Header

มะเร็งเต้านม โรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง และวิธีป้องกัน

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

มะเร็งเต้านม | โรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิง | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ผู้หญิงนั้นมีความน่ากังวลเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงโรคภัยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือโรคมะเร็ง ซึ่งโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิงเป็นอันดับหนึ่งเลย ยังไงก็หนีไม่พ้น “มะเร็งเต้านม” นั่นเอง

"ทำความรู้จักกับมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในผู้หญิง พร้อมข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับอาการและวิธีการป้องกัน"

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม

  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 50 ปี
  • ผู้หญิงที่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
  • ผู้หญิงที่ประจำเดือนหมดหลังอายุ 55 ปี
  • ผู้หญิงที่ไม่เคยตั้งครรภ์
  • ผู้หญิงที่มีบุตรคนแรกตอนอายุมาก
  • ผู้หญิงที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ผู้ที่ใช้ยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่ใช้ฮอร์โมนเสริมหลังวัยหมดประจำเดือนเป็นเวลานาน
  • กรรมพันธุ์ครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม
  • น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน
  • ดื่มแอลกอฮอลล์
  • สูบบุหรี่
  • ขาดการออกกำลังกาย

“มะเร็งเต้านม” ขึ้นชื่อว่าเป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้หญิงเป็นอันดับหนึ่ง ด้วยสถิตินี้ ผู้หญิงเราจึงควรตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอเพื่อหาความผิดปกติตั้งแต่แรกเริ่ม หรือหากพบสิ่งผิดปกติ ก็จะได้สามารถทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที ป้องกันการเกิดมะเร็งระยะลุกลาม โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในผู้หญิง โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

1. วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

ท่าทางการตรวจ

  • ท่านอนราบ : นอนราบในท่าสบาย ใช้ผ้าขนหนูม้วนหรือใช้หมอนรองที่บริเวณหลังและไหล่ข้างที่จะตรวจ ยกแขนข้างที่จะตรวจขึ้นเหนือศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างคลำให้ทั่วบริเวณเต้านมและรักแร้
  • ท่ายืนหน้ากระจก
    • ปล่อยแขนไว้ข้างลำตัวตามสบาย สังเกตเปรียบเทียบเต้านมทั้ง 2 ข้าง
    • ยกแขนขึ้น 2 ข้างประสานกันเหนือศีรษะ สังเกตรอยดึงรั้ง หรือรอยบุ๋ม
    • มือท้าวเอวแล้วโน้มตัวไปข้างหน้า

 

ทิศทางการคลำ

  • คลำแบบก้นหอยหรือแบบตามเข็มนาฬิกา : คลำจากบริเวณหัวนม วนออกตามเข็มนาฬิกา ไปจนถึงบริเวณรักแร้
  • คลำแบบแนวนอนขึ้นลงขนานกับลำตัว : คลำโดยใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง คลำสลับขึ้นลงไปมาทีละแถว ให้ทั่วทั้งเต้านม
  • คลำแบบรัศมีรอบเต้านมหรือคลำแนวคลื่น : เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมเข้าหาฐานหัวนม และทำซ้ำเป็นรัศมีรอบเต้านม
  • ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการตรวจ คือ 7 วันก่อนและหลังมีประจำเดือน
  • อาการผิดปกติ
    • มีน้ำเหลืองหรือมีเลือดไหลออกมา
    • คลำได้ก้อนเป็นไตแข็งผิดปกติ

 

2. การอัลตราซาวด์เต้านม (Breast Ultrasound)

การตรวจอัลตราซาวด์เป็นการใช้คลื่นความถี่สูงในการตรวจหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งจะตรวจจับความแตกต่างของเนื้อเยื่อ ทำให้สามารถแยกเนื้อเยื่อเต้านมปกติกับก้อนในเต้านมได้ เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถกำหนดแผนการรักษาให้ง่ายขึ้น

จุดเด่นของการตรวจเต้านมด้วยการอัลตราซาวด์

  • สามารถบอกได้ว่าก้อนที่พบในเนื้อเต้านมนั้นมีองค์ประกอบเป็นน้ำหรือเป็นก้อนเนื้อ
  • หากตรวจพบว่ามีก้อนเนื้อ สามารถบอกได้ว่าก้อนเนื้อนั้นมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
  • เหมาะสำหรับคนอายุน้อย
  • กรณีที่มีการเสริมหน้าอกมา หากแผลหายแล้วก็สามารถทำการอัลตร้าซาวด์ได้ตามปกติ

 

ข้อจำกัดของการตรวจเต้านมด้วยการอัลตราซาวด์

  • ประสิทธิภาพในการตรวจหาหินปูนด้วยวิธีการอัลตร้าซาวด์จะไม่ดีเท่าการตรวจเมมโมแกรม

วิธีการตรวจเต้านมด้วยตัวเองเพื่อหามะเร็งเต้านม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

3. การตรวจเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลเมมโมแกรม (Digital Mammogram)

การตรวจเมมโมแกรมเป็นการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษคล้ายกับการตรวจเอ็กซเรย์ แต่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าการเอ็กซเรย์ทั่วไป 30 – 60 % มีความสามารถในการตรวจที่ละเอียดกว่ามาก

จุดเด่นของการตรวจเต้านมด้วยการตรวจเมมโมแกรม

  • สามารถตรวจหาเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ รวมถึงหินปูนตั้งแต่ขนาด 0.1 – 1 ซม. ที่คลำหรืออัลตราซาวด์แล้วไม่พบได้อย่างละเอียดชัดเจน ทำให้สามารถค้นพบมะเร็งระยะเริ่มแรกได้อย่างรวดเร็ว
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อเยื่อเต้านมที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจดูกลมกลืนกับเนื้อร้าย ทำให้ยิ่งค้นพบได้รวดเร็ว อีกทั้งยังปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อเต้านม
  • สามารถปรับความคมชัดของฟิล์มได้โดยที่ไม่ต้องถ่ายซ้ำใหม่ ทำให้สามารถลดอัตราการกลับมาทำ และรับรังสีซ้ำ
  • กรณีที่มีการเสริมหน้าอกมา ควรแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่ทุกครั้งเพื่อการตรวจที่เหมาะสม

ถึงแม้ว่าการตรวจแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ จะมีข้อดีกันคนละอย่าง การตรวจแบบใดแบบหนึ่งอาจได้ประโยชน์มากกว่าในบางด้าน อย่างไรก็ตามการตรวจทั้งสองแบบจะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคให้ดียิ่งขึ้น

วิธีการตรวจเต้านมด้วยตัวเองเพื่อหามะเร็งเต้านม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ

ศูนย์มะเร็ง

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

อังคาร - ศุกร์ - เสาร์ - อาทิตย์ 08.00 - 20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรค NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรค NCDs โรคที่เกิดจากพฤติกรรม

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลก และของประเทศไทย และเป็นสาเหตุของ การเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมะเร็งเต้านม อาการที่ผู้ชายก็มีความเสี่ยงเป็นได้ รู้จักและป้องกันตัวเองจากมะเร็ง

มะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายที่พบในเพศหญิงมากเป็นอันดับ 1 แต่แท้จริงแล้วในเพศชายก็มีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมเช่นกัน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมะเร็งเต้านม อาการที่ผู้ชายก็มีความเสี่ยงเป็นได้ รู้จักและป้องกันตัวเองจากมะเร็ง

มะเร็งเต้านมเป็นโรคร้ายที่พบในเพศหญิงมากเป็นอันดับ 1 แต่แท้จริงแล้วในเพศชายก็มีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมเช่นกัน

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย

ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก โรคมะเร็งจึงถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศ

พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งที่พบบ่อยในคนไทย

ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก โรคมะเร็งจึงถือเป็นปัญหาสาธารณสุขของทุกประเทศ

พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พญ.สุกัญญา ศกศวัตเมฆินทร์

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม