Header

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย Exercise Stress Test

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจสมรรถภาพหัวใจ | ขณะออกกำลังกาย (EST) | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจสมรรถภาพหัวใจ โดยการเดิน การวิ่งบนสายพาน เพื่อทดสอบว่าเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือไม่ การตรวจวิธีนี้มีความแม่นยำสูงกว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบปกติ เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มาก
 

 

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย Exercise Stress Test

     เป็นการตรวจสมรรถภาพหัวใจ โดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายด้วย การเดิน / การวิ่งบนสายพาน เพื่อทดสอบว่าเมื่อหัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นขณะออกกำลังจนถึงเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว จะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด หรือไม่ ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจแสดงอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยมากหน้ามืด และมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย

     การตรวจวิธีนี้มีความแม่นยำสูงกว่าการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบปกติ เป็นการตรวจที่มีประโยชน์มากในการวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือด หรือหลอดเลือดหัวใจตีบ และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด

 

 

 

ผู้ที่ควรตรวจ EST

1. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด แต่ยังไม่แสดงอาการผิดปกติ

2. ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายสงสัยโรคหัวใจขาดเลือด

3. ตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาในผู้ป่วยที่เคยได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

4. ตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาอื่น ๆ เช่น ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบพิเศษ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดปกติที่อาจเกิดขณะออกกำลังกาย

5. ผู้ที่แพทย์แนะนำให้ตรวจวิธีนี้ เพื่อการวินิจฉัย หรือเพื่อติดตามการรักษา


 

ประโยชน์ของการทำ EST

1. เพื่อทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย

2. เพื่อวินิจฉัยแยกโรคว่าอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจ หรือสาเหตุอื่น

3. เพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงแต่ไม่มีอาการ

4. เพื่อบอกความรุนแรงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

5. เพื่อติดตามผลการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

6. ช่วยประเมินภาวะหัวใจเต้นผิดปกติที่อาจเกิดขณะออกกำลังกาย

 

 

 

การเตรียมตัวก่อนมารับการตรวจ

1. งดน้ำ และอาหาร งดชา งดกาแฟ งดบุหรี่ 2 ชั่วโมงก่อนการทดสอบไม่ควรรับประทานอาหารมื้อใหญ่ หรือปริมาณมากก่อนมาทดสอบ

2. ก่อนการทดสอบ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยงดยาบางชนิด เช่นยากลุ่ม Beta-blocker เป็นต้น 

3. สวมใส่ชุดที่รู้สึกสบาย และสวมรองเท้าสำหรับวิ่ง

 

ขั้นตอนการตรวจ

1. แพทย์จะทำการตรวจประเมิน และแนะนำเบื้องต้นก่อนการทดสอบ

2. เจ้าหน้าที่จะติดเครื่องวัดความดันโลหิต และชีพจรแบบ อัตโนมัติติดสายตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจบริเวณหน้าอกให้ผู้ป่วย

3. บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนการทดสอบทั้งท่านอน ท่านั่ง ท่ายืน และบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายจนเสร็จสิ้นการทดสอบตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ โดยแบ่งเป็น ช่วงออกกำลังกายประมาณ 6 - 12 นาที แล้วแต่สมรรถภาพของผู้ป่วย และช่วงเวลาพักประมาณ 3 - 10 นาที

4. ในขณะทำการทดสอบจะตรวจวัดความดันโลหิต และชีพจร แบบอัตโนมัติ แพทย์จะติดตามดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากหน้าจอเครื่องทดสอบ และจะสอบถามอาการผู้ป่วยเป็นระยะ ๆ 

5. ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ รู้สึกอึดอัด เจ็บแน่นหน้าอก หรือขากรรไกร ปวดขาเดินต่อไปไม่ไหว ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที แพทย์จะปรับเครื่องให้ช้าลงเพื่อเตรียมหยุดเครื่อง หรือทำการหยุดเครื่องฉุกเฉินเพื่อรักษาตามความเหมาะสม

6. หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบ แพทย์จะแปลผล และแจ้งผลการทดสอบให้ผู้ป่วย และญาติทราบ

7. ทางโรงพยาบาลจะให้ผลการทดสอบกับผู้ป่วยหลังเสร็จสิ้นการทดสอบ  


บทความโดย :  โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ (บางนา กม 6.5)

#หัวใจคุณให้พริ้นซ์ช่วยดูเเล



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พร้อมบริการรักษาโดยทีมแพทย์เฉพาะทาง 24 ชั่วโมง

ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -15.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4601 หรือ 092 131 6465

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน

ลดความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน ด้วยการตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง?

ลิ้นหัวใจตีบ | อาการ วิธีรักษา และตัวเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด

รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับลิ้นหัวใจรั่ว ตั้งแต่อาการเบื้องต้น วิธีการรักษา ไปจนถึงทางเลือกเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องเปิดหน้าอก ปรึกษาแพทย์และวางแผนรักษาได้อย่างมั่นใจ

ลิ้นหัวใจตีบ | อาการ วิธีรักษา และตัวเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด

รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับลิ้นหัวใจรั่ว ตั้งแต่อาการเบื้องต้น วิธีการรักษา ไปจนถึงทางเลือกเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องเปิดหน้าอก ปรึกษาแพทย์และวางแผนรักษาได้อย่างมั่นใจ

6 โรคที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ

โรคหัวใจ หรือ Heart Disease หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน

blank ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
6 โรคที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ

โรคหัวใจ หรือ Heart Disease หมายถึง โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน

blank ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม