Header

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การตรวจสุขภาพประจำปี อาจถูกหลายคนมองข้ามถึงความสำคัญ เพราะคิดว่าร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี อีกทั้งไม่แสดงถึงอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติใด ๆ  แต่ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา เพื่อเตรียมการรับมือในการรักษาแต่เนิ่น ๆ อีกทั้งยังช่วยลดความรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังเป็นการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการรักษาอีกด้วย ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปีกันค่ะ

 

การตรวจสุขภาพประจำปี คืออะไร?

การตรวจทั่ว ๆ ไปในผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติ เพื่อตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคที่อาจแฝงอยู่ในร่างกาย แต่ไม่แสดงอาการออกมา หรือตรวจเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังนั้นการตรวจประจำปีจึงมีประโยชน์ทั้งกับผู้ที่เข้ารับการตรวจ เพราะช่วยให้รับมือกับโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

 

การตรวจสุขภาพประจำปีต้องตรวจกี่ครั้ง?

สำหรับการตรวจสุขภาพประจำปีต้องตรวจอะไรบ้าง หรือความถี่ในการตรวจนั้นขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพโดยรวม ประวัติครอบครัว และรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละคน โดยปกติโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีเบื้องต้นจะแบ่งตามเพศและอายุ โดยแพทย์แนะนำให้ตรวจทุก 1 ปี และสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษอาจจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจที่บ่อยขึ้น

 

การตรวจสุขภาพเบื้องต้นมีอะไรบ้าง?

การตรวจสุขภาพเบื้องต้นที่สามารถตรวจเบื้องต้นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงของกลุ่มคนวัยทำงานขึ้นไปจนถึงผู้สูงอายุ

  • การตรวจร่างกายทั่วไป เป็นการตรวจร่างกายพื้นฐาน โดยแพทย์จะสอบถามประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว รวมถึงประวัติอาการต่าง ๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ประวัติการแพ้ยา และพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ร่วมกับการตรวจร่างกายเบื้องต้น เช่น การตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจหาดัชนีมวลกาย และการตรวจร่างกายเบื้องต้นโดยแพทย์ เพื่อให้แพทย์สามารถแยกโรคต่าง ๆ ได้ในเบื้องต้น
  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบของเลือด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด การประเมินความเข้มข้นของเลือด เพื่อบอกถึงสภาวะผิดปกติ เช่น ภาวะโลหิตจาง ภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย จำนวนเกล็ดเลือด และความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FPG) และค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคเบาหวาน
  • การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด เพื่อตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ รวมถึงไขมันชนิดดีและไม่ดี เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
  • การตรวจวัดระดับกรดยูริก เป็นการตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์
  • การตรวจวัดการทำงานของไต โดยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับค่าครีเอตินิน ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกล้ามเนื้อ และค่า Blood Urea Nitrogen (BUN) ซึ่งเป็นค่าของเสียที่เกิดจากการย่อยสลายโปรตีน เพื่อประเมินความสามารถในการขับของเสียของไต
  • การตรวจวัดการทำงานของตับ เป็นการตรวจเพื่อหาภาวะตับอักเสบ ตับเสื่อมสภาพ ภาวะดีซ่าน โดยการตรวจหาเอ็นไซม์และสารต่าง ๆ เพื่อตรวจดูความผิดปกติของตับ และทางเดินน้ำดี
  • การตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยตรวจวัดจากระดับฮอร์โมนในเลือด เพื่อตรวจสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ว่าทำงานได้อย่างปกติหรือไม่
  • การตรวจไวรัสตับอักเสบ ไวรัสตับอักเสบบีสามารถตรวจคัดกรองจากการติดเชื้อเบื้องต้นได้จากส่วนประกอบของเชื้อ HBsAg และการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HBsAb ส่วนไวรัสตับอักเสบซี สามารถตรวจคัดกรองการติดเชื้อเบื้องต้นได้จาก Anti-HCV
  • การตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง อาทิ การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งทางเดินอาหาร (CEA) การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ และตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเพศชายทุกช่วงวัย
  • การตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคเบาหวาน
  • การตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารเบื้องต้น ได้แก่ ภาวะการอักเสบติดเชื้อในลำไส้ พยาธิ รวมถึงการตรวจหาภาวะเลือดปนในอุจจาระ ซึ่งอาจเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ริดสีดวงทวาร รวมไปถึงโรคมะเร็งทางเดินอาหาร
  • การตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เป็นการตรวจเพื่อช่วยประเมินการทำงานของหัวใจในขณะพัก เพื่อดูความผิดปกติของการทำงานของหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ การนำไฟฟ้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • การเอกซเรย์ปอด เป็นการตรวจเพื่อดูความผิดปกติในทรวงอก เช่น ขนาดของหัวใจ วัณโรค และโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ภายในปอด
  • การตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้อง เป็นการตรวจเพื่อหาความผิดปกติของอวัยวะที่สำคัญในช่องท้อง เช่น ตับ ไต ตับอ่อน ม้าม เส้นเลือดใหญ่ที่อยู่ภายในช่องท้อง รวมถึงมดลูกและรังไข่ในผู้หญิง และต่อมลูกหมากในผู้ชาย

 

การตรวจวัดความสามารถในการมองเห็นและความดันของลูกตา เป็นการตรวจสุขภาพตาทั่วไป และค้นหาความเสี่ยงของภาวะต้อ

 

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตาบอดสี

“ตา” เป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ภาวะ “ตาบอดสี” จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เพราะทำให้มองเห็นสีแตกต่างจากผู้อื่น

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตาบอดสี

“ตา” เป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ภาวะ “ตาบอดสี” จึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต เพราะทำให้มองเห็นสีแตกต่างจากผู้อื่น

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
6 ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยง

สถานการณ์การกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อหรือการแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ตัว เรามีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูและตัวเองและสังคมได้ ดังนี้

6 ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยง

สถานการณ์การกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อหรือการแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ตัว เรามีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูและตัวเองและสังคมได้ ดังนี้

สัญญานของวัยทอง

ประจำเดือนมาน้อยวันและไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน บางคนมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
สัญญานของวัยทอง

ประจำเดือนมาน้อยวันและไม่สม่ำเสมอ ร้อนวูบวาบตามร่างกายโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย เหนื่อยง่าย ใจสั่นมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน บางคนมีอาการหนาวสั่นโดยไม่มีสาเหตุ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม