Header

อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ช่วงนี้สภาพอากาศในประเทศไทย มี ปัญหามลภาวะในอากาศปริมาณมากจน ติดอันดับต้นๆของโลก

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้ เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

 

ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ  (Particulate Matter : PM)
แบ่งได้ 2 ชนิดตามขนาด คือ

  1. ฝุ่นหยาบ (coarse fraction) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ไมครอน หรือสั้นกว่า ความยาว 1 เมตรไปล้านเท่า หรือที่ รู้จักกันในชื่อ “PM10  ซึ่งฝุ่นประเภทนี้เกิดจากธรรมชาติ เช่น ละอองเกสร เชื้อโรค หรือฝุ่น ในบ้าน
  2. ฝุ่น ละเอียด (fine fraction) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 2.5 ไมครอน ที่รู้จักกันในชื่อ “PM2.5”  ซึ่ง ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเผาไหม้ ควันไอเสียรถยนต์ นอกจากนี้ยังมี ปริมาณโลหะหนักมากกว่า ฝุ่น PM 10

 

ฝุ่น  PM 2.5 
เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็ก เที่ยบได้กับ  1 ใน  25  ของเส้นผมของเรา ซึ่งถือเป็นฝุ่นที่มีขนาดจิ๋ว โดย สามารถผ่านระบบดักจับฝุ่นของร่างกาย เข้าสู่ถุงลมปอด และ ก่อผลกระทบต่อสุขภาพที่ถุงลม ทำให้ตัวเรามีการหายใจที่ผิดปกติไป    โดยปกติ PM 2.5 มีอยู่ตลอดเวลาในอากาศอยู่แล้ว  แต่ในช่วงที่การเปลี่ยนฤดูกาล จากหน้าหนาวเป็นหน้าร้อน  เกิดการผกผันของอุณหภูมิ ทำให้ระดับการลอยตัว และ ระดับความกระจายจะลดต่ำลง ส่งผลให้ มีการสะสมของฝุ่นเพิ่มสูงขึ้น    โดย  ค่าปกติ PM 2.5 เฉลี่ยในช่วง 24 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร  (WHO Air Quality Guideline 2016)

อาการเจ็บป่วยที่สำคัญจาก PM 2.5   มีดังต่อไปนี้

  • แสบตา น้ำตาไหล
  • คันจมูก น้ำมูกไหล
  • ระคายเคืองผิวหนัง
  • เหนื่อย หอบง่าย   หายใจเร็ว แน่นหน้าอก หายใจ ไม่อิ่ม 
     

ซึ่ง อาการ จะมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ในกลุ่มที่มี โรคประจำตัว เช่น  โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง   กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สุงอายุ

สิ่งที่สำคัญอันแรกคือ  คือ การลด หรือ หลีกเลี่ยงการสัมผัส PM 2.5  ซึ่งเราสามารถดูได้จาก  “ ดัชนีคุณภาพอากาศ “  เพื่อจะตัดสินใจได้ว่า วันนี้ สามารถไปทำกิจกรรมกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัยหรือ ไม่   โดย 

ดัชนีคุณภาพอากาศ  (Air Quality Index : AQI) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศในรูปแบบที่ง่าย   เพื่อ ให้สาธารณชนได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด  ซึ่ง PM 2.5  เป็นหนึ่งในค่าที่ใช้ในการคำนวณ ซึ่ง   ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ตั้งแต่ 0 ถึง 201 ขึ้นไป  แต่ละระดับจะใช้สีเป็นสัญญลักษณ์เปรียบเทียบระดับของผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย (ตารางที่ 1) โดยดัชนีคุณภาพอากาศ 100 จะมีค่าเทียบเท่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไป หากดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าสูงเกินกว่า 100 แสดงว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนั้นจะเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

*** ซึ่งวิธีการจำง่ายๆคือ  ถ้าค่าเกิน 100  หรือ ตัวสัญลักษณ์เป็นสีส้มหรือสีแดง บ่งบอกว่าสภาพอากาศไม่ดีควร หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง ครับ  ***

 

คำแนะนำการดูแลสุขภาพจาก  PM 2.5  

  1. ควรหมั่นตรวจเช็คคุณภาพ อากาศบ่อยๆ  โดย อาจตรวจจากแอพ  AIR4THAI ของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งมีรายละเอียด พร้อมการปฏิบัติตัว  หากจำเป็นต้องออกนอกอาคาร ควรมีการใส่หน้ากากอนามัย ทั้งนี้หากต้องทำงานกลางแจ้งเป็น เวลานาน 3-4 ชั่วโมงต่อวัน ต้องใส่หน้ากากกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ ประเภท “Particulate respirator” ที่มีเครื่องหมาย NIOSH ทั้งประเภท N95 หรือ P100
  2. ให้อยู่ภายในอาคารบ้านเรือน หากไม่จำเป็นไม่ควรออกนอกบ้าน โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง (กลุ่ม เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว)
  3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย และการทำงานหนักที่ออกแรงมาก เพราะการหายใจเร็วในระหว่างการ ออกก าลังกายมีโอกาสให้ร่างกายรับมลพิษเข้าสู่ปอดได้มากขึ้น
  4. ลดแหล่งมลพิษอื่นๆ ภายในบ้าน เช่นงดการสูบบุหรี่ การใช้เตาถ่าน การใช้สเปรย์ฉีดพ่นในบ้าน การจุด เทียน การทำอาหาร การใช้เครื่องดูดฝุ่น กวาดพื้น เป็นต้น 
  5. การใช้เครื่องปรับอากาศ ควรทำการปรับให้เป็นระบบที่ใช้เฉพาะอากาศหมุนเวียนภายในบ้านหรือ อาคาร และเลือกใช้แผ่นกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพกลางถึงสูง เพื่อช่วยในการลดปริมาณอนุภาคจากภายนอก เข้าสู่ภายในอาคาร
  6. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องผลิตโอโซน เนื่องจากความเข้มข้นของโอโซนในระดับต่ำ ก็สามารถทำให้เกิดการ ระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ เกิดอาการไอ แน่นหรือเจ็บหน้าอก นอกจากนี้โอโซนไม่สามารถกำจัดอนุภาค ออกจากอากาศได้
  7. อาคารบ้านเรือน ให้ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดอยู่เสมอและทำความสะอาดห้องโดยการใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ ทำความสะอาด
  8. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงจะต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ในการ รับประทานยา การรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการทรุดลงและ หลีกเลี่ยง ไม่ให้สัมผัสกับอากาศที่มีฝุ่นละออง หรือมีการใช้หน้ากากกันฝุ่น
  9. ไม่เผาขยะ โดยเฉพาะขยะที่เป็นสารพิษ เช่น พลาสติก ยางรถยนต์ รวมทั้งขยะทั่วไป 
  10. ลดการใช้รถยนต์ หรือใช้เท่าที่จำเป็น เพื่อไม่ให้มลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ก่อปัญหาซ้ำเติม หรือทำให้ คุณภาพอากาศแย่ลงอีก
     

ขอให้ทุกคนปลอดภัยจาก  PM 2.5  กันนะครับ 

ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

เบอร์โทรศัพท์ (+66)02 0805999

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา
 

  



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกอายุรกรรม

พญ.ประภา ภักดีมีชัย

อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม

แผนกอายุรกรรม

แผนกอายุรกรรม

นพ.ธราวุฒิ เมฆธารา

อายุรศาสตร์ทั่วไป

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอันตราย อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด !!

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่อยู่ใกล้ตัวเรา  และไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ควรใส่ใจ และให้ความสำคัญ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอันตราย อยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด !!

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่อยู่ใกล้ตัวเรา  และไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ควรใส่ใจ และให้ความสำคัญ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนพื้นฐานที่ควรได้รับ

วัคซีนพื้นฐาน เป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ เน้นวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยวัคซีน 8 ชนิด

วัคซีนพื้นฐานที่ควรได้รับ

วัคซีนพื้นฐาน เป็นวัคซีนที่เด็กไทยทุกคนควรได้รับ เน้นวัคซีนป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันประกอบด้วยวัคซีน 8 ชนิด

มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยแต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือตัวเหลือง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยแต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือตัวเหลือง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม