Header

เด็กติดเกม

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

เด็กติดเกม เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะช่วงปิดเทอมหรือเรียนออนไลน์ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา เด็กมักจะเล่นเกมเป็นเวลานานและมีโอกาสติดเกมสูงขึ้น เด็กบางคนเล่นเกมจนไม่ยอมนอน ไม่กินข้าวตามเวลา ไม่ทำกิจกรรมกับเพื่อนหรือครอบครัว

ลักษณะของเด็กติดเกม

  1. เล่นเป็นเวลานาน เล่นไม่รู้จักเวลา ไม่สามารถควบคุมตนเองให้เล่นในเวลาที่กำหนดได้ หมกมุ่นอยู่กับการเล่นเกมจนรบกวนกิจกรรมอื่นในชีวิตประจำวัน
  2. มีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว อาละวาด ทำลายข้าวของ กระวนกระวาย กระสับกระส่าย วิตกกังวลหรือซึมเศร้า หากไม่ได้เล่นเกม
  3. มีความต้องการที่จะเล่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ใช้เวลาในการเล่นนานขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกอยากเล่นเกมตลอดเวลา
  4. หยุดหรือลดการเล่นเกมได้ยาก
  5. แยกตัว ไม่ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวหรือสังคม สูญเสียความสนใจในงานอดิเรกที่เคยทำหรือนันทนาการอื่นๆ
  6. เล่นเกมมากต่อเนื่อง แม้ทราบว่ามีผลกระทบ
  7. หลอกพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือผู้บำบัดรักษาเกี่ยวกับการเล่นเกม
  8. เล่นเกมเพื่อหลีกหนีความรู้สึกผิด หมดหนทางหรือวิตกกังวล
  9. มีผลกระทบต่อการเรียน การทำงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบ มีพฤติกรรมที่ไม่ดีเพื่อให้ได้เล่นเกม เช่น ขโมยเงิน โกหก ทะเลาะกับคนรอบข้าง
     

สาเหตุที่เด็กติดเกม

เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน

  1. มีการศึกษาพบว่าคนที่ติดเกมจะมีวงจรการทำงานของสมองที่ผิดปกติเหมือนคนที่ติดสารเสพติด
  2. โรคทางจิตเวช ได้แก่ โรคสมาธิสั้น โรคบกพร่องในทักษะการเรียน (LD) โรคดื้อต่อต้าน/เกเร โรคซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคอารมณ์สองขั้ว มีโอกาสที่จะติดเกมได้บ่อยขึ้น
  3. ได้แรงเสริมทางบวกจากการเล่นเกม เมื่อเล่นเกมชนะ ได้คะแนนหรืออันดับที่ดี เด็กจะอยากเล่นเกมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเด็กที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ อยากได้การยอมรับจากเพื่อนหรือคนอื่น
  4. การเลี้ยงดูแบบไม่มีการฝึกระเบียบวินัย ไม่มีกฎกติกา ทำให้เด็กควบคุมตนเองได้ไม่ดี หยุดเล่นเกมยาก อยากเล่นมากขึ้นเรื่อยๆ จนส่งผลกระทบต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ การเรียน กิจวัตรประจำวัน
  5. ปัญหาครอบครัวที่ทำให้เด็กมีความเครียด เด็กจึงเล่นเกมเพื่อระบายความเครียด
  6. ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว ขาดการใช้เวลาคุณภาพหรือทำกิจกรรมอื่นร่วมกันในครอบครัว ขาดต้นแบบที่ดี เช่น พ่อแม่ก็ติดมือถือ ไม่มีระเบียบวินัย
     

ปัญหาที่พบจากการติดเกม

  1. ผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ได้แก่ ปวดหัว ปวดท้อง ปวดเมื่อย อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ในบางรายเมื่อนั่งเล่นเกมนานๆ ไม่มีการขยับเคลื่อนไหวของร่างกาย การไหลเวียนของเลือดจะไม่ดี มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำที่ขา และปอดจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ ระหว่างที่เล่นเกมเด็กมักรับประทานอาหารไปด้วยและไม่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวหรืออกกำลังกายส่งผลให้เกิดโรคอ้วนได้
  2. ผลต่อพัฒนาการและพฤติกรรม ได้แก่ พัฒนาการด้านต่างๆ ล่าช้า ไม่ค่อยมีสมาธิ อดทนรอคอยไม่ค่อยได้ ขาดการฝึกทักษะทางสังคมกับเพื่อนหรือผู้อื่น ทำให้มีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือพ่อแม่ ผู้ปกครอง เช่น ทะเลาะกัน แยกตัวออกจากกลุ่ม เลียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าว ความรุนแรงจากสื่อ
  3. ผลต่อการเรียน เด็กใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่นเกมจึงไม่ได้ทำการบ้านหรือทบทวนบทเรียน ทำให้ผลการเรียน การสอบเพื่อการศึกษาต่อของเด็กหรือการประกอบอาชีพไม่เต็มตามศักยภาพ มีผลกระทบต่อการทำงานและคุณภาพประชากรของประเทศ
  4. ผลต่อครอบครัว ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัวลดลง อาจมีปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัว
     

แนวทางการป้องกันและช่วยเหลือเด็กติดเกม

  1. ไม่วางอุปกรณ์เล่นเกมหรือคอมพิวเตอร์ในห้องนอนหรือห้องส่วนตัวของเด็ก ควรวางไว้ในสถานที่ที่ผู้ปกครองสามารถเฝ้าดูได้
  2. ไม่ให้เด็กเข้าถึงโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ง่ายโดยไม่มีการควบคุม
  3. ให้เด็กเลือกเล่นเกมที่ดีและตรวจสอบว่าเด็กเล่นเกมที่เหมาะสมกับพัฒนาการและอายุ ไม่รุนแรงก้าวร้าวหรือสื่อเรื่องทางเพศที่ไม่เหมาะสม
  4. กำหนดช่วงเวลาที่ห้ามเล่นเกม เช่น ช่วงเวลาเคอร์ฟิวของการเล่นเกม ระหว่างรับประทานอาหาร เป็นต้น
  5. กำหนดเวลาในการเล่นเกม วางนาฬิกาไว้ในตำแหน่งที่เด็กสามารถมองเห็นได้ชัดเจน เพื่อที่จะควบคุมให้เล่นภายในเวลาที่กำหนด
  6. ทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ ออกกำลังกาย เล่นเกมที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษา การวางแผน การแก้ปัญหา เป็นต้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว
  7. ไม่ใช้เกมเลี้ยงเด็กหรือหยุดพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น เมื่อพ่อแม่จะทำงาน แต่เด็กก่อกวน หรือซน พ่อแม่จึงให้เด็กเล่นเกมเพื่อให้ตนเองสามารถทำงานได้ หรือเมื่อเด็กก้าวร้าว อาละวาด ขว้างปาสิ่งของ เลยให้เด็กเล่นเกม โทรศัพท์มือถือเพื่อหยุดพฤติกรรมดังกล่าว เป็นต้น
  8. ฝึกให้เด็กสามารถควบคุมตนเองได้ โดยการฝึกระเบียบวินัย จัดตารางเวลาในการทำกิจกรรม ตั้งกติกา กำหนดระยะเวลาการเล่นเกมของเด็ก หน้าที่ความรับผิดชอบที่เด็กต้องทำ
  9. ชมเชยเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี และลงโทษเมื่อเด็กเล่นเกมเลยเวลาที่กำหนด เช่น งดเล่นเกม ลดเวลาในการเล่นเกม เป็นต้น

หากพ่อแม่สงสัยว่าลูกติดเกมและไม่สามารถช่วยเหลือลูกได้ ควรพาลูกมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการประเมินบำบัดรักษาและช่วยเหลือเพิ่มเติม

 

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกพัฒนาการเด็ก

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

เฉพาะวันอาทิตย์ (สัปดาห์ที่ 3/4 ของเดือน) 09.00 -12.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4401

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กได้เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโอมิครอน และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้น ทั้งยังสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง

blank บทความโดย : คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก

การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กได้เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโอมิครอน และการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสูงขึ้น ทั้งยังสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยรุนแรง

blank บทความโดย : คลินิกเด็กสุขภาพดี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เท้าแบนเจ็บอุ้งเท้าบ่อย อย่าชะล่าใจ เสี่ยงเป็น “ โรคเท้าแบน Flat Feet ” แบบไม่รู้ตัว!

โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet ภัยเงียบสุดอันตราย ที่เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้า และโครงสร้างเส้นเอ็น เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เท้าแบนเจ็บอุ้งเท้าบ่อย อย่าชะล่าใจ เสี่ยงเป็น “ โรคเท้าแบน Flat Feet ” แบบไม่รู้ตัว!

โรคเท้าแบน หรือ Flat Feet ภัยเงียบสุดอันตราย ที่เป็นภาวะผิดปกติของโครงสร้างเท้า และโครงสร้างเส้นเอ็น เจ็บอุ้งเท้าบ่อย ที่คล้องอยู่กับอุ้งเท้า

นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา | ศูนย์รักษาโรคกระดูกและข้อแบบองค์รวม | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.ปรัชญ์ พิพัฒน์วัฒนา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เป็นเบาหวานแล้วติด COVID-19 มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป !!

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่แตกต่างจากคนทั่วไปแต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เป็นเบาหวานแล้วติด COVID-19 มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป !!

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่แตกต่างจากคนทั่วไปแต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม