Header

ประโยชน์ของการตรวจ Sleep Test

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน (ประมาณ 8 ชั่วโมง) อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เราไม่รับรู้อะไรมากที่สุด

ซึ่งถ้าหากในช่วงการนอนของเรานั้น ไม่มีประสิทธิภาพ หรือถึงขั้นมีปัญหาเรื่องของนอน เช่น การหยุดหายใจชั่วขณะ การตื่นมาแล้วไม่สดชื่นปวดหัว หากปล่อยไว้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่คอยบั่นทอนสุขภาพ

การตรวจ Sleep Test จะวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน (Standard Investigation) ที่ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของโรค

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea; OSA) ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางเลือกในการรักษา เช่น อาจใช้ในการตั้งค่าความดันลม (Pressure Titration) ในกรณีที่รักษาโรคด้วยเครื่องเป่าความดันลมบวกเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ (Continuous positive airway pressure; CPAP), การปรับระดับของเครื่องมือในช่องปาก (Oral Appliances)

นอกจากนี้ยังใช้พิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจและใช้ติดตามผลการรักษา ตลอดจนช่วยในการวินิจฉัยโรคความผิดปรกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนอนได้อีกด้วยการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) คืออะไร?

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) คือ การตรวจเพื่อสังเกตและวัดการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายขณะนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระดับออกซิเจนในเลือด และกล้ามเนื้อ และเพื่อตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติของการนอนหลับ เช่น การนอนกรนและหยุดหายใจชั่วขณะหลับ อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย โรคของหลอดเลือดในสมอง ความจำเสื่อม ตลอดจนสมรรถภาพทางเพศเสื่อมลงได้ อีกทั้งการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) ยังประเมินความรุนแรงของโรคได้ เช่น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ การกระตุกของกล้ามเนื้อต่าง ๆ โดยข้อมูลที่ได้จะนำมาพิจารณาเพื่อวางแผนและติดตามการรักษาให้ถูกต้อง

ใครควรเข้ารับการตรวจการนอนหลับ

  • ผู้ที่นอนกรนดังผิดปกติ
  • ผู้ที่ง่วงนอนตอนกลางวันมากผิดปกติ
  • ผู้ที่ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ตื่นมาแล้วปวดหัว ทั้ง ๆ ที่ได้นอนอย่างเพียงพอ
  • ผู้ที่หายใจลำบาก และสงสัยว่าจะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ เช่น นอนกัดฟัน ฉี่รดที่นอน นอนละเมอ นอนกระตุก นอนฝันร้าย สะดุ้งตื่นเป็นประจำ เป็นต้น
  • ผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่างๆ เช่น หัวใจวาย ไตวาย ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
  • ผู้ที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีภาวะชักขณะนอนหลับหรือเป็นโรคลมหลับ (Narcolepsy)
  • ผู้เข้ารับการตรวจควรพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคการนอนหลับโดยตรง
  • ผู้เข้ารับการรักษาควรพาคนที่นอนด้วยมาพบกับแพทย์ด้วย เนื่องจากพฤติกรรมบางอย่างผู้ที่นอนด้วยจะสามารถให้รายละเอียดได้ดีกว่าผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ
  • ผู้ที่คิดว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องการนอน ซึ่งสามารถเช็คความเสี่ยงของตัวเองได้จากการปรึกษาแพทย์ หรือผ่านแบบฟอร์มทดสอบของโรงพยาบาพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ประโยชน์ของการตรวจการนอนหลับ (Sleep Test)

การนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งในชีวิต เพราะทุก ๆ วันเราจะมีการนอน ⅓ ของวัน (ประมาณ 8 ชั่วโมง) อีกทั้งยังเป็นช่วงที่เราไม่รับรู้อะไรมากที่สุด ซึ่งถ้าหากในช่วงการนอนของเรานั้น ไม่มีประสิทธิภาพ หรือถึงขั้นมีปัญหาเรื่องของนอน เช่น การหยุดหายใจชั่วขณะ การตื่นมาแล้วไม่สดชื่นปวดหัว หากปล่อยไว้ สิ่งเหล่านี้จะเป็นเหมือนระเบิดเวลาที่คอยบั่นทอนสุขภาพ

การตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) จะวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น เป็นการตรวจที่เป็นมาตรฐาน (Standard Investigation) ที่ใช้ในการวินิจฉัยและประเมินระดับความรุนแรงของโรค ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea; OSA) ซึ่งจะมีผลต่อการวางแผนและการตัดสินใจทางเลือกในการรักษา เช่น อาจใช้ในการตั้งค่าความดันลม (Pressure Titration) ในกรณีที่รักษาโรคด้วยเครื่องเป่าความดันลมบวกเพื่อขยายช่องทางเดินหายใจ (Continuous positive airway pressure; CPAP), การปรับระดับของเครื่องมือในช่องปาก (Oral Appliances) นอกจากนี้ยังใช้พิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดทางเดินหายใจและใช้ติดตามผลการรักษา ตลอดจนช่วยในการวินิจฉัยโรคความผิดปรกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนอนได้อีกด้วย

แบบทดสอบเพื่อเช็คความเสี่ยงด้านการนอนของคุณ : https://princ.wispform.com/00979aed

แบบฟอร์มสั่งจองเครื่อง Sleep Test : https://forms.gle/qZHzQFvDmWCf1NPQ9

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เท้าแบนเจ็บอุ้งเท้าบ่อย อย่าชะล่าใจ เสี่ยงเป็น “ โรคเท้าแบน Flat Feet ” แบบไม่รู้ตัว!

โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet ภัยเงียบสุดอันตราย ที่เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้า และโครงสร้างเส้นเอ็น เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เท้าแบนเจ็บอุ้งเท้าบ่อย อย่าชะล่าใจ เสี่ยงเป็น “ โรคเท้าแบน Flat Feet ” แบบไม่รู้ตัว!

โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet ภัยเงียบสุดอันตราย ที่เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้า และโครงสร้างเส้นเอ็น เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อยู่อย่างไรให้ปลอดภัยจาก PM 2.5

เราจึงเห็นภาวะเหมือนหมอกปกคลุมตลอดทั้งวัน โดยส่วนประกอบที่มีอันตรายส่วนหนึ่งคือ  ฝุ่น  PM 2.5  ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของเรา ไม่มากก็น้อย  ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกับ ฝุ่นประเภทนี้    เพื่อจะได้ดูแลตนเอง และครอบครัว ให้ปลอดภัยจาก ฝุ่น PM 2.5 กันครับ

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคข้อเสื่อม อาการยอดฮิตของผู้สูงวัย

ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อม หากไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่สะดวก

โรคข้อเสื่อม อาการยอดฮิตของผู้สูงวัย

ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อม หากไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่สะดวก