Header

โรคยอดฮิตที่มากับฝน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เข้าสู่ฤดูฝนก็เป็นอีกหนึ่งฤดูที่จะต้องดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองให้ดีนอกจากเชื้อไวรัส Covid-19 ที่เราต้องคอยระวังกันเป็นอย่างดีแล้ว ก็ยังมีโรคติดต่ออื่น ๆ ที่สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วเพราะเมื่อฝนตกทำให้ความชื้นเปลี่ยนไป นำมาซึ่งเชื้อไวรัสและแบคทีเรียบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคได้ทำให้เสี่ยงเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

เกิดจากการหายใจเอาเชื้อไวรัสที่กระจายอยู่ในอากาศจากการไอ จาม ของผู้ป่วยเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าฝนที่อากาศชื้น จะยิ่งทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่ายมาก เพียงแค่สัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนกับเชื้อไวรัส หรือสัมผัสกับน้ำมูกที่ปนเปื้อนเชื้อโรค ก็สามารถติดต่อกันได้แล้ว ดังนั้นวิธีการป้องกันคือ หากมีอาการป่วย หรือต้องอยู่ในที่ชุมชนแออัด ให้สวมใส่หน้ากากอนามัย ปิดปาก ปิดจมูกเวลาไอ หรือจาม ที่สำคัญควรหมั่นล้างมือบ่อย ๆ

  • โรคไข้หวัด หรือไข้หวัดทั่วไป (Common Cold) พบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อกว่า 200 ชนิด มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลลักษณะใส ไอมีเสหะ จาม เจ็บคอ เสียงแหบ สามารถหายได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ การรักษาไข้หวัดทำได้ด้วยการใช้ยา ควบคู่กับการนอนพักผ่อน และดื่มน้ำมาก ๆ
  • โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) โดยเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล สามารถจำแนกออกเป็น 3 ชนิด โดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยที่มีอาการรุนแรง คือ ชนิด A และ B ส่วน สายพันธุ์ชนิด C มักไม่รุนแรง ไข้หวัดใหญ่จะแสดงอาการ ไข้สูง ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีกล้ามเนื้ออักเสบ และอาการทางระบบหายใจตั้งเเต่ น้ำมูก ไอมาก หรือ หากรุนเเรง อาจมีอาการหอบเหนื่อย ปอดอักเสบ เสียชีวิต และอาจมีอาการที่ระบบอื่นอย่างระบบประสาท เช่น ไข้สูงเเล้วชัก ซึม หรือ ไข้สมองอักเสบได้ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ฉีด 1 เข็มต่อปี เพื่อป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตรการเสียชีวิต
  • โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) เกิดจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง เกิดได้จากทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา ที่พบโดยส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumonia หรือเชื้อนิวโมคอคคัส โดยโรคปอดอักเสบนี้จะมักเป็นอาการต่อเนื่องมาจากไข้หวัดใหญ่ อาการที่พบมีไข้สูง ตัวร้อน หน้าแดง เหงื่อออก หนาวสั่น ไอมีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดตามข้อ ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม รู้สึกสับสน และไม่มีไข้ ในทารกหรือเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ บางรายอาจมีอาการชักจากไข้

กลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ

โรคติดต่อที่เกิดจากยุง ไม่ว่าจะเป็นยุงลาย ยุงรำคาญ หรือยุงก้นปล่อง เป็นพาหะ โดยส่วนใหญ่มักจะแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำตามทุ่งนา หรือภาชนะที่มีน้ำขัง ทางที่ดีจึงควรป้องกันโดยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง รวมถึงหลีกเลี่ยงการโดนยุงกัด การเดินป่าในหน้าฝน หรือพยายามอยู่ให้ห่างจากพื้นที่ที่มีต้นไม้เยอะ

  • โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่ระบาดหนักมากในช่วงฤดูฝน โดยมีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกปี โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มอายุ มักมีอาการไข้สูงลอยนาน 3-7 วัน หน้าแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ตับโตและกดเจ็บ พบเลือดออกที่ผิวหนังและใน กระเพาะอาหารได้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีการรั่วของน้ำออกจากเส้นเลือด ทำให้มีภาวะเลือดข้น
  • โรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อ มีสาเหตุจากยุงลาย สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย แม้กระทั่งในเด็กเล็ก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเฉียบพลัน ปวดข้อและกล้ามเนื้อ มีผื่นแดงตามแขนขา ตาแดง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ท้องเสีย แม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคชิคุนกุนยายังสามารถถ่ายทอดไปยังทารกได้อีกด้วย
  • โรคไข้มาลาเรีย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไข้ป่า” มียุงก้นปล่องเป็นหาพะโดยมีแหล่งเพาะพันธุ์อยู่แถว ๆ บริเวณเขาสูง ป่าทึบ สวนยางพารา แหล่งน้ำธรรมชาติ ผู้ป่วยมักเริ่มแสดงอาการภายใน 10 – 28 วัน หลังจากเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดโดยทั่วไปมีอาการนําคล้ายกับเป็นไข้หวัดแต่ไม่มีน้ำมูก มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้และเบื่ออาหาร แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการแม้จะติดเชื้อหลายเดือนแล้วก็ตาม
  • โรคไข้สมองอักเสบเจอี เกิดจากเชื้อไวรัสเจอีที่สมอง มี “ยุงรำคาญ” เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้มักแพร่พันธุ์ในนาข้าว พบมากที่สุดในประเทศไทย ผู้ป่วยจะแสดงอาการหลังได้รับเชื่อ 5-15 วัน โดยระยะแรกจะมีไข้สูง อาเจียน เวียนศีรษะ และอ่อนเพลีย ในช่วงที่อาการรุนแรง เป็นช่วงที่อาจเสียชีวิตได้ จะมีอาการทางสมอง เช่น คอแข็ง สติลดลง เพ้อคลั่ง ชักหมดสติ และเป็นอัมพาตในที่สุด

โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika Fever) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสซิกา ที่มียุงลายเป็นพาหะในการแพร่เชื้อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการรุนแรงในคนปกติ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ มีผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ซึ่งโดยปกติแล้วอาการเหล่านี้จะเป็นเพียงเล็กน้อยไม่รุนแรงแต่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งอาจมีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่ส่งผลให้ทารกมีภาวะสมองพิการแต่กำเนิด ทำให้ทารกมีกะโหลกศีรษะและสมองที่เล็กกว่าปกติ ส่วนในรายที่ติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดภาวะสมองอักเสบเฉียบพลัน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคไข้ซิกาส่วนใหญ่ป่วยแล้วสามารถหายได้เอง โดยหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการเหล่านี้จะทุเลาเลงภายในเวลา 2–7 วัน
 

กลุ่มโรคติดต่อทางน้ำดื่มและอาหาร

โดยสาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารและลำไส้

  • โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เกิดจากการที่รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค การไม่ล้างมือให้สะอาด ใช้มือหยิบจับของที่ปนเปื้อนเชื้อแล้วนำเข้าปาก ส่งผลให้เกิดภาวะถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้งติดต่อกัน หรือมากกว่าใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก และอาจมีอาเจียนร่วมด้วย
  • โรคบิด เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรีย หรืออะมีบา ซึ่งสามารถติดต่อผ่านการรับประทานอาหาร ผักดิบ รวมถึงน้ำที่มีการปนเปื้อน โดยผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระบ่อย หรือมีมูกเลือดปน และมักมีไข้ด้วย
  • โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วง คลื่นไส้ ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ และอาจมีไข้ ปวดศีรษะร่วมด้วย
  • โรคตับอักเสบ เป็นภาวะที่ตับมีอาการอักเสบ และติดเชื้อ ซึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น ไวรัสตับอักเสบชนิด A B C D และ E โดยจะมีลักษณะการติดต่อที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ โดยอาการที่พบมาก ๆ ได้แก่ อ่อนเพลีย จุกแน่นใต้ชายโครงขวา ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ ร่วมกับการมีคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเสีย ปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลือง ตาเหลือง สาเหตุที่พบบ่อยมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส และยังมีสาเหตุอื่น ๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาบางอย่าง เป็นต้น

กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผล และเยื่อบุผิวหนัง

ซึ่งสาเหตุมาจากการสัมผัสกับน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค โดยเฉพาะเชื้อโรคที่มาพร้อมกับน้ำท่วมขัง น้ำเสียในท่อระบายน้ำ น้ำที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูลทั้งจากคนและสัตว์ สัมผัสดิน สัมผัสอาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะ เลือด หรือเนื้อเยื่อของของสัตว์ที่ติดเชื้อชนิดนี้ เช่น สุนัข วัว ควาย หนู สุกร ม้า สัตว์ป่า เป็นต้น

  • โรคฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยมีหนูหรือสัตว์ฟันแทะเป็นพาหะหลัก เชื้อถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะที่ปนเปื้อนอยู่ตามน้ำ ดินที่เปียกชื้น เชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังตามรอยแผล รอยขีดข่วน และเยื่อบุของปาก ตา จมูก อาการของโรคฉี่หนูที่ไม่รุนแรงเป็นอาการในระยะแรกและมักหายไปได้เองใน 5-7 วันคือไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียน ท้องเสีย ตาแดง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะ บริเวณน่อง โคนขา หรือปวดหลัง มีจุดเลือดออกตามผิวหนังแต่มีผู้ป่วยราว 5-10 เปอร์เซ็นต์ ที่อาการเหมือนจะดีขึ้นและหายดี หลังจากนั้นประมาณ 1-3 วันกลับทรุดลง เนื่องจากมีการพัฒนาของโรคไปสู่โรคฉี่หนูแบบรุนแรง
  • โรคตาแดง ส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัส หรืออาจเกิดจากการเด็กมีโรคประจำตัวอื่นอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคภูมิแพ้ ทำให้มีอาการคันตา ขยี้ตาบ่อย ๆ จนเกิดอาการตาอักเสบ และติดเชื้อ อาการที่พบบ่อยได้แก่ ตาแดง ปวดเล็กน้อยในเบ้าตา คันตา เคืองตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา น้ำตาไหล เปลือกตาบวม อาจพบตุ่มเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไป ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีขี้ตามากทำให้ลืมตายากในช่วงตื่นนอน

โรคมือ เท้า ปาก

  • โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot and Mouth Disease) มีสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเอนเทอโรเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเล็กโดยเฉพาะช่วงหน้าฝนและสามารถพบโรคมือ เท้า ปากในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แต่อาการมักจะไม่รุนแรงเท่าในเด็กเล็ก มีตุ่มบริเวณ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า มีตุ่มแดง หรือแผลร้อนในที่คอด้านใน จะกลายเป็นตุ่มพองใส เจ็บปากกินอะไรไม่ค่อยได้ น้ำลายไหล มีไข้สูง 38 – 39 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

ส่วนวิธีการป้องกันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคนี้ ดังนั้นการป้องกันที่สำคัญ คือ แยกผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ให้ไปสัมผัสกับเด็กคนอื่น ผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็กควรหมั่นล้างมือเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ และหมั่นทำความสะอาดของเล่นและสิ่งแวดล้อมที่เด็กอยู่ทุกวัน

ดังนั้น นอกจาก Covid-19 ที่เราต้องระวังป้องกันแล้ว เราไม่ควรมองข้ามโรคติดต่ออื่น ๆ ที่มีการแพร่ระบาดในท้องถิ่นในฤดูฝนเหล่านี้ด้วยเพราะมีความอันตรายไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย ฤดูฝนนี้ดูแลสุขภาพให้ดี สวมเสื้อผ้ารักษาร่างกายให้อบอุ่น ล้างมือล้างเท้าบ่อย ๆ รวมไปถึงการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอถ้าหากมีอาการป่วยให้รีบมาพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขอมองตาหน่อยได้ไหม ! เป็นโรคอะไรรึเปล่า ? เพราะดวงตาสามารถบอกอาการของโรคได้

ดวงตา เป็นอะไรที่มากกว่ามองแล้วรู้ใจ หมั่นเฝ้าสังเกตุ “ดวงตา” จะบ่งบอกได้ว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคอะไรหรือเปล่า

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ขอมองตาหน่อยได้ไหม ! เป็นโรคอะไรรึเปล่า ? เพราะดวงตาสามารถบอกอาการของโรคได้

ดวงตา เป็นอะไรที่มากกว่ามองแล้วรู้ใจ หมั่นเฝ้าสังเกตุ “ดวงตา” จะบ่งบอกได้ว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคอะไรหรือเปล่า

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

blank กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

blank กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนที่จำเป็นต่อลูกน้อย

วัคซีนสำหรับลูกน้อย คืออะไรเเม่ไม่เข้าใจ พ่อ แม่ต้องรู้ !!! ตารางฉีดวัคซีนแรกเกิด – 12 ขวบ

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
วัคซีนที่จำเป็นต่อลูกน้อย

วัคซีนสำหรับลูกน้อย คืออะไรเเม่ไม่เข้าใจ พ่อ แม่ต้องรู้ !!! ตารางฉีดวัคซีนแรกเกิด – 12 ขวบ

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม