Header

ไขข้อสงสัย ชนิด วิธีการ ผลข้างเคียง ‘วัคซีนโควิด-19 ในเด็ก’

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทุกอย่างหยุดชะงัก ทั้งการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ รวมถึงการไปโรงเรียนของเด็ก ๆ ที่ต้องเปลี่ยนไปเรียนออนไลน์นานนับปี ซึ่งส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และความเครียดของเด็กเป็นอย่างมาก วัคซีนโควิด-19 จึงถือเป็นความหวังที่จะช่วยให้เด็ก ๆ ได้กลับไปเรียนตามปกติอีกครั้ง

 

ผู้เชี่ยวชาญแนะใช้ ‘ไฟเซอร์’ กับเด็กเท่านั้น

เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา ทางราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศฉบับล่าสุดเกี่ยวกับคำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 สําหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป (ฉบับที่ 2) ว่ามีเพียง ‘ไฟเซอร์’ (Pfizer-BioNTech) เท่านั้นที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป

ขณะที่ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้วางแนวทางในการฉีดวัคซีน ‘ไฟเซอร์’ สำหรับเด็กอายุ 12 – 17 ปี ราว 4.5 ล้านคน โดยคาดว่าจะเริ่มฉีด 4 ตุลาคม 2564 นี้

 

ผลข้างเคียงในเด็ก เมื่อฉีด ‘ไฟเซอร์’

ปกรัฐ หังสสูต อาจารย์ประจำหน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตอบข้อกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อบุหัวใจในเด็กจากการฉีดวัคซีน mRNA ผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ว่ามีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นจริง แต่พบน้อยมาก และส่วนใหญ่มีอาการน้อย รักษาหายได้ มักเกิดผลข้างเคียงในเข็มที่ 2 โดยพบในอัตรา 8.7 ใน 1,000,000 และแม้จะเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น ทางรัฐบาลประเทศแคนาดาก็ยังคงแนะนำให้ฉีดวัคซีนโควิดชนิด mRNA ให้แก่เด็กที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป หรือแม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรก็ได้อนุญาตให้ฉีดในเด็กอายุ 12 – 17 ปีแล้วเช่นกัน

นอกจากนี้อาจารย์ปกรัฐยังได้กล่าวอีกว่าจะไม่ฉีดวัคซีนในเด็กก็ได้ แต่เด็กก็มีความเสี่ยงที่จะป่วยและเสียชีวิตได้ แม้ว่าความเสี่ยงจะน้อยกว่าผู้ใหญ่ และที่สำคัญ หากติดเชื้อแล้ว ถึงไม่ป่วย ก็ยังสามารถนำเชื้อไปแพร่ให้กับคนอื่น ๆ ในครอบครัวได้อีกด้วย ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนเพื่อควบคุมโรคให้ได้

 

นำร่องฉีดวัคซีนเชื้อตาย ‘ซิโนฟาร์ม’ กับเด็ก

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา เป็นวันแรกที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เริ่มโครงการศึกษาวิจัย ‘VACC 2 School’ โดยนำร่องฉีดวัคซีนชนิดเชื้อไวรัสตาย ‘ซิโนฟาร์ม’ ให้กับเด็กและเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 10-18 ปี ซึ่งประเดิมฉีดให้นักเรียนจำนวนกว่า 2,000 คน และคาดว่าจะมีเด็กรับวัคซีนรวม 108,000 คน ทั้งเด็กมัธยมต้น และมัธยมปลาย เพื่อให้เด็กสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่โรงเรียนตามปกติได้

ทางด้าน ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า โครงการศึกษาวิจัยการฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มในเด็กอายุระหว่าง 10 – 18 ปี นั้นมีตัวอย่างการศึกษาในต่างประเทศแล้ว ทั้งประเทศชิลี ศรีลังกา จีน และยูเออี โดยพบว่ามีความปลอดภัยสูง พบอาการข้างเคียงเพียง 0.2% เท่านั้น ถือว่าไม่พบอาการข้างเคียงในเด็กมากนัก แต่ประเทศไทยยังไม่มีการศึกษา ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จึงได้จัดโครงการวิจัยนี้ขึ้นมา โดยผ่านคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์แล้ว

ศ.นพ.นิธิ ได้กล่าวอีกว่า วัคซีนชนิดเชื้อไวรัสตายนั้นมีการใช้กันมานาน ทั้งวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ตับอักเสบ พิษสุนัขบ้า เป็นต้น ซึ่งวัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยสูงมาก อาการข้างเคียงต่ำ เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว และความรุนแรงต่ำกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ


เด็กไม่รับวัคซีนจะยังไปโรงเรียนกับเพื่อนได้ไหม

กระทรวงสาธารณสุขได้ยืนยันว่าการฉีดวัคซีนไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการเปิดเรียน แต่ฉีดเพื่อช่วยให้มีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น โดยเด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนก็ยังสามารถเข้าเรียนได้ ร่วมกับการเข้มงวดมาตรการป้องกันโรค ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด


การฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ในเด็ก

การพิจารณากระตุ้นเข็ม 3 ในเด็กขึ้นอยู่กับการระบาดจากนี้ในอีก 4 – 6 เดือนข้างหน้านี้

 

ที่มา :

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และ สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

Hfocus เจาะลึกระบบสุขภาพ

ปกรัฐ หังสสูต อาจารย์ประจำหน่วยไวรัสวิทยา ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ความหวังใหม่กระจายวัคซีนทั่วถึง ยับยั้งการระบาด ใช้ยาน้อย ภูมิสูงใกล้เคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ในสถานการณ์ที่วัคซีนยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนังจึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ความหวังใหม่กระจายวัคซีนทั่วถึง ยับยั้งการระบาด ใช้ยาน้อย ภูมิสูงใกล้เคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ในสถานการณ์ที่วัคซีนยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนังจึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ผลวิจัยสูตรวัคซีน SSA กระตุ้นภูมิโควิด-19

ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศิริราชพยาบาล เผยว่า การรับวัคซีนสลับชนิด อย่าง ‘ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า’ หรือสูตรไขว้ SA พบสร้างภูมิสูงกว่าการรับซิโนแวคสองเข็มกว่า 3 เท่า และสร้างภูมิสูงกว่าการรับแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มเล็กน้อย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผลวิจัยสูตรวัคซีน SSA กระตุ้นภูมิโควิด-19

ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศิริราชพยาบาล เผยว่า การรับวัคซีนสลับชนิด อย่าง ‘ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า’ หรือสูตรไขว้ SA พบสร้างภูมิสูงกว่าการรับซิโนแวคสองเข็มกว่า 3 เท่า และสร้างภูมิสูงกว่าการรับแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มเล็กน้อย

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดต้นคอ

ปวดต้นคอ เป็นปัญหาที่รบกวนชีวิตปกติสุข ทำให้ขีดความสามารถในการทำงานลดลง ขัดขวางการนอน  ทำให้นอนไม่หลับ  หงุดหงิด  โมโหง่าย  สมาธิลดลง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดต้นคอ

ปวดต้นคอ เป็นปัญหาที่รบกวนชีวิตปกติสุข ทำให้ขีดความสามารถในการทำงานลดลง ขัดขวางการนอน  ทำให้นอนไม่หลับ  หงุดหงิด  โมโหง่าย  สมาธิลดลง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม