Header

อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้โรคภัยไข้เจ็บ ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายและเมื่อเกิดแล้วอาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการหกล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย โดย 1 ใน 3 พบว่ามักอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ  หากทราบปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้หกล้มและมีแนวทางการป้องกันที่เหมาะสมจะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุชนิดนี้ได้

อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

การเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุมักมีสาเหตุจากความเสื่อม และการถดถอยของร่างกาย อีกทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บเป็นผลให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ลดลง สำหรับอุบัติเหตุที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุก็คือ การหกล้ม เช่น ลื่นล้มในห้องน้ำ การตกเตียง ตกบันได เป็นต้น ซึ่งมักเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 ปีขึ้นไป

และปัญหาที่พบบ่อยของผู้สูงอายุที่ได้รับอุบัติเหตุดังกล่าว คือ กระดูกสะโพกแตก หัก หรืออุบัติเหตุทางสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีอัตราการความพิการ และอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูงมาก เนื่องจากผู้สูงอายุมักจะมีภาวะกระดูกบางหรือกระดูกพรุน เมื่อหกล้มกระดูกจึงเกิดการแตกหรือหักได้ง่าย นอกจากการบาดเจ็บแล้วยังส่งผลกระทบทางด้านจิตใจ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เคยหกล้มไปแล้ว จะยิ่งกลัวมากขึ้นจนกังวล และขาดความมั่นใจที่จะเดิน จนเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุได้

 

อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ
 

สาเหตุของอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ มีดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น มองเห็นไม่ชัด หูตึง อาจไม่ได้ยินเสียงรถ เสียงแตร เวลาข้ามถนนระบบการทรงตัวไม่ดี เช่น หูชั้นในเริ่มเสื่อม กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงในการช่วยพยุงตัว ข้อไม่ดี ระบบประสาทสัมผัสเสื่อม เช่น เป็นเบาหวานมานาน ระบบหัวใจ และหลอดเลือด เช่น เจ็บหน้าอก หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า

  • สิ่งแวดล้อม เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ พื้นบ้านลื่น โดยเฉพาะพื้นผิวขัดมัน หรือ พื้นเปียก บันไดบ้านลื่น หรือไม่มีราวบันไดห้องน้ำ พื้นลื่นเปียก ไม่มีราวเกาะพื้นที่มีสิ่งของวางระเกะระกะ กีดขวาง เช่น สายไฟ ของเล่นเด็ก ผ้าขี้ริ้ว สัตว์เลี้ยง

  • ยา เช่น ยาลดความดันโลหิต ยานอนหลับ

  • เสื้อผ้าที่ใส่ หลวม ยาวรุ่มร่าม มีเชือกยาวไป

  • เครื่องมือช่วยเดินไม่ดี เช่น ไม้เท้าที่ไม่มียางกันลื่น หรือ รถเข็นที่ไม่มีที่ห้ามล้อ


อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

  • การลื่นหกล้ม การหกล้มเป็นปัญหาที่พบบ่อยและอันตรายมากในวัยผู้สูงอายุในแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักประสบกับการลื่นล้มและครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง ร้อยละ 10 ของการลื่นล้ม ทำให้กระดูกสะโพกหัก ร้อยละ 25 ของการบาดเจ็บกระดูกสะโพกเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิต โดยเฉพาะช่วงกลางคืนเมื่อไปเข้าห้องน้ำเนื่องจากสูญเสียการทรงตัว เพราะสมอง กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ เกิดความเสื่อม การได้ยินและมองเห็นลดลง ทำให้มีโอกาสลื่นล้มได้ง่าย ซึ่งการบาดเจ็บมีตั้งแต่เล็กน้อยไปถึงขั้นรุนแรง พิการและเสียชีวิตได้

  • พลัดตกหกล้ม จะเกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุมักเดินช้า ตามองไม่ชัด การได้ยินเสียงและความจำไม่ดี รวมทั้งมักมีอาการเวียนศีรษะจึงพลัดตกหกล้มได้ง่าย มักเกิดจากการตกเตียง ตกบันได เก้าอี้ ระเบียงบ้าน ต้นไม้ ตกหลุม และตกท่อ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในบ้านเป็นส่วนใหญ่

  • บาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก เป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยเนื่องจากประสาทสัมผัสความรู้สึกร้อนเสื่อมลง เช่น ขณะอาบน้ำ ปรุงอาหาร ถ้าเป็นเพียงเล็กน้อยอาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนพอทนได้ และค่อย ๆ หายไปได้เอง แต่ถ้าเป็นมากเกิดบริเวณกว้างและแผลลึกมักจะมีภาวะแทรกซ้อนทำให้ทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้

  • ร่างกายอ่อนแรง  ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพราะจำนวนขนาดและเส้นใยของกล้ามเนื้อบวกกับแรงในการหดตัวของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้เคลื่อนไหวไม่คล่องตัว ซึ่งอาการอ่อนแรงมีหลายระดับตั้งแต่กำมือแน่น กำมือไม่แน่น ไปจนถึงการยกขา บางคนเมื่อเป็นแล้วอาจมีอาการช่วงสั้น ๆ แล้วหายไป แต่บางครั้งไม่มีสัญญาณเตือนและมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน ดังนั้นควรหมั่นสังเกตและตรวจกับแพทย์เฉพาะทาง

  • อุบัติเหตุเกิดจากท้องถนน ผู้สูงอายุโดนรถชนเนื่องจากไม่ได้ยินเสียงแตรเพราะหูตึง และโดนรถชนเพราะมองไม่เห็นรถที่กำลังวิ่งผ่าน เนื่องจากสายตาเสื่อมลงทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจน เกิดจากการเสื่อมถอยของร่างกายของผู้สูงอายุ เช่น การรับรู้ทางสายตาและประสาทหูลดลง หรือการเคลื่อนไหวที่เชื่องช้าทำให้ต้องใช้เวลานาน

  • บาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ก่อนออกกำลังกายผู้สูงอายุควรตรวจเช็คสุขภาพร่างกายของตนเองให้ดีก่อน หากมีโรคประจำตัว ควรพบแพทย์เจ้าของไข้เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่เหมาะสม เพราะบางโรคอาจกำเริบได้เมื่อออกกำลังกาย นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายด้วยท่าง่าย ๆ เพื่อป้องกันอันตราย

  • บาดเจ็บจากการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุมักได้รับการบาดเจ็บจากสัตว์มีพิษกัดต่อย เช่น งู ตะขาบ แมงป่องกัด ดังนั้นการดูแลสุขภาพตลอดจนการปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อป้องกันสัตว์ร้ายเข้าไปหลบอาศัยภายในบ้านเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากรอบบ้านรกร้าง อาจเป็นสาเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นกับคนสูงวัยได้

  • ถูกของมีคมบาด สำหรับของใช้มีคมในบ้านที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้สูงอายุได้นั้น เช่น กรรไกร มีดคัตเตอร์ ตะไบเล็บ ที่โกนหนวด สาเหตุเกิดจากการใช้ไม่ถูกวิธีหรือการวางของรวม ๆ กันกับของใช้อื่น  ทำให้เวลาหยิบอาจไปโดนของมีคม ทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นได้

  • สำลักอาหาร อย่ามองแค่สำลัก หรือเป็นเพียงเรื่องเล็กที่มองข้ามได้ เพราะแม้สำลักเพียงเล็กน้อย ด้วยระบบภูมิคุ้มกันที่เริ่มไม่แข็งแรง แค่สำลักก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ เช่น หากสำลักอาหารเข้าไปในปอดอาจส่งผลทำให้ปอดติดเชื้อ หรือผู้สูงอายุบางรายสำลักมาก ๆ จนเกิดความกลัวการกลืนอาหาร ไม่ยอมรับประทานข้าว นำไปสู่ปัญหาภาวะการขาดสารอาหาร

 

อุบัติเหตุที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
 

ป้องกันไว้…ลดความเสี่ยงอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ

แม้ว่าอัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุจะมากขึ้นทุกปี แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดกับผู้สูงอายุในครอบครัวของเราได้ ด้วยการดูแลและใส่ใจรายละเอียดในการใช้ชีวิตประจำวันของท่านอย่างใกล้ชิดได้ดังนี้

  • ฝึกการเดิน การทรงตัว และออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อ เช่น ท่ายืนเขย่งปลายเท้าสลับยืนบนส้นเท้า ทำสลับกัน 10 ครั้ง ท่ายืนงอเข่า ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง และท่านั่งเหยียดขา ทำสลับกันข้างละ 10 ครั้ง เป็นต้น

  • ควรเปลี่ยนท่าช้า ๆ เพื่อป้องกันภาวะความดันตกในท่ายืน หน้ามืด วิงเวียน ขณะลุกนั่งหรือยืนทุกครั้ง

  • หากการเดิน หรือทรงตัวไม่มั่นคง ควรใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน เช่น ไม้เท้า โครงเหล็กช่วยเดิน เป็นต้น

  • สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้าที่มีขนาดพอดี รองเท้าควรเป็นรองเท้าส้นเตี้ย ขอบมน มีหน้ากว้าง และเป็นแบบหุ้มส้น พื้นรองเท้าควรมีดอกยาง ไม่ลื่น

  • ควรติดเทปกันลื่นที่บริเวณขอบบันไดแต่ละขั้น เพื่อป้องกันการลื่นล้ม

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง

  • คนในครอบครัว หรือผู้ดูแลใกล้ชิด หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติทางด้านการรับรู้ เช่น สับสน หลงลืมเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ และบุคคล หรือการตอบสนองได้ช้าลงหรือไม่

  • ผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวควรตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และควรเข้ารับการประเมินความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม เช่น เช็คความผิดปกติของการมองเห็น ความผิดปกติของการเดิน การทรงตัว เป็นต้น รวมทั้งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เพื่อขอรับคำแนะนำ เกี่ยวกับ การใช้ยา ความผิดปกติในการมองเห็น การเดิน การทรงตัวและการเคลื่อนไหว

  • หมั่นตรวจอุปกรณ์หรือเครื่องช่วยเดินให้อยู่ในสภาพปลอดภัยอยู่เสมอ เช่น ปลายไม้เท้ามียางหุ้มกันลื่น เก้าอี้มีล้อ ตัวห้ามล้อต้องมีสภาพพร้อมใช้งาน เป็นต้น

  • ควรจัดที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ควรออกแบบและจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มได้

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายก็เสื่อมถอยทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น ลูกหลานและคนในครอบครัวควรดูแลผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ หมั่นสังเกตอาการและความผิดปกติต่าง ๆ รวมทั้งคอยช่วยเหลือเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดให้ผู้สูงอายุมีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจที่แข็งแรง และสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือการจัดสิ่งแวดล้อมให้มีความเหมาะสมกับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ จะทำให้ไม่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

 

"หากมีคำถาม หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษา กรุณาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญ เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง"

คลิก เพื่อขอคำปรึกษา



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดให้ผู้สูงอายุ

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกาย นอกเหนือจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ เช่น เสี่ยงเส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ ระดับน้ำตาลผิดปกติ สูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ทำไมต้องฉีดให้ผู้สูงอายุ

การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกาย นอกเหนือจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ เช่น เสี่ยงเส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ ระดับน้ำตาลผิดปกติ สูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง

ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ อายุมากขึ้นต้องระวังให้มากขึ้น

ผู้สูงวัยจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพติดตัวกันแทบทุกคน เนื่องจากเป็นวัยที่สุขภาพถดถอย ซึ่งก็รวมไปถึงปัญหาสุขภาพในช่องปากในผู้สูงอายุ และฟันที่จะมีปัญหาเกิดขึ้นมาอย่างชัดเจน อายุมากขึ้นต้องระวังให้มากขึ้น

ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ อายุมากขึ้นต้องระวังให้มากขึ้น

ผู้สูงวัยจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพติดตัวกันแทบทุกคน เนื่องจากเป็นวัยที่สุขภาพถดถอย ซึ่งก็รวมไปถึงปัญหาสุขภาพในช่องปากในผู้สูงอายุ และฟันที่จะมีปัญหาเกิดขึ้นมาอย่างชัดเจน อายุมากขึ้นต้องระวังให้มากขึ้น

ลิ้นหัวใจตีบ | อาการ วิธีรักษา และตัวเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด

รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับลิ้นหัวใจรั่ว ตั้งแต่อาการเบื้องต้น วิธีการรักษา ไปจนถึงทางเลือกเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องเปิดหน้าอก ปรึกษาแพทย์และวางแผนรักษาได้อย่างมั่นใจ

ลิ้นหัวใจตีบ | อาการ วิธีรักษา และตัวเลือกที่ไม่ต้องผ่าตัด

รู้ทุกเรื่องเกี่ยวกับลิ้นหัวใจรั่ว ตั้งแต่อาการเบื้องต้น วิธีการรักษา ไปจนถึงทางเลือกเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไม่ต้องเปิดหน้าอก ปรึกษาแพทย์และวางแผนรักษาได้อย่างมั่นใจ