กระดูกพรุนคืออะไร ทำไมผู้สูงอายุควรระวัง
07 กุมภาพันธ์ 2567
การล้มในผู้ป่วยสูงอายุเป็นเรื่องที่พึงระวัง ยิ่งอายุมากขึ้นก็มีโอกาสที่กระดูกจะหักได้มากขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีโอกาสเกิด “ภาวะกระดูกพรุน” ได้มากกว่าคนวัยอื่นๆ ควรเข้ารับการตรวจมวลกระดูกเพื่อให้ทราบว่า มวลกระดูกของเราอยู่ในระดับไหน จะได้ทำการรักษาและป้องกันได้อย่างทันท่วงที
โรคกระดูกพรุนคืออะไร
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือโรคที่โครงสร้างความแข็งแรงของกระดูกลดลง ทำให้เกิดการหักได้ง่าย หากผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุด้วยการล้ม จะส่งผลทำให้กระดูกหักได้
ตำแหน่งที่กระดูกมักจะหักหากเกิดการล้ม
- กระดูกข้อมือ หากล้มแล้วเอามือยันพื้น
- กระดูกสันหลัง หากล้มแล้วก้นกระแทกพื้น
- กระดูกหัวไหล่ หากล้มแล้วเอาไหล่ลงพื้น
- กระดูกสะโพก หากล้มแล้วสะโพกกระแทกพื้น
บริเวณที่ควรระวัง: กระดูกสันหลังและกระดูกสะโพก เพราะจะมีโอกาสทุพพลภาพได้สูง และมีอาการปวดมากกว่า ทำให้ไม่อยากขยับร่างกาย ติดเตียงและทรุดลงตามลำดับ ซึ่งอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
วิธีรักษาโรคกระดูกพรุน
วิธีรักษาโรคกระดูกพรุน ก็คือการเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ทำได้โดยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอต่อวัน แต่ละช่วงวัยปริมาณแคลเซียมที่ต้องการจะแตกต่างกันออกไป แต่โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่
- นม
- โยเกิร์ต
- ชีส
- เต้าหู้ขาว
- ผักใบเขียว
- นมถั่วเหลือง
- ปลา กุ้ง ตัวเล็ก
- วิตามิน D
ผู้สูงอายุจะป้องกันการล้มอย่างไร
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำ ว่ามีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง เช่น โรคประจำตัวที่เกี่ยวกับการทรงตัว ตาฝ้าฟางมองไม่เห็น น้ำในหูไม่เท่ากัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกระดูกข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น
- ปัจจัยสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะห้องนอนและห้องน้ำ สาเหตุมาจาก แสงสว่างที่ไม่เพียงพอ พื้นห้องน้ำลื่น และสิ่งกีดขวางทำให้เดินไม่สะดวก
- ออกกำลังกาย เพิ่มความแข็งแรงและสมดุลของกล้ามเนื้อ
- ยาที่ส่งผลต่อการทรงตัว เช่น ยาแก้เวียนหัวอาจทำให้มันหัวได้
ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์กระดูกและข้อ
สถานที่
อาคาร A ชั้น G
เวลาทำการ
จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00
เบอร์ติดต่อ
02 080 5999 ต่อ 4110