Header

การตรวจหัวใจด้วย คลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ECHOCARDIOGRAM

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจหัวใจ | ด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) เป็นการตรวจหลอดเลือดใหญ่และหัวใจ ทำงานโดยการอาศัยหลักของการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเช่นเดียวกับอัลตราซาวด์

 

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ECHOCARDIOGRAM

การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

เป็นการตรวจหลอดเลือดใหญ่และหัวใจ โดยใช้เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีสูง ทำงานโดยการอาศัยหลักของการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเช่นเดียวกับอัลตราซาวด์ คือการส่งคลื่นเสียงที่สะท้อนกลับมาประมวลผลแล้วปรากฎออกมาเป็นภาพ ซึ่งจะทำให้สามารถเห็นการทำงานของหัวใจ



 



 

สิ่งที่เห็นได้การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง คือ

1. ลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ

2. การไหลเวียนของเลือดผ่านหัวใจห้องต่าง ๆ 

3. การเคลื่อนไหวของหัวใจ รวมถึงการทำงานเปิด – ปิดของลิ้นหัวใจทั้ง 4 ลิ้นได้

4. การทำงานของหัวใจขณะกำลังบีบตัว และคลายตัว

5. อาจใช้ร่วมกับการออกกำลัง หรือการให้ยาเร่งการทำงานของหัวใจ เพื่อประเมินสภาวะหัวใจขาดเลือดได้ (Stress Echocardiogram)


 

ประโยชน์ของการตรวจคลื่นเสียงสะส้อนความถี่สูง (Echocardiogram) 

สามารถตรวจวิเคราะห์หัวใจชนิดต่าง ๆ ได้แก่ 

1. โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตายพร้อมทั้ง สามารถบอกตำแหน่งของส่วนกล้ามเนื้อหัวใจที่ตายได้รวมถึงสามารถวัดแรงบีบตัวของหัวใจ และการคลายตัวของหัวใจ 

2. โรคลิ้นหัวใจผิดปกติทั้งชนิด ลิ้นหัวใจรั่ว และตีบ ซึ่งสามารถบอกความรุนแรง ก่อนพิจารณาทำการผ่าตัดในรายที่เป็นมากสามารถบอกสาเหตุของโรคลิ้นหัวใจบางชนิดได้

3. โรคที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังภาวะน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งนอกจากจะใช้บอกความรุนแรงของโรคแล้วยังมีส่วนสำคัญในการบอก ตำแหน่งที่จะใช้เจาะดูดน้ำออก ทำให้สามารถใช้เป็นทั้งการวินิจฉัยโดยส่งน้ำที่ไปดูดได้ไปวิเคราะห์ทางห้องปฎิบัติการ และใช้เป็นการ

รักษาในรายที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเป็นจำนวนมาก มีการบีบรัดการทำงานหัวใจ

4. โรคผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด เช่น ผนังกั้นห้องหัวใจรั่วที่ห้องบน และล่าง, ลิ้นหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด

5. สามารถประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยในกรณีที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดโรคที่เกี่ยวกับอวัยวะอื่นที่ไม่ใช่หัวใจ เป็นต้น

 



 

ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

โดยทั่วไปแล้ว Echo ถือเป็นการตรวจพิเศษที่ไม่อยู่ในรายการตรวจสุขภาพทั่วไปดังนั้นบุคคลที่ควรได้รับการตรวจ Echo คือ

1. มีโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ อยู่ก่อนแล้ว เช่น ลิ้นหัวใจตีบ หรือรั่ว โรคของกล้ามเนื้อหัวใจการตรวจ Echo จะมีประโยชน์มากในการติดตามการรักษา และการดำเนินของโรค

2. แพทย์ตรวจร่างกายแล้วพบว่า มีเสียงผิดปกติ เช่น มีเสียงฟู่ (Murmur), ตำแหน่งหัวใจไม่อยู่ที่ปกติ การตรวจด้วย Echo จะทำให้การวินิจฉัยโรคถูกต้อง และแม่นยำขึ้น

3. มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคหัวใจบางชนิด ซึ่งอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ หรือบุคคลในครอบครัวถึงแก่กรรมทันทีทันใดโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน

4. หัวใจโตโดยไม่ทราบสาเหตุ

5. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่จะเข้ารับการผ่าตัดใหญ่

6. ผู้ป่วยที่มีอาการที่แพทย์ประเมินเบื้องต้นแล้วสงสัย โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดต้องการสืบค้นเพิ่มเติม

 

การเตรียมตัวก่อนการตรวจ และการดูแลหลังการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)

วิธีการปฏิบัติตน

1. ไม่ต้องงดน้ำ และอาหารก่อนมาทำการตรวจ ยกเว้นการตรวจพิเศษบางอย่าง อาจจะต้องงดน้ำ และอาหารล่วงหน้าประมาณ 4 – 6 ชั่วโมง

2. ผู้รับการตรวจควรสวมเสื้อผ้าที่สามารถถอด หรือเปิดบริเวณหน้าอกได้ง่ายเพื่อความสะดวกในการตรวจ (ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะให้ถอดเสื้อผ้า และเสื้อชั้นในออก และใส่เสื้อคลุมที่จัดเตรียมให้แทน)

3. การตรวจใช้เวลาประมาณ 30 นาที

 

ขั้นตอนการตรวจ

1. ให้ผู้ป่วยนอนบนเตียงราบ เจ้าหน้าที่จะติดแผ่นขั้วไฟฟ้าหัวใจ

2. ตะแคงไปด้านซ้ายเล็กน้อยมือซ้ายพาดขึ้นบน และเปิดส่วนของผ้าบริเวณทรวงอก

3. แพทย์จะเริ่มทำการตรวจโดยใช้เจลใสป้ายบริเวณทรวงอก และใช้หัวตรวจซึ่งไม่มีความแหลมกดบริเวณหน้าอก และขยับไปมา ตามตำแหน่งที่ต้องการให้เห็นภาพ

 

บทความโดย :  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (บางนา กม 6.5)

#หัวใจคุณให้พริ้นซ์ช่วยดูเเล


 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พร้อมบริการรักษาโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง 24 ชั่วโมง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -15.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4601 หรือ 092 131 6465

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ Cath Lab โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ห้อง Catheterization Laboratory (Cath Lab) หรือห้องปฏิบัติการตรวจหัวใจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจเพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ เพื่อแสดงภาพของหัวใจและหลอดเลือดอย่างชัดเจน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ

blank ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ห้องปฏิบัติการตรวจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจ Cath Lab โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ห้อง Catheterization Laboratory (Cath Lab) หรือห้องปฏิบัติการตรวจหัวใจและการฉีดสีสวนหลอดเลือดหัวใจเพื่อตรวจการทำงานของหัวใจ เพื่อแสดงภาพของหัวใจและหลอดเลือดอย่างชัดเจน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดต่าง ๆ

blank ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่ดีๆ ก็ใจสั่น อาการเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คือความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อมีอาการจะเกิดขึ้นไม่นานหัวใจก็จะกลับมาเต้นเป็นปกติเหมือนเดิม และไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ

นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่ดีๆ ก็ใจสั่น อาการเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะ

คือความรู้สึกเหมือนหัวใจเต้นผิดจังหวะ เต้นช้าหรือเร็วเกินไป เมื่อมีอาการจะเกิดขึ้นไม่นานหัวใจก็จะกลับมาเต้นเป็นปกติเหมือนเดิม และไม่อันตราย แต่หากเกิดขึ้นบ่อยครั้ง นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของบางโรคได้ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนของอาการใจสั่น ที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ

นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง | ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด นพ. ชูศักดิ์ หล่อจิตต์เสียง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหัวใจ (Heart Disease)

โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหัวใจ (Heart Disease)

โรคหัวใจ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิด

blank บทความโดย : ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม