Header

PM 2.5 ทำพิษ..เเต่สามารถผ่าตัดปอดโดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กได้

นพ.ศิระ เลาหทัย โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย

PM 2.5 ทำพิษ เเต่สามารถผ่าตัดปอด โดยวิธีส่องกล้องแผลเล็กได้

หมดกังวลเมื่อต้องผ่าตัดปอด

ในภาวะปัจจุบันการบริหารจัดการเรื่องฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหามลภาวะเป็นพิษในระดับประเทศ ซึ่งประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาทางสังคมไม่ด้อยไปกว่าการสูบบุหรี่ หรือสูบบุหรี่ไฟฟ้าเลย ส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ โดยเฉพาะมีผู้ป่วยเป็นภาวะโรคทางปอดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นโรคปอดติดเชื้อ ไอเรื้อรัง หอบหืด หรือมะเร็งปอด พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยโรคปอดต้องได้รับการผ่าตัดเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

 

สำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดปอด มักเกิดความวิตกกังวลว่าจะหายใจได้มั้ย ปอดจะสร้างใหม่ได้ หรือไม่ และแผลที่ผ่าตัดจะเจ็บมากมั้ย ซึ่งในปัจจุบันวิธีการผ่าตัดปอดสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้อง ทำให้แผลมีขนาดเล็กมากและสามารถลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นไม่ต้องกังวลกับการผ่าตัดอีกต่อไป โดยก้อนในปอด หรือจุดที่ปอดเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยจากการตรวจเช็กสุขภาพร่างกาย เนื่องจากปอดมีเนื้อที่ขนาดใหญ่ ดังนั้นเวลาเกิดจุดเล็ก ๆ หรือใหญ่ขึ้นมา ผู้ป่วยมักจะไม่มีการแสดงอาการ โดยจุดที่ปอดนั้นอาจเป็นได้ทั้งเนื้องอกชนิดที่ไม่เป็นมะเร็ง และเป็นมะเร็งปอด หรือโรค วัณโรค ซึ่งหลักการพิจารณาผ่าตัดปอดเป็นหนึ่งในการรักษาและสามารถวินิจฉัยโรคได้ โดยการผ่าตัดปอด ผู้ป่วยจะได้รับการผ่าตัดก้อนออกโดยการดมยาสลบ โดยวิธีการผ่าตัดปอดนั้นจะตัดออกแค่ก้อน หรือทั้งกลีบ ขึ้นกับชนิดของก้อนเนื้อและตัวโรคตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา

 

ความเสี่ยงของการผ่าตัดปอดเมื่อผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการผ่าตัดปอด คำถามที่ถูกถามเสมอคือความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการผ่าตัดโดยความเชื่อที่ว่าหลังจากผ่าแล้วจะหายใจได้ หรือไม่ สาเหตุเนื่องจากปอดเป็นอวัยวะสำคัญหลักที่ทำหน้าที่หายใจ โดยปอดประกอบด้วยถุงลมปริมาณหลายล้านถุงลม การที่เราตัดปอดบางส่วนมักไม่มีผลกระทบต่อการหายใจ แต่อย่างไรก็ตามก่อนผ่าตัดทุกครั้งควรต้องมีการประเมินสมรรถภาพปอด (Pulmonary function test) เพื่อทดสอบว่าเราสามารถทนการตัดปอดได้มากน้อยขนาดไหน

 

สำหรับภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ภาวะเลือดออกจากแผลผ่าตัด การติดเชื้อของแผลผ่าตัด และความเสี่ยงจากการดมยาสลบนั้นพบได้น้อยมาก โดยอัตราการเกิดไม่ต่างจากการผ่าตัดด้วยการดมยาสลบชนิดอื่น ๆ และการเตรียมผู้ป่วยโดยการตรวจร่างกาย และสุขภาพก่อนเข้ารับการผ่าตัดจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้

 

ภายหลังการผ่าตัด ทำไมจึงควรงดกิจกรรมเดินทางด้วยเครื่องบิน หรือกิจกรรมดำน้ำลึก ทั้งนี้เนื่องจากการผ่าตัดปอด มักจะมีร่องรอยแผลบริเวณผิวของปอดได้ การที่เราขึ้นเครื่องบิน หรือดำน้ำลึก จะมีผลต่อความดันในช่องอก ทำให้อาจเกิดรอยปริบริเวณผิวที่ได้รับการผ่าตัดปอด ดังนั้น เราควรหลีกเลี่ยงการขึ้นเครื่องบินหรือดำน้ำลึกเป็นเวลา 1 เดือนหลังจากการผ่าตัดปอด

 

ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้ชำนาญการ ศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ กล่าวถึงการพัฒนาของเทคนิคการผ่าตัดปอดปัจจุบันว่า การผ่าตัดนั้นมีหลากหลายแบบ ถึงแม้หลักการจะคล้าย ๆ กัน แต่อุปกรณ์ที่ใช้ หรือเทคนิคในการผ่าตัดมีความแตกต่างกัน  การผ่าตัดแบบเปิดมักจะใช้เครื่องขนาดที่มือจับได้ มีบาดแผลขนาดใหญ่ ต้องใช้เครื่องไปถ่างขยายแผลบริเวณซี่โครงเพื่อเข้าไปทำการผ่าตัดปอด แต่การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ศัลยแพทย์จะมีแต่เครื่องมือที่ใส่เข้าไประหว่างช่องซี่โครงแทนขอบเขตการให้บริการการผ่าตัดผ่านกล้องหรือที่เรียกว่า Video assisted thoracoscopic surgery (VATS)

 

ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ถึงแม้การผ่าตัดส่องกล้องปอดค่อนข้างมีความหลากหลาย เทคนิคเริ่มตั้งแต่การผ่าตัดแบบ 3 - 4 จุด จนมาถึงปัจจุบันที่มีการทำผ่าตัดส่องกล้องปอดโดยเทคโนโลยีขั้นสูงแบบจุดเดียว หรือที่เรียกว่า Uniportal video assisted thoracoscopic surgery คือการผ่าตัดผ่านกล้อง ขนาด 3.5 เซนติเมตรแบบจุดเดียว โดยอุปกรณ์ทั้งหมดจะเข้าไปอยู่ในช่องเดียว และมองผ่านทางจอวีดีทัศน์ขณะทำการผ่าตัด โดยเป้าหมายนี้ทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเจาะผ่านหลายจุด และทำลายเนื้อเยื่อร่างกายให้น้อยที่สุด ซึ่งจะให้ผู้ป่วยไม่ต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน สำหรับผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัดปอดหรือพบเจอก้อนที่ปอด 


บทความโดย : ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย (แผนกศัลยกรรม)

#ไม่ต้องห่วงให้เราช่วยดูแล



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง (MIS)

ศูนย์ผ่าตัดส่องกล้อง (MIS)

สถานที่

อาคาร B ชั้น 4

เวลาทำการ

24 ชั่วโมง

เบอร์ติดต่อ

แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกศัลยกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4110

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกศัลยกรรม

แผนกศัลยกรรม

แผนกศัลยกรรม

นพ.รณชัย บุพพันเหรัญ

ศัลยศาสตร์หลอดเลือด

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ดูดไขมันเฉพาะส่วน กำจัดส่วนเกิน พร้อมอวดหุ่นเป๊ะ

การดูดไขมันเป็นวิธีกำจัดไขมันที่รวดเร็ว ช่วยแก้ปัญหารูปร่างให้เข้าที่ เสริมสร้างบุคลิกภาพ เพิ่มความมั่นใจในการแต่งตัว

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดูดไขมันเฉพาะส่วน กำจัดส่วนเกิน พร้อมอวดหุ่นเป๊ะ

การดูดไขมันเป็นวิธีกำจัดไขมันที่รวดเร็ว ช่วยแก้ปัญหารูปร่างให้เข้าที่ เสริมสร้างบุคลิกภาพ เพิ่มความมั่นใจในการแต่งตัว

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และลดการติดเชื้อหลังผ่าตัด

ในผู้สูงอายุมักมีอาการข้อเข่าเสื่อม ทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ ต้องได้รับการรักษาวิธีหนึ่ง คือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งมีความเสี่ยงในเรื่องของการติดเชื้อ ดังนั้นผู้ป่วยต้องเตรียมตัวก่อนการรักษา และดูแลหลังการรักษาให้ถูกต้อง

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และลดการติดเชื้อหลังผ่าตัด

ในผู้สูงอายุมักมีอาการข้อเข่าเสื่อม ทำให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ ต้องได้รับการรักษาวิธีหนึ่ง คือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งมีความเสี่ยงในเรื่องของการติดเชื้อ ดังนั้นผู้ป่วยต้องเตรียมตัวก่อนการรักษา และดูแลหลังการรักษาให้ถูกต้อง

นพ.กุลพัชร จุลสำลี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ ผศ.นพ.กุลพัชร จุลสำลี

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

30 มกราคม 2567

ผ่าตัดหมอนรองกระดูก-ส่องกล้อง Endoscope Discectomy

หากต้องการทำการผ่าตัดที่บริเวณกระดูกสันหลังนั้น แพทย์มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดแผลใหญ่เพื่อทำการรักษา ปัจจุบันมีการพัฒนาการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ทำให้การผ่าตัดอวัยวะที่อยู่ลึกสามารถทำได้อย่างสะดวก ชัดเจน ปลอดภัย

blank ผศ.นพ. ปิลันทน์ ใจปัญญา หมอกระดูก ผู้ชำนาญการพิเศษด้านกระดูกสันหลัง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

30 มกราคม 2567

ผ่าตัดหมอนรองกระดูก-ส่องกล้อง Endoscope Discectomy

หากต้องการทำการผ่าตัดที่บริเวณกระดูกสันหลังนั้น แพทย์มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดแผลใหญ่เพื่อทำการรักษา ปัจจุบันมีการพัฒนาการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ทำให้การผ่าตัดอวัยวะที่อยู่ลึกสามารถทำได้อย่างสะดวก ชัดเจน ปลอดภัย

blank ผศ.นพ. ปิลันทน์ ใจปัญญา หมอกระดูก ผู้ชำนาญการพิเศษด้านกระดูกสันหลัง

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม