Header

เท้าแบนเจ็บอุ้งเท้าบ่อย อย่าชะล่าใจ เสี่ยงเป็น “ โรคเท้าแบน Flat Feet ” แบบไม่รู้ตัว!

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

โรคเท้าแบน เจ็บอุ้งเท้า -โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

“เท้าแบน” ภัยเงียบสุดอันตราย

โรคเท้าแบนหรือ Flat Feet เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้าและโครงสร้างเส้นเอ็นที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า หรือ เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ซึ่งภาวะเท้าแบนจะเกิดขึ้นได้เมื่อเป็นเด็กเล็กเนื่องจากฝ่าเท้าของเด็กมีไขมัน และเนื้อเยื่ออ่อนทำให้มองเห็นอุ้งเท้าตรงฝ่าเท้าได้ไม่ชัด แต่เมื่อโตขึ้นช่องโค้งก็จะค่อยๆปรากฏขึ้นมาหรือในบางรายอาจได้รับการถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวมาทางพันธุกรรมนอกจากนี้ภาวะเท้าแบนอาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บหรือเสื่อมสภาพไปตามอายุ

เคยสังเกตกันไหมท่านใดที่รู้สึก เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ๆ หรือรู้สึกว่ารองเท้าที่สวมใส่อยู่ทุกวันนั้น ทำไมมันชำรุดสึกไม่เท่ากันในทางการแพทย์ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติที่จะส่งผลในระยะยาว ควรพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการเหล่านี้เพราะอาจเสี่ยงเป็นโรคเท้าแบนแบบไม่รู้ตัวและหากคุณยังชะล่าใจและใช้ชีวิตต่อไปเรื่อย ๆ สุดท้ายอาการที่ตามมาจะพบว่ามีอาการปวดหลังเรื้อรังตามมาด้วยโรคหมอนรองกระดูกอักเสบก็เป็นได้

เราทำความเข้าใจกับโรคเท้าแบนภัยเงียบสุดอันตรายพร้อม ๆ กัน

เท้าแบนสาเหตุหลักเกิดจากอะไร

  • เนื้อเยื่อส่วนต่างๆของร่างกายไม่ยึดเชื่อมกันเช่นโรคหนังยึดผิดปกติ (Ehlers-Danlos Syndrome) หรือกลุ่มอาการข้อต่อหย่อน (Joint Hypermobility Syndrome)
  • เอ็นข้อเท้าที่ยึดขาส่วนล่างของข้อเท้าและตรงกลางฝ่าเท้าเกิดการอ่อนแรง (Posterior Tibial Tendon Dysfunction)
  • เกิดจากการเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ จึงส่งผลให้เท้าและข้อเท้าเสี่ยงได้รับบาดเจ็บซึ่งในกรณีนี้ได้มีผลวิจัยชี้แจงออกมาด้วยนั่นก็คือพบว่าผู้ที่เล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมหนัก ๆ มีความสัมพันธ์กับอาการเบื้องต้นของโรคเท้าแบนนั่นก็คือเจ็บหน้าแข้งด้านใน (Shin Splints) เจ็บที่อุ้งเท้าส้นเท้าและมีอาการปวดเข่าด้านหน้า (Patellotermoral Pain Syndrome)

โรคเท้าแบนหรือ Flat Feet อาการเป็นอย่างไร

  • รู้สึกเจ็บฝ่าเท้าแม้จะสวมรองเท้าที่ใส่สบายและรองรับเท้าแล้วตามอายุ
  • รู้สึกเจ็บที่อุ้งเท้าและส้นเท้า
  • ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น
  • ยืนไม่ค่อยได้หรือเคลื่อนไหวทรงตัวบนเท้าลำบาก
  • เจ็บหลังและขา
  • ฝ่าเท้าอ่อนแรงรู้สึกซาหรือเกิดอาการฝ่าเท้าแข็ง

4 สาเหตุใกล้ตัวที่ทำให้ “เท้าแบน”

การเดินเท้าเปล่าหรือใส่รองเท้าแบนราบเป็นประจำเป็นระยะเวลายาวนานจะส่งผลให้สรีระเท้าเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยไม่รู้ตัวอุ้งเท้าจะค่อยๆล้มจนเกิดเป็นภาวะเท้าแบนได้ในที่สุด

  1. น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ๆ จนอ้วนคือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เท้าแบนเนื่องจากอุ้งเท้าต้องรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเก่าส่งผลให้ส่วนโค้งของเท้าโดนกดทับมากขึ้นทำให้การทรงตัวเปลี่ยนไปการเคลื่อนไหวก็ไม่ตีเหมือนเคย
  2. คนที่เคยบาดเจ็บทางร่างกายจากอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นโดยตรงที่เท้าหรือไม่ก็ตาม แต่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหรืออวัยวะที่กระทบมาถึงเท้าก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นเท้าแบนได้
  3. อายุที่มากขึ้นสภาพร่างกายที่เสื่อมลงตามวัยทำให้อุ้งเท้าที่ทำงานหนักมาตลอดชีวิตก็อาจค่อยๆล้มตามกาลเวลาจนเกิดเป็นภาวะ“ เท้าแบน” ตามมา
  4. กรรมพันธุ์ซึ่งแม้จะเป็นสาเหตุหนึ่งของเท้าแบนที่เราไม่สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดได้ก็ตาม แต่เราก็สามารถดูแลควบคุมไม่ให้ทำร้ายเท้ามากขึ้นได้

       “ เท้าแบน” จึงเป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นกับเราทุกคนโดยไม่รู้ตัวเนื่องจากไม่ใช่อาการแบบเฉียบพลัน แต่จะค่อยเป็นค่อยไปจนเริ่มมีอาการดังที่กล่าว นอกจากนี้ก็มีวิธีง่ายๆที่จะเช็คได้ด้วยตัวเองโดยดูจากรอยเท้าที่เปียกของเราบนพื้นว่ามีลักษณะฝ่าเท้าแบบไหน

 

สำหรับการรักษาและการดูแลตนเอง เชิญปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและการวินิจฉัยที่แม่นยำมากขึ้น และเพื่อให้ได้วิธีการรักษาที่เหมาะสมตามสภาพการเจ็บปวดของแต่ละบุคคล

บทความโดย : นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา ศัลยแพทย์กระดูก
โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ


 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพสตรี

แผนกทันตกรรม

ศูนย์ศัลยกรรมความงามและสุขภาพแนวใหม่ Princ Aesthetic Surgery & Wellness Center

นพ.สันติภาพ แซ่อึ้ง

ศัลยศาสตร์ตกแต่ง

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

4 อาหารบำรุงกระดูก หาทานง่าย และทำกินเองได้ที่บ้าน

โดยวันนี้เราจะมาแนะนำ 4 อาหารหลักบำรุงกระดูก ที่สามารถหาทานได้ง่าย และสามารถประกอบอาหารทานที่บ้านได้พร้อมกับครอบครัวอีกด้วย!

4 อาหารบำรุงกระดูก หาทานง่าย และทำกินเองได้ที่บ้าน

โดยวันนี้เราจะมาแนะนำ 4 อาหารหลักบำรุงกระดูก ที่สามารถหาทานได้ง่าย และสามารถประกอบอาหารทานที่บ้านได้พร้อมกับครอบครัวอีกด้วย!

ปวดเข่า จากการ ออกกำลังกาย เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วออกกำลังกายท่าไหนได้บ้าง?

ในบางครั้ง การออกกำลังกายก็มีส่วนให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ เช่น ออกกำลังกายแต่ปวดเข่า และในขณะเดียวกันก็ช่วยส่งสัญญาณเตือนเมื่อร่างกายของเรากำลังมีภาวะผิดปกติได้เช่นกัน

ปวดเข่า จากการ ออกกำลังกาย เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วออกกำลังกายท่าไหนได้บ้าง?

ในบางครั้ง การออกกำลังกายก็มีส่วนให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ เช่น ออกกำลังกายแต่ปวดเข่า และในขณะเดียวกันก็ช่วยส่งสัญญาณเตือนเมื่อร่างกายของเรากำลังมีภาวะผิดปกติได้เช่นกัน

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

blank กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

blank กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม