Header

รากฟันเทียม กับ ฟันปลอม แบบไหนใช้งานได้ดีกว่ากัน ?

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

รากฟันเทียม กับ ฟันปลอม | แบบไหนใช้งานได้ดีกว่ากัน ? | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ฟันเป็นหนึ่งในอวัยวะมีการใช้งานตลอดทั้งวันเพราะปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์ก็คือการกินเพื่อดำรงชีวิต เมื่อถึงช่วงวัยหนึ่งฟันแท้อาจถูกถอนหรือถูกทำลายออกไป ไม่ว่าจะด้วยจากอุบัติเหตุ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับฟันซี่นั้น ๆ จนทำให้ต้องถูกถอนออกไปโดยทันตแพทย์ก็ตาม จึงทำให้จำเป็นต้องใส่รากฟันเทียม หรือฟันปลอมเข้ามาแก้ปัญหา หรือช่วยเหลือคนที่ฟันแท้หลุดออกไป เพื่อให้ฟันใช้งานได้ตามปกติในการบดเคี้ยว รวมไปถึงช่วยเรื่องบุคลิกภาพของเราอีกด้วย สำหรับคนที่อยากใส่ฟันปลอมที่ไม่หลุดง่าย สามารถพิจารณาเลือกระหว่างการใส่ฟันปลอมกับรากฟันเทียมได้ ดังนี้

 

รากฟันเทียมกับฟันปลอมแบบไหนใช้ได้ดีกว่า-รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

เปรียบเทียบความแตกต่างของรากฟันเทียมกับฟันปลอม

รากฟันเทียม กับ Denture แม้จะเป็นสิ่งที่ช่วยทดแทนฟันแท้ได้เหมือนกัน แต่ก็มีส่วนที่แตกต่างกันในด้านต่าง ๆ ตั้งแต่วัสดุที่ใช้ในการผลิต กรรมวิธีในการใส่ รวมไปถึงเรื่องของอายุการใช้งาน ซึ่งเราได้สรุปความแตกต่างของ Dental Implant และฟันปลอมไว้ 6 ประเด็น เพื่อให้คุณเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนขึ้น ดังนี้

 

1. วัสดุที่ใช้ทำ

รากฟันเทียม ทำจากไททาเนียมสกรู ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเดือยฟัน ซึ่งไททาเนียมเป็นวัสดุที่มีความคงทนสูง และเป็นวัสดุที่สามารถเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นจึงสามารถใช้สำหรับการติดตั้งรากฟันเทียมได้ดีด้วย สามารถยึดเกาะกับกระดูกได้เป็นอย่างดี โดยรากฟันเทียมประกอบด้วยวัสดุ 3 ชิ้น ได้แก่ รากฟันเทียมไททาเนียม เสายึด (Abutment) และสกรู (Screw) ซึ่งออกแบบมาสำหรับแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ เพื่อให้เหมาะสมกับช่องปาก กระดูกรองรับฟัน และตำแหน่งที่จะทำการฝังรากฟันเทียม สำหรับDentureทั้งให้เลือกใช้งาน 2 ชนิด ทั้งแบบฐานเป็นโลหะและฐานพลาสติก ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนไข้และการแนะนำของทันตแพทย์ โดยวัสดุทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถใช้กับร่างกายมนุษย์ได้ มีความปลอดภัยและเข้ากับเนื้อเยื่อภายในช่องปากได้อย่างดี แต่ถือว่าเป็นวัสดุที่มีความคงทนน้อยกว่ารากฟันเทียม

 

2. ระยะเวลาการรักษา

การรักษาด้วยวิธีใช้Dental Implantจะใช้เวลาในการรักษาที่นานกว่าการใส่ฟันปลอม เพราะการใส่ฟันปลอมสามารถใส่ได้ทันทีหลังถอนฟัน ซึ่งสามารถใส่ได้ทั้งแบบเฉพาะรายซี่ที่ถูกถอนออกไป หรือใส่หมดทั้งปากก็ได้ แต่สำหรับการรักษาด้วยวิธีรากฟันเทียม จะต้องมีการตรวจช่องปากและเอ็กซเรย์ช่องปาก เพื่อวางแผนการใส่ รากฟันเทียมและตำแหน่งที่ต้องใส่สำหรับการยึดเกาะ รวมถึงการพิมพ์ปากสำหรับทำครอบฟันเทียม โดยจะใช้ระยะเวลาในการรักษาราว ๆ 2 - 4 เดือน จากนั้นคนไข้จะต้องมาพบทันตแพทย์เพื่อประเมินการใส่รากฟันเทียมทุก 6 เดือน

 

3. ราคา

Dental Implant เป็นการแก้ไขฟันที่ถูกถอนหรือทำลายออกไปด้วยวิธีการยึดติดกับเนื้อเยื่อ และต้องมีการออกแบบการจัดใส่รากฟันเทียมโดยเฉพาะบุคคล ดังนั้นจึงมีราคาสูงกว่าการใส่ฟันปลอมที่เกิดจากการผลิตฟันปลอมสำหรับการยึดเกาะเท่านั้น โดยรากฟันเทียมมีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 30,000 - 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนฟันและความยากง่ายในการรักษาของแต่ละบุคคล ส่วนฟันปลอมมีราคาเริ่มต้นตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนฟันปลอมและวัสดุที่ใช้ในการผลิต

 

4. การใช้งานด้านการบดเคี้ยว

การใช้งานด้านการบดเคี้ยวนั้นการใส่รากฟันเทียม จะสามารถใช้งานได้คล่องตัวกว่า เพราะมีการยึดเกาะกับร่องเหงือกที่คงทนกว่า อีกทั้งยังมีการพิมพ์ครอบฟันที่มีลักษณะเฉพาะบุคคลจึงสามารถยึดเกาะได้ดีกว่าการใช้ Denture ดังนั้นการใส่รากฟันเทียมจึงสามารถใช้งานด้านการบดเคี้ยวได้ดีกว่านั่นเอง

 

5. อายุการใช้งาน

การใช้งานสามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าการใส่ฟันปลอม เพราะเป็นฝัง Dental Implant ลงไปยังร่องเหงือกโดยตรง รวมทั้งวัสดุที่ใช้ในการผลิตรากฟันเทียมทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติคงทนได้ดีกว่า สำหรับฟันปลอมมีอายุการใช้งานอยู่ประมาณ 10 ปี แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการดูแลการใส่รากฟันเทียมและการใส่ฟันปลอมด้วย

 

6. การทำความสะอาดช่องปาก

สำหรับการทำความสะอาดช่องปากในการใส่รากฟันเทียม และฟันปลอมนั้น ถือว่ามีวิธีการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันที่คล้ายคลึงกัน โดยต้องมีการแปรงฟันอย่างถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แต่สำหรับการใส่ฟันปลอมนั้นสามารถถอดฟันปลอมเพื่อนำออกมาทำความสะอาดได้ง่ายกว่า โดยวิธีการทำความสะอาดฟันปลอมนอกจากการแปรงฟันแล้ว ยังควรนำฟันปลอมแช่น้ำยาทำความสะอาดที่ทันตแพทย์แนะนำ เพื่อขจัดคราบพลัคและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ตามซอกฟัน เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานฟันปลอมให้ยาวนานขึ้น

 

รากฟันเทียมกับฟันปลอมแบบไหนใช้ได้ดีกว่า-รพ.พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

ตารางเปรียบเทียบรากฟันเทียมกับฟันปลอม

ข้อเปรียบเทียบ Dental Implant Denture
การติดแน่น ยึดแน่นถาวร ถอดออกได้
การติดตั้ง ใช้การฝั่งรากฟันเทียมที่เป็นไททาเนียมลงที่กระดูกขากรรไกร ต้องใช้กาวติดฟันปลอม
ผลต่อกระดูกกราม ถนอมกระดูกกรามและโครงหน้า ไม่ป้องกันการเสื่อมสภาพของกระดูกขากรรไกร
ภาพลักษณ์ ให้ความรู้สึกและดูเหมือนฟันธรรมชาติ ดูไม่เป็นธรรมชาติ
การผ่าตัด ต้องได้รับการผ่าตัดทางทันตกรรม ไม่ต้องรับการผ่าตัดทางทันตกรรม
ระยะเวลาการรักษา 3 - 6 เดือน 2 - 3 เดือน
ราคา (ต่อซี่) เริ่มต้น 30,000 บาท เริ่มต้น 3,000 บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างการใส่รากฟันเทียม และ Denture ถึงแม้ว่าทั้ง 2 วิธีจะเป็นการใส่ฟันทดแทนเพื่อแก้ปัญหาฟันที่ถูกถอนหรือทำลายออกไป แต่ก็มีความแตกต่างกันทั้งในแง่ของวัสดุที่ใช้ในการผลิต การใช้งาน รวมถึงการดูแลรักษาด้วย ซึ่งการใส่ Dental Implant ที่คลินิกทันตกรรม TDH Dental เราจัดทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังนั้นจึงทำให้การทำรากฟันเทียมของเรามีความคงทน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน และที่สำคัญนอกจากการใส่รากฟันเทียมจะช่วยในเรื่องของการบดเคี้ยวอาหารแล้ว ยังช่วยเรื่องบุคลิกภาพอีกด้วย ซึ่งทีมทันตแพทย์ของเรามีการวิเคราะห์ วางแผนการใส่รากฟันเทียมอย่างดี เพื่อให้เข้ากับเนื้อเยื่อ และรูปหน้าของแต่ละบุคคล รวมทั้งยังเลือกใช้วัสดุเกรดดีชั้นพรีเมี่ยม ทำให้การใส่รากฟันมีประสิทธิภาพ และใช้งานได้คล่องตัวยิ่งขึ้น



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

LOGO PRINC HOSPITAL SUVARNABHUMI_and_TDH

แผนกทันตกรรม

สถานที่

อาคาร B ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 10.00 - 20.00 *กรุณานัดหมายล่วงหน้า

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 หรือ 082 954 9469

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เลือกฟันปลอมแบบไหน ให้เหมาะกับ ผู้สูงวัยที่สุด ?

เป็นธรรมชาติของผู้สูงวัยที่เมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพช่องปากก็เริ่มอ่อนแอลง การสูญเสียฟันแท้ไปเพราะอายุที่มากขึ้น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เลือกฟันปลอมแบบไหน ให้เหมาะกับ ผู้สูงวัยที่สุด ?

เป็นธรรมชาติของผู้สูงวัยที่เมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพช่องปากก็เริ่มอ่อนแอลง การสูญเสียฟันแท้ไปเพราะอายุที่มากขึ้น

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม