Header

โรคจอประสาทตาเสื่อม

blank บทความโดย : คลินิกจักษุ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดวงตา เป็นอวัยวะสำคัญที่มีบทบาท และมีคุณค่ามากสำหรับเราทุกคน ประมาณกันว่า 70 – 80 % ของสิ่งที่เรารับรู้ การตรวจคัดกรองดวงตาไม่เพียงช่วยให้ค้นพบความผิดปกติของดวงตาในระยะเริ่มแรก แต่ยังช่วยให้ค้นพบโรคเกี่ยวกับดวงตาในขณะที่ยังไม่แสดงอาการ โดยเฉพาะในผู้สูงวัยที่ต้องพบกับโรคจอประสาทตาเสื่อม

โรคประสาทตาเสื่อมคืออะไร ?

โรคศูนย์กลางจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติบริเวณจุดศูนย์กลางการรับภาพของจอประสาทตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นเฉพาะภาพตรงกลาง โดยที่ภาพด้านข้างของการมองเห็นยังดีอยู่ พบมากในผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป ซึ่งโรคนี้เป็นภาวะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ จะทำให้การมองเห็นลดลงจนอาจทำให้ตาบอดได้อย่างรวดเร็วภายใน 2 ปี หากไม่ได้รับการรักษา และหากพบว่าเป็นโรคนี้ในตาข้างหนึ่งข้างใดแล้ว จะมีความเสี่ยงสูงมากกว่า 40%  ที่จะเกิดกับตาอีกข้างหนึ่งภายในระยะเวลา 5 ปี หลังจากที่เคยเป็นในตาข้างแรกแล้ว จอประสาทตาเสื่อมมี 2 ชนิด คือ แบบที่ 1 แบบแห้งหรือแบบเสื่อมช้า  เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุด  โดยเซลล์จอประสาทตาจะค่อย ๆ เสื่อมไปอย่างช้า ๆ การมองเห็นจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น แบบที่ 2  แบบเปียกหรือแบบเร็ว พบร้อยละ 10-15 ของโรคจอประสาทตาเสื่อม โดยจะเกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็วทันที เป็นผลจากจุดกลางรับภาพจอประสาทตาบวม และ / หรือมีเลือดออกที่จอประสาทตา

 

สาเหตุ ของโรคจอประสาทตาเสื่อมคืออะไร ?

มีหลายภาวะที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ เช่น คนที่มีสายตาสั้นมาก ๆ (Degenerative or Pathologic Myopia) หรือโรคติดเชื้อบางชนิด แต่สาเหตุส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุ จึงเชื่อว่าเป็นขบวนการเสื่อมสภาพของร่างกาย (Aging Process) แต่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน มีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านที่ส่งผลต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ (Aged related macular degeneration) ได้แก่

  • อายุ พบโรคนี้ได้บ่อยขึ้นในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
  • พันธุกรรม มีความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของคนที่เป็นโรคกับญาติสายตรง ผู้เกี่ยวข้องควรได้รับการตรวจเช็คจอประสาทตาทุก ๆ 2 ปี
  • เชื้อชาติ / เพศ พบอุบัติการของโรคมากที่สุดในคนผิวขาว (Caucasian) เพศหญิง อายุมากกว่า 60 ปี
  • การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ มีหลักฐานทางการศึกษาพบว่า การดื่มสุรา และสูบบุหรี่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอย่างชัดเจน
  • ความดันเลือดสูง ผู้ป่วยที่ต้องทานยาลดความดันเลือด และมีระดับของไขมัน Cholesterol ในเลือดสูง และระดับ Carotenoid ในเลือดต่ำ มีความเสี่ยงสูงมากต่อการเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมแบบสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว (Wet AMD)
  • วัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับประทานยาฮอร์โมน Estrogen พบว่าอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน
  • การได้รับแสง รังสีอัลตราไวโอเลต และแสงสีฟ้าที่เป็นแสงจากหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอสมาร์ทโฟน เป็นระยะเวลานาน

อาการของโรคประสาทตาเสื่อมเป็นอย่างไร ?

  • ภาพบิดเบี้ยว มองเห็นเส้นตรงเป็นเส้นขาด
  • มองภาพ หรืออ่านหนังสือที่ต้องใช้งานละเอียดยากกว่าปกติ
  • มองไม่เห็นส่วนกลางของภาพ
  • การมองภาพต้องใช้แสงเพิ่มขึ้น มองเห็นลดลง ไม่ตรงกลางเส้น การมองเห็นสีลดลง

การรักษาโรคประสาทตาเสื่อมทำได้อย่างไรบ้าง ?

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่สามารถให้การดูแล รักษา เพื่อหยุด หรือชะลอการดำเนินโรคให้จอประสาทตาเกิดการภาวะเสื่อมช้าที่สุด

  • การรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม ชนิดแห้งปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดแห้งให้หายขาดได้ ทำได้เพียงการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น หรือเพื่อป้องกันไม่ให้กลายเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมชนิดเปียก อีกทั้ง การเสื่อมของจอประสาทตายังดำเนินไปอย่างช้าๆ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ โดยแนะนำให้มาตรวจเช็คสายตา และควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นเพื่อป้องกันการเสื่อมของจอประสาทตา หรืออาจใช้อุปกรณ์ช่วยต่างๆ สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางสายตา
  • การรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อม ชนิดเปียก การฉายแสงเลเซอร์ลงบนจอประสาทตา จะยับยั้งหรือชะลออาการผิดปกติของหลอดเลือดที่ทำให้เกิดเลือดออกใต้จอประสาทตาได้ หรือการใช้ยาฉีดเข้าในน้ำวุ้นตา แม้ว่าจะไม่สามารถทำให้การมองเห็นที่สูญเสียไปกลับคืนมา หรือรักษาโรคให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยคงสภาพการมองเห็นให้เหลือไว้ได้มากกว่าการที่ไม่ได้รับการรักษา

 

ถึงแม้สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด และอาจสัมพันธ์กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ กรรมพันธุ์ ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ แต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่สามารถหลีกเลี่ยง หรือป้องกันได้ อย่างการเข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปี เพื่อประเมินว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมหรือไม่ การตรวจคัดกรองดวงตาจะช่วยให้ทำการรักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่อาการจะรุนแรง และอาจสูญเสียดวงตาไปในที่สุด



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ความหวังใหม่กระจายวัคซีนทั่วถึง ยับยั้งการระบาด ใช้ยาน้อย ภูมิสูงใกล้เคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ในสถานการณ์ที่วัคซีนยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนังจึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ความหวังใหม่กระจายวัคซีนทั่วถึง ยับยั้งการระบาด ใช้ยาน้อย ภูมิสูงใกล้เคียงฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

ในสถานการณ์ที่วัคซีนยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง การฉีดวัคซีนเข้าในชั้นผิวหนังจึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกยกมาพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งก็เกิดคำถามมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เมื่อเทียบกับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ

CT Scan 128 Slices เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

CT Scan 128 Slices เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
CT Scan 128 Slices เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

CT Scan 128 Slices เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

blank กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

เตรียมตัวให้พร้อม ก่อน-หลัง เข้ารับการฉีดวัคซีน Covid-19

blank กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม