Header

โรคข้อสะโพกเสื่อม ภัยร้ายที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

blank ศูนย์ Joint Surgery Center

โรคข้อสะโพกเสื่อม คืออะไร?

โรคข้อสะโพกเสื่อม คือ รูปแบบหนึ่งของข้ออักเสบที่เกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อเสื่อมล่อนหลุดออกไป เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ทำให้กระดูกมีการเสียดสีกันโดยตรง จนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด และหากอาการรุนแรงขึ้นก็อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเดิน การขึ้นลงบันได หรืออาจรู้สึกปวดจนไม่สามารถนอนหลับได้

 

อาการของโรคข้อสะโพกเสื่อมเป็นอย่างไร?

  1. มีอาการปวดบริเวณสะโพก หรือบริเวณรอบ ๆ สะโพก เช่น บริเวณขาหนีบ บริเวณต้นขา หรือบริเวณก้นกบ
  2. มีอาการข้อติด ข้อยึด ข้อฝืด ขยับไม่ค่อยได้ หลังตื่นนอน
  3. รู้สึกมีอะไรไปขัดอยู่ในข้อ มีอาการล็อค ต้องสะบัดตัวถึงจะหลุด
  4. ขยับข้อ งอ เหยียด อ้าหุบได้น้อยลง
  5. เมื่อขยับข้อสะโพกจะมีเสียงดังครืดคราด
  6. รู้สึกปวดมากขึ้นเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีส่วนในการขยับข้อสะโพก เช่น การเดิน การขึ้นลงบันได การเล่นกีฬา การนั่งยอง

 

สาเหตุของ โรคข้อสะโพกเสื่อม มีอะไรบ้าง?

โรคข้อสะโพกเสื่อมสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก ได้แก่

1. ข้อสะโพกเสื่อมที่ไม่มีสาเหตุนำชัดเจน

  • อายุที่มากขึ้น โดยมีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  • พันธุกรรม โดยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคข้อสะโพกเสื่อม
  • ภาวะอ้วน

2. ข้อสะโพกเสื่อมที่มีสาเหตุนำชัดเจน

  • เคยประสบอุบัติเหตุกับข้อสะโพกมาก่อน เช่น ข้อสะโพกหลุด ข้อสะโพกเคยแตกหัก เป็นต้น
  • มีข้อสะโพกพัฒนาผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
  • ผู้ที่เป็นโรคหัวกระดูกหัวสะโพกตาย
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคข้ออักเสบอื่น ๆ
  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้ยาสเตียรอยด์ปริมาณมากติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

 

แพทย์วินิจฉัย โรคข้อสะโพกเสื่อม อย่างไร?

  1. การซักประวัติโดยละเอียด
  2. แพทย์จะกดบริเวณข้อสะโพกเพื่อหาจุดกดเจ็บ
  3. แพทย์จะตรวจดูพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกว่าผิดไปจากปกติหรือไม่
  4. แพทย์จะดูลักษณะการเดิน เช่น มีอาการเดินเอียง มีท่าทางระมัดระวังมากกว่าปกติ เป็นต้น
  5. ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการตรวจเอกซเรย์ หรือการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT SCAN) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

 

ภาพตัวอย่าง อาการปวดหลังจาก โรคข้อสะโพกเสื่อม

 

สามารถรักษาข้อสะโพกเสื่อมได้อย่างไร?

โรคข้อสะโพกเสื่อมสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ โดยวิธีการหลัก 2 ประเภท ได้แก่

1. การรักษาสะโพกโดยไม่ผ่าตัด

  • การปรับกิจวัตรประจำวัน โดยหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่มีแรงกระทำต่อข้อสะโพก เช่น การขึ้นลงบันได การนั่งพื้น การเดิน การวิ่ง การกระโดด การเล่นกีฬาประเภทบาสเกตบอล แบตมินตัน และวอลเลย์บอล แล้วหันมาออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอและไม่มีแรงกระแทก เช่น การปั่นจักรยาน การเดิน การเดินในน้ำ เป็นต้น
  • การลดน้ำหนัก เพื่อลดแรงกดบนข้อ
  • การใช้ไม้เท้าหรืออุปกรณ์เสริมในการช่วยเดิน
  • การทำกายภาพบำบัด เช่น การใช้ความร้อนและความเย็น เพื่อลดอาการปวด ลดการอักเสบของข้อสะโพก
  • การรับประทานยา เช่น ยาลดอาการปวด ยาลดอาการปวดและอักเสบ
  • การฉีดยาสเตียรอยด์ ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในผู้ป่วยรายที่มีอาการเจ็บปวดมากและการอักเสบไม่ดีขึ้น

2. การรักษาโดยการผ่าตัด

  • การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง ซึ่งจะใช้วิธีนี้เมื่อกระดูกอ่อนในข้อสะโพกฉีกขาดหรือมีเศษกระดูกหรือกระดูกอ่อนหลุดออกมาอยู่ในข้อ ทำให้เกิดการเสียดสีกับข้อ ขัดขวางการเคลื่อนไหว จนทำให้ขยับได้ลำบาก
  • การผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก เพื่อหมุนพื้นผิวของข้อที่ยังปกติเข้าสัมผัสกัน จะใช้เมื่อมีบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่เสียหายแต่ที่อื่นปกติ
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะความเสื่อมมาก ข้อสะโพกผิดรูป และมีอาการเจ็บปวดรุนแรง จนเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิต

 

ควรทำอย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคสะโพกเสื่อม?

แม้เราจะไม่สามารถหยุดยั้งความเสื่อมตามธรรมชาติได้ แต่เราก็สามารถดูแลสุขภาพของเราหรือคนใกล้ตัว เพื่อชะลอความเสื่อมได้ โดยมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  1. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากในงานวิจัย พบว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพียง 400 ซีซี หรือเพียงหนึ่งกระป๋องครึ่งต่อสัปดาห์ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นหัวกระดูกหัวสะโพกตาย ซึ่งเป็นสาเหตุนำอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคข้อสะโพกเสื่อม มากกว่า 10 เท่า
  2. หันมาออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอและไม่มีแรงกระแทก เช่น การปั่นจักรยาน การเดิน การเดินในน้ำ เป็นต้น
  3. รักษาระดับน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป เพราะนอกจากเสี่ยงต่อ สะโพกเสื่อมแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ด้วย

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ทันตแพทย์

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

blank กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

การแยกกักตัวที่บ้าน เป็นแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้าเกณฑ์

blank กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เจ็บปวดข้อเข่า ข้อสะโพก สัญญาณเสี่ยง โรคกระดูกอ่อนเสื่อม

โรคกระดูกอ่อนเสื่อม (osteoarthritis) หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “ข้อเสื่อม” เป็นโรคที่พบได้บ่อยในบุคคลทั่วไป ไม่ใช่เพียงแค่ในกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น เกิดจากการที่กระดูกอ่อนซึ่งอยู่ปลายกระดูกในข้อเสื่อม ซึ่งการเสื่อมนี้ส่งผลให้มีการแตกกร่อนของกระดูกอ่อนซึ่งจะนำไปสู่อาการข้อฝืดซึ่งสร้างความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อตามอวัยวะร่างกายได้

เจ็บปวดข้อเข่า ข้อสะโพก สัญญาณเสี่ยง โรคกระดูกอ่อนเสื่อม

โรคกระดูกอ่อนเสื่อม (osteoarthritis) หรือที่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “ข้อเสื่อม” เป็นโรคที่พบได้บ่อยในบุคคลทั่วไป ไม่ใช่เพียงแค่ในกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น เกิดจากการที่กระดูกอ่อนซึ่งอยู่ปลายกระดูกในข้อเสื่อม ซึ่งการเสื่อมนี้ส่งผลให้มีการแตกกร่อนของกระดูกอ่อนซึ่งจะนำไปสู่อาการข้อฝืดซึ่งสร้างความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อตามอวัยวะร่างกายได้

อาการสมองเสื่อมถอย หลังติดเชื้อ COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ผู้ป่วยบางรายได้รับผลกระทบหลังติดเชื้อ COVID-19 คือ อาการสมองเสื่อมถอย มักพบในช่วง 1-6 เดือน หลังติดเชื้อ

อาการสมองเสื่อมถอย หลังติดเชื้อ COVID-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ทำให้ผู้ป่วยบางรายได้รับผลกระทบหลังติดเชื้อ COVID-19 คือ อาการสมองเสื่อมถอย มักพบในช่วง 1-6 เดือน หลังติดเชื้อ