

สถานการณ์การกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อหรือการแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ตัว เรามีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูและตัวเองและสังคมได้ ดังนี้

โรคถุงลมโป่งพอง โรคร้ายใกล้ตัว

โดยหนึ่งโรคร้ายที่พบบ่อยและเกิดขึ้นจากการได้รับมลพิษ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงใกล้ตัว นั่นก็คือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือที่เรามักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง”

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคถุงลมโป่งพอง โรคร้ายใกล้ตัว

โดยหนึ่งโรคร้ายที่พบบ่อยและเกิดขึ้นจากการได้รับมลพิษ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงใกล้ตัว นั่นก็คือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือที่เรามักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง”

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม