Header

โรคมะเร็งเต้านม

โรคมะเร็งเต้านม ตามข้อมูลในสถิติทั่วโลกที่มีการบันทึก ในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมถือเป็นโรคอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทย และเป็นโรคมะเร็งอันดับหนึ่งที่พบในผู้หญิงทั่วโลก รองจากโรคมะเร็งปอด ซึ่งอุบัติการณ์ที่ผ่านมาทั้งหมด โรคมะเร็งเต้านมก็ยังถือเป็นมะเร็งที่ตรวจเจอได้บ่อยที่สุด เเต่ต้องนำมาคัดกรองส่วนของการตรวจว่าเป็นระยะไหน หรือว่าอัตราการรอดชีวิตจะเป็นอย่างไร ซึ่งข้อมูลที่เก็บมาจากปี 2018  จากทั่วโลก พบว่าอัตราการอยู่รอดตั้งแต่ระยะที่วินิจฉัยตอนแรกไปจนถึง 5 ปีหลังจากการวินิจฉัย พบว่าอัตราการอยู่รอดชีวิตของคนไข้โรคมะเร็ง มีอัตราสูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่า คนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมใน 100 คน จะพบว่าเมื่อมีการติดตามไปจนถึงปีที่ 5 จะสามารถมีชีวิตอยู่รอดถึง 90 คน 
 


 

ความสำคัญก็คือ เราจะรู้ได้ว่าเราจัดเป็นคนในกลุ่มไหน ข้อมูลตรงนี้จะต้องมาลงรายละเอียดกันว่าส่วนใหญ่ของการตรวจเจอมะเร็งเต้านมในทั่วโลก พบว่าคนไข้ที่ทำการตรวจมะเร็งเต้านมจะพบในระยะต้น นั่นคือระยะที่ยังไม่มีการแพร่กระจาย สูงถึง 65 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ จะพบว่าเป็นมะเร็งเต้านมที่ตรวจเจอในระยะที่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง หรือมีการแพร่กระจายไปอวัยวะต่าง ๆ ระยะที่มีการตรวจเจอ มีความสำคัญเนื่องจากเป็นตัวบ่งบอกถึง โรคที่รุนแรง หรือไม่รุนแรง ได้ เพราะจากข้อมูลพบว่าในกลุ่มคนไข้ที่ดูตามระยะแล้ว ทั้งหมดอยู่ในกลุ่มของคนไข้ที่ตรวจเจอมะเร็งเต้านมในระยะต้น และยังพบว่าเมื่อเราติดตามไป 5 ปีตั้งแต่ระยะที่ทำการวินิจฉัย คนไข้อยู่รอดถึง 90 จนเกือบ 100%  ในทางกลับกัน มะเร็งเต้านมที่ได้รับการวินิจฉัย ในระยะที่แพร่กระจายไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นต่อมน้ำเหลือง หรือระยะที่แพร่กระจายไปทางอวัยวะต่าง ๆ พบว่าอัตราการอยู่รอดใน 5 ปีนี้ก็จะลดลงตามลำดับ โดยเฉพาะมะเร็งเต้านมที่ตรวจเจอในระยะที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ อัตราการอยู่รอดใน 5 ปี จะลดลงเหลือแค่ประมาณไม่ถึงครึ่ง ซึ่งถือว่าระยะของการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมมีความสำคัญมาก และถ้ากลับมาดูข้อมูลในกลุ่มของหญิงไทยด้วยกันแล้ว จะพบว่าจากสถิติของโรคมะเร็งที่มีการเก็บข้อมูลติดตามจากอดีตจนถึงใกล้เคียงปัจจุบัน อุบัติการณ์ของการตรวจเจอโรคมะเร็ง ก็ยังสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะจากที่เทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีการตรวจได้ดียิ่งขึ้น เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น แต่ในทางกลับกันเราพบว่าอัตราการตาย หรือการเสียชีวิตของคนไข้โรคมะเร็งในผู้หญิงไทย ก็ยังไม่ได้ลดลง จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ทำให้ทางกระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นถึงความสำคัญและยังเป็นแนวทางในการคัดกรองมะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของมะเร็งเต้านม ถ้ากลับมาดูว่าใครบ้าง หรือคนกลุ่มไหนบ้างที่จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ คงต้องเอาสถิติมาเทียบดูตามข้อมูลของประชากรไทย ในการตรวจเจอมะเร็งเต้านม ในทุกช่วงอายุ และในทุกเพศ

เพราะจริง ๆ แล้วทุกคนมีความเสี่ยงและสามารถที่จะเป็นโรคมะเร็งได้ทุกคน แต่อุบัติการณ์ในการเกิดจะมากน้อยแตกต่างกันไป โดยเฉพาะในเบื้องต้นถ้าดูในเรื่องของเพศ ระหว่างเพศหญิงเพศชาย ส่วนใหญ่จะทราบดีอยู่แล้ว ว่าโรคมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่มักจะเจอในเพศหญิง แต่ในเพศชายก็ไม่ได้บอกว่าจะไม่เป็นโรคมะเร็งเต้านม โดยอุบัติการณ์ของสถิติที่เคยเจอมาจากในผู้หญิงไทย 100 คน สามารถที่จะเจอมะเร็งเต้านมในผู้ชายได้ประมาณ 0.5 ถึง 1 คน ส่วนนี้ก็จะเป็นความแตกต่างระหว่างเพศ

 

 

ด้านความแตกต่างระหว่างอายุ ในแต่ละช่วงอายุแน่นอนว่าความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม จะแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ ซึ่งส่วนใหญ่ช่วงอายุที่เจอมะเร็งเต้านมได้สูงสุด จะอยู่ในอายุระหว่าง 40 ถึง 70 ปี โดยเฉพาะในช่วงกลุ่มอายุที่ 60-70 ปี หรือในช่วงที่เริ่มมีการสูงวัย ก็จะเจออุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้มากขึ้น

การคัดกรองมะเร็งเต้านมในช่วงอายุ 40 ถึง 70 ปี โดยส่วนใหญ่ต้องบอกว่า หน้าตาโครงสร้างของของตัวเต้านมเองจะคล้าย ๆ เหมือนลักษณะก้อนไขมัน 2 ก้อน ที่แปะอยู่ที่หน้าอก อยู่บนผนังทรวงอก โดยก้อนไขมันนี้จะมีพวงองุ่นที่ฝังอยู่ในก้อนไขมัน นั่นคือต่อมไขมัน, ท่อของต่อมน้ำนม และท่อน้ำนม ส่วนโครงสร้างของต่อมน้ำนม ก็จะฝังตัวอยู่ในเนื้อของก้อนไขมัน และมีท่อน้ำนมที่มารวมกันอยู่ที่หัวนม ลักษณะของผิวที่หัวนมกับลานหัวนมจะมีสีเข้มกว่าผิวหนังปกติ ในตัวที่เป็นเนื้อเต้านมจะเป็นผิวหนังปกคลุมไว้ สีผิวจะต้องเหมือนสีผิวปกติของเราเท่ากันสองข้างอาจจะไม่จำเป็นต้องเท่ากันหรือไม่จำเป็น ต้องอยู่ในระดับเดียวกันแต่จะต่างกันไม่เยอะมาก

โดยส่วนใหญ่ ในลักษณะปกติจะมีมาตั้งแต่แรกเกิดและค่อย ๆ โตขึ้นมาจนกระทั่งปัจจุบัน ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราสังเกต และพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น มีลักษณะไม่เหมือนเดิม เช่น รู้สึกว่ามีก้อนแข็ง ๆ หรือนุ่ม ๆ บริเวณหน้าอก รู้สึกว่าผิวตรงนี้มันผิดปกติ สีผิวเปลี่ยนไป มีความหนาตัวของผิวมากขึ้น ลักษณะของผิวเปลือกส้ม นั่นไม่ใช่เซลลูไลท์ที่เต้านม ซึ่งถือว่าเป็นความผิดปกติ สามารถที่จะก่อให้เกิดเป็นมะเร็งเต้านมได้อีกแบบหนึ่ง ฉะนั้นต้องระวัง

สุดท้ายคือ อาจจะไม่พบก้อน หรือไม่ได้มีความผิดปกติที่ผิวหนัง แต่อาจจะมีน้ำนมหรือของเหลวที่มีสีคล้ายเลือด หรือสีคล้ายน้ำนมไหลออกมาจากหัวนม สิ่งนี้ถือเป็นความสำคัญในลักษณะหนึ่ง ที่อาจต้องรีบทำการพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและทำการรักษา สุดท้าย คือสามารถพบได้ในกลุ่มคนไข้มะเร็งเต้านมที่ไม่เคยเข้ารับการตรวจ จึงทำให้ไม่พบความผิดปกติที่เต้านม แต่ว่าคลำเจอก้อนบริเวณรักแร้ ก็อาจป็นตัวการของก้อนต่อมน้ำเหลืองที่ใต้รักแร้โต โดยที่คลำก้อนที่เต้านมไม่พบ สิ่งเหล่านี้ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นกัน

แนะนำว่าหากพบความผิดปกติทั้งหมดทั้งมวลนี้ ควรจะรีบมาพบแพทย์ เเละอย่าลืมตรวจเช็กสุขภาพเป็นประจำด้วยนะคะ

——————————————————

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกติดจอ ติดมือถือแก้อย่างไร

อากรแบบนี้บ่งบอกลูกติดจอ ติดมือถือหนัก!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกติดจอ ติดมือถือแก้อย่างไร

อากรแบบนี้บ่งบอกลูกติดจอ ติดมือถือหนัก!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วง โรต้าไวรัส

มีหลายสาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเชื้อแบคทีเรียหรือพิษจากอาหารโรตาไวรัสเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2ปี

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วง โรต้าไวรัส

มีหลายสาเหตุอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเชื้อแบคทีเรียหรือพิษจากอาหารโรตาไวรัสเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2ปี

พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.สุรีย์พร กอบเกื้อชัยพงษ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผัก ผลไม้ เป็นมิตรต่อลำไส้

ผัก ผลไม้ เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ มีประโยชน์มากมายกับร่างกายของเรา เพราะเป็นแหล่งสะสมของวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผัก ผลไม้ เป็นมิตรต่อลำไส้

ผัก ผลไม้ เป็นอาหารเพื่อสุขภาพ มีประโยชน์มากมายกับร่างกายของเรา เพราะเป็นแหล่งสะสมของวิตามิน และแร่ธาตุหลายชนิด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม