Header

ข้อไหล่ติด รักษาหายได้ ต้องปฏิบัติอย่างถูกวิธี

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ข้อไหล่ติด - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภุมิ

ข้อไหล่ติด รักษาหายได้ ต้องปฏิบัติอย่างถูกวิธี

ข้อไหล่ติด อีกหนึ่งอาการป่วยที่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แม้ไม่ใช่โรคร้ายที่รุนแรง แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเรื่องของการหยิบจับวัตถุที่ต้องยกไหล่ การอาบน้ำ การรับประทานอาหาร หรือการใส่เสื้อผ้า แต่สามารถรักษาให้หายได้ หากปฏิบัติถูกวีธี หรือได้รับการรักษาที่เหมาะสม ครั้งนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อไหล่ติดในเรื่องของอาการแต่ละระยะ การรักษา การปฏิบัติตน รวมถึงปัจจัยเสี่ยง

 

ข้อไหล่ติด อาการเป็นอย่างไร?

เป็นอาการที่ไม่สามารถยกแขนได้สุด หากยกแขนจนถึงระดับเกือบเต็มที่จะรู้สึกปวด โดยอาการข้อไหล่ติดจะเกิดทุกทิศทางในการเคลื่อนไหว ทั้งไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือข้างหลัง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

ข้อไหล่ติด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

ㆍระยะปวดคนไข้จะรู้สึกปวดมาก แม้ยกไหล่เพียงนิดเดียว โดยจะปวดอยู่ประมาณ 2-9 เดือน

ㆍระยะติดคนไข้มีปัญหาเรื่องการใช้งาน เช่น การรับประทานอาหาร อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า โดยผู้ป่วยจะมีอาการอยู่ในระยะนี้นานแตกต่างกันออกไป มีตั้งแต่ 2 เดือนไปจนถึง 1 ปีครึ่ง

ㆍระยะฟื้นคืนตัว เมื่อผ่านระยะติดมาแล้วจะเข้าสู่ระยะฟื้นคืนตัว โดยธรรมชาติจะรักษาตัวเอง อาจใช้เวลาตั้งแต่ 1-3 ปี

 

หลักการรักษาข้อไหล่ติด

ㆍให้ยาลดปวด อาจเป็นยากิน หรือยาชนิดฉีด

ㆍกายภาพบำบัด ผู้ป่วยต้องทำกายภาพอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลลัพธ์ที่ดี

ㆍผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถทำกายภาพได้

ㆍออกกำลังกาย

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดข้อไหล่ติด

ㆍโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคที่เกี่ยวกับความอ้วน

ㆍการเคลื่อนไหวน้อย

ㆍอาจเกิดจากการประสบอุบัติเหตุที่ข้อไหล่ หรือเส้นเอ็นบริเวณไหล่ฉีกขาด

 

บทความโดย : นพ.กุลพัชร จุลสำลี แผนกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้

Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์กระดูกและข้อ

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์ประจำศูนย์

ศูนย์กระดูกและข้อ

ผศ.นพ.สรวุฒิ ธรรมยงศ์กิจ

ศัลยแพทย์กระดูก

ศูนย์กระดูกและข้อ

ผศ.นพ.ปิลันธน์ ใจปัญญา

ศัลยแพทย์กระดูก, กระดูกสันหลัง

ศูนย์กระดูกและข้อ

นพ.ธีรเมศร์ ไกรสินธุ์

ศัลยแพทย์กระดูก

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

07 กุมภาพันธ์ 2567

กระดูกพรุนคืออะไร ทำไมผู้สูงอายุควรระวัง

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่โครงสร้างความแข็งแรงของกระดูกลดลง ทำให้เกิดการหักได้ง่าย หากผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุด้วยการล้ม จะส่งผลทำให้กระดูกหักได้

นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฏ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุววรณภูมิ นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฏ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

07 กุมภาพันธ์ 2567

กระดูกพรุนคืออะไร ทำไมผู้สูงอายุควรระวัง

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่โครงสร้างความแข็งแรงของกระดูกลดลง ทำให้เกิดการหักได้ง่าย หากผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุด้วยการล้ม จะส่งผลทำให้กระดูกหักได้

นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฏ์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุววรณภูมิ นพ.รณศักดิ์ มงคลรังสฤษฏ์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม