Header

ส่องกล้องทางเดินอาหารไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

29 มกราคม 2567

ส่องกล้องทางเดินอาหาร | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เมื่อเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารและลำไส้ ผู้ป่วยมักจะชะล่าใจและมองข้ามอาการต่าง ๆ ที่ร่างกายแสดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดท้อง ท้องผูก เลือดออกจากทางเดินอาหาร ท้องเสียเรื้อรัง 

อาการเหล่านี้อาจจะเป็นการเตือนของโรคร้ายก็เป็นได้ และเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร บางครั้งแพทย์อาจลงความเห็นให้ทำการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร

หลาย ๆ ท่านที่จะได้รับการตรวจส่องกล้องครั้งแรก มักจะมีความกังวลแตกต่างกันไป แต่จริง ๆ แล้วการส่องกล้องไม่น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะคนไข้ท่านที่กลัวการส่องกล้องแพทย์จะฉีดยานอนหลับ และยาลดอาการปวด ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวในขณะส่องกล้องเข้าไปในทางเดินอาหาร


ข้อดีของการส่องกล้องทางเดินอาหาร

  1. ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้

การส่องกล้องจะใช้เพื่อวินิจฉัยสภาวะที่ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร การส่องกล้องสามารถช่วยระบุแผล เลือดออก โรคช่องท้อง การอุดตัน การอักเสบ และเนื้องอก สามารถช่วยค้นหาสาเหตุของอาการที่ไม่สามารถอธิบายได้ เช่น แสบร้อนกลางอก ปวดท้อง มีเลือดออก คลื่นไส้ อาเจียน และปวด ซึ่งการส่องกล้องนั้นจะมีความแม่นยำมากกว่าการเอกซเรย์ระบบทางเดินอาหาร ในการตรวจหาการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น มะเร็ง เป็นต้น

  1.  ใช้เพื่อรักษาอาการต่างๆ

การส่องกล้องใช้ในการรักษาปัญหาทางเดินอาหาร หากพบความผิดปกติบางอย่างในระหว่างหัตถการ มักจะสามารถรักษาพร้อมกันได้ แพทย์จะสามารถใช้เครื่องมือพิเศษผ่านกล้องเอนโดสโคปเพื่อรักษาปัญหาในระบบย่อยอาหารของผู้ป่วย เช่น การนำสิ่งแปลกปลอมออก การขยายหลอดอาหารให้กว้างขึ้น หรือการตัดติ่งเนื้อออก

  1. ปลอดภัย

ถือเป็นหนึ่งในหัตถการทางการแพทย์ที่ปลอดภัย และมีความเสี่ยงต่ำ

  1. รวดเร็ว

การส่องกล้องส่วนบนใช้เวลาประมาณ 20 นาทีเท่านั้น จากนั้นคุณจะต้องนอนนิ่งเพื่อรอดูอาการสัก 2 ชั่วโมง จึงจะให้ญาติพากลับบ้านได้ 

  1. ลดการเจ็บปวด

โดยปกติขั้นตอนการส่องกล้องจะไม่เจ็บปวด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่สบายตัว เนื่องจากมีการใส่ท่อลงไปในทางเดินอาหาร

 

อาการผิดปกติที่ควรส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร

  1. เริ่มมีอาการปวดท้องครั้งแรกในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป

  2. มีอาการปวดท้อง ร่วมกับภาวะหนึ่งต่อไปนี้

  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

  • รับประทานยาลดกรดต่อเนื่อง 2-4 สัปดาห์ อาการยังไม่หายสนิท

  • ท้องอืด แน่นท้อง ท้องโต หรือคลำก้อนได้ในท้อง

  1. ปัญหาด้านการกลืน เช่น กลืนลำบาก กลืนแล้วเจ็บ

  2. อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือดสีแดงหรือดำ

  3. คลื่นไส้อาเจียนเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ

  4. ท้องเสียเรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ

  5. อาการกรดไหลย้อน ที่รับประทานยารักษาต่อเนื่อง แต่อาการไม่หายสนิท

  6. ผู้ป่วยโรคตับแข็ง ที่มีแรงดันเส้นเลือดในช่องท้องสูง


การส่องกล้องทางเดินอาหาร

การส่องกล้องทางเดินอาหารมี 2 ชนิด


1. การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper GI Endoscopy)

จะใช้เพื่อตรวจหาความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ตั้งแต่หลอดอาหารลงไป กระเพาะอาหารถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนมากเพื่อหาสาเหตุอาการโรคกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน การกลืนลำบาก ปวดท้องเรื้อรัง ตรวจหาแผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในช่องท้อง หรือหาเนื้องอก

วิธีตรวจส่องกล้อง: แพทย์จะใช้กล้องเอ็นโดสโคป ที่มีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็ก ยืดหยุ่นโค้งงอได้ มีเลนส์กล้องและแสงไฟที่ปลายท่อ สอดเข้าไปทางปากผ่านทางหลอดอาหาร และลงไปยังกระเพาะอาหาร ซึ่งจะทำให้เห็นความผิดปกติที่เกิดในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น

ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวอย่างไร?

  1. อดอาหาร และน้ำ ล่วงหน้าก่อนเข้ารับการส่องกล้อง  6 - 8 ชั่วโมง
  2. งดทานยาบางชนิดตามที่แพทย์แจ้ง ก่อนเข้ารับการตรวจ 7-10 วัน เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด อย่างแอสไพริน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกในกระเพาะระหว่างส่องกล้อง  ทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์
  3. กระบวนการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 20 นาที แต่ทั้งนี้ผู้ตรวจไม่ควรขับรถกลับบ้านเองหลังจากทำการส่องกล้อง เพราะยาระงับความรู้สึกหรือยาชาเฉพาะจุดที่ได้รับระหว่างการตรวจส่องกล้องอาจมีผลให้อ่อนเพลีย ง่วงนอน หรือมึนงงหลังการตรวจอีกสักพัก จึงควรพักผ่อนมาก ๆ และมีญาติรับกลับบ้าน

       

2. การตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

เป็นการตรวจเพื่อหาสาเหตุของความผิดปกติของผนังลำไส้ และสามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติบางชนิดออกได้โดยไม่ต้องผ่าตัดทางช่องท้อง หรือเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อมาตรวจวินิจฉัยเนื้อร้าย ผู้ที่ควรส่องกล้องลำไส้ใหญ่มักจะมีอาการเสี่ยงของมะเร็งลำไส้, ติ่งเนื้อในลำไส้ หรือลำไส้อักเสบเรื้อรัง เช่น ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง ถ่ายเป็นเลือด อุจจาระลีบเล็ก ปวดท้อง ท้องอืด

วิธีตรวจส่องกล้อง: แพทย์อาจให้ยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและง่วง แล้วจึงใช้กล้อง Colonoscope กล้องเป็นท่อขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซ็นติเมตร ความยาวประมาณ 150 เซนติเมตร ยืดหยุ่น โค้งงอได้ สอดกล้องเข้าทางทวารหนักอย่างช้า ๆ เข้าไปถึงส่วนของลำไส้ใหญ่ตอนต้น เพื่อให้เห็นภาพผนังภายในลำไส้ใหญ่และมองหาความผิดปกติของเนื้อเยื่อหรือติ่งเนื้อที่ผิดปกติ

ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวอย่างไร?

ก่อนเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ จำเป็นต้องทำความสะอาดลำไส้ใหญ่เพื่อให้แพทย์เห็นภาพได้ชัดเจนที่สุด โดยการถ่ายท้องให้ลำไส้สะอาด ส่วนใหญ่จะใช้วิธีดื่มของเหลวที่ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานและถ่ายท้อง หรือบางรายอาจใช้วิธีการสวนล้างลำไส้ กระบวนการนี้จะทำในคืนก่อนเข้ารับการตรวจส่องกล้อง

  1. งดกินยาบางประเภทตามที่แพทย์สั่ง ก่อนถึงวันเข้ารับการส่องกล้อง
  2. ก่อนวันนัดตรวจ 1 วัน ควรทานแต่อาหารเหลวที่ไม่มีกากใย เช่น ซุป อาหารอ่อน หรือโจ๊ก หรือน้ำผลไม้ชนิดใส
  3. หลังการตรวจส่องกล้อง ผู้ป่วยควรนอนพักนิ่ง ๆ 2 ชั่วโมงก่อนกลับบ้าน เพื่อสังเกตอาการ อาจมีอาการอึดอัดท้อง ท้องอืด เนื่องจากมีลม อาการจะทุเลาลงหลังการตรวจ และไม่ควรขับรถกลับบ้านเอง ควรมีญาติพากลับบ้าน เนื่องจากการได้รับยาระงับความรู้สึก หรือยานอนหลับ

 

ขั้นตอนที่ยุ่งยากที่สุดคือการเตรียมตัวของคนไข้ก่อนการส่องกล้อง คนไข้ต้องเคลียร์สำไส้ให้พร้อมด้วยการรับประทานยาระบาย ซึ่งอาจจะทำให้ถ่ายเหลว 6-8 ครั้ง และงดทานยาบางชนิดตามที่แพทย์แจ้งก่อนเข้ารับการตรวจ 7-10 วัน  ก่อนทำการส่องกล้องคนไข้จะได้รับการฉีดยานอนหลับและยาลดอาการปวด เพื่อลดความรู้สึกตึงแน่นในท้องจากการเป่าลมเข้าไปเพื่อให้ลำไส้ขยายตัวออกเหมือนลูกโป่งที่พองตัว แพทย์จะได้เห็นความผิดปกติภายในได้อย่างละเอียด ใช้ระยะเวลาในการทำโดยเฉลี่ย 60 นาที และกรณีพบติ่งเนื้องอกขนาดเล็ก แพทย์ยังมีเครื่องมือในการตัดติ่งเนื้อออกเพื่อการรักษาได้ในเวลาเดียวกัน โดยจะใช้เวลาเพิ่มเติมไม่เกิน 2-3 นาที การตัดติ่งเนื้อนี้ไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บเพิ่มเติมแต่อย่างใด

 

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่1. ส่องกล้องใช้เวลานานไหม

ตอบ: ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 20 นาที

คำถามที่2. ส่องกล้องแล้วรู้ผลเลยไหม

คำถามที่ สามารถฟังผลการส่องกล้องได้ภายในวันที่มารับการส่องกล้อง

คำถามที่3. ส่องกล้องเจ็บไหม

ตอบ: คนไข้จะไม่รู้สึกเจ็บ แต่จะรู้สึกไม่สบายตัว ทางแพทย์จะให้ยาเพื่อคลายความกังวล

คำถามที่4. ส่องกล้องเตรียมตัวอย่างไร

ตอบ: ทำความสะอาดลำไส้ โดยการถ่ายท้องเพื่อให้ง่ายต่อการตรวจ

 

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับโรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ผ่าตัดมะเร็งปอด

การผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแผลเล็ก ปวดแผลน้อยกว่าผ่าปกติ ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด นอนโรงพยาบาลในระยะเวลาที่สั้น และยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ผ่าตัดมะเร็งปอด

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแบบไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ผ่าตัดมะเร็งปอด

การผ่าตัดปอดโดยวิธีการส่องกล้องแผลเล็ก ปวดแผลน้อยกว่าผ่าปกติ ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด นอนโรงพยาบาลในระยะเวลาที่สั้น และยังสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าอีกด้วย ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ผ่าตัดมะเร็งปอด

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคมะเร็งปอด สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอด

โรคมะเร็งปอดยังคงเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตที่สูงที่สุดของมะเร็ง สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอดกลีบที่มีมะเร็งออกไปทั้งกลีบ

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคมะเร็งปอด สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอด

โรคมะเร็งปอดยังคงเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตที่สูงที่สุดของมะเร็ง สามารถได้รับการรักษาให้หายขาดด้วยการผ่าตัดส่องกล้องตัดปอดกลีบที่มีมะเร็งออกไปทั้งกลีบ

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PM 2.5 ทำพิษ..เเต่สามารถผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กได้

ในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดปอดสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก และสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดอีกต่อไป

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
PM 2.5 ทำพิษ..เเต่สามารถผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กได้

ในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดปอดสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กมาก และสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดอีกต่อไป

รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ รศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม