Header

ข้อควรระวังกับ 13 โรคที่พบบ่อยในการบริจาคโลหิต

หลาย ๆ ท่านทราบดีอยู่แล้วว่าการบริจาคโลหิต มีประโยชน์ในเรื่องของการได้ช่วยชีวิตเพื่อมนุษย์ที่ต้องการเลือดเพื่อรักษา และการมีโลหิตที่มีคุณภาพนั้นสำคัญมาก เพราะมันสร้างด้วยการสังเคราะห์ขึ้นเองไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องเก็บสะสมจากผู้บริจาคที่เป็นอาสาสมัคร แต่การบริจาคโลหิตก็มีข้อห้ามสำหรับคนที่เป็นโรคที่ห้ามบริจาคด้วยเช่นกัน

—————————————-

ขอเชิญร่วมบริจาคโลหิต

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2565

เวลา 09:00-15:00 น.

ณ อาคารผู้ป่วยนอก ชั้น G

โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เพราะคำว่าให้ไม่มีที่สิ้นสุด..

เเค่หนึ่งหยดโลหิต ก็ช่วยต่อชีวิตเพื่อนมนุษย์

—————————————-

เพื่อรักษามาตรการป้องกันโรค COVID-19

และลดความแออัดภายในพื้นที่

ผู้บริจาคโลหิตที่ปริ้นแบบฟอร์มใบสมัครผู้บริจาคโลหิตมาจากบ้านได้

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มใบสมัครผู้บริจาคโลหิต

คลิก https://bit.ly/3c4yHRX

คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต

คลิก https://bit.ly/2waeyr2

 

โรคที่ควรระวังในการบริจาคเลือด

  • โรคเบาหวาน

ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถบริจาคโลหิตได้เช่นกัน แต่ต้องไม่ฉีดอินซูลิน และไม่มีโรคแทรกซ้อน

  • โรคความดันโลหิตสูง

ผู้ที่เป็นโรคนี้ ก็สามารถบริจาคโลหิตได้เช่นกัน หากสามารถควบคุมความดันให้ไม่เกิน 160/100 และไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ

  • โรคไขมันในเลือดสูง

ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง แต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเช่นเส้นเลือดในสมอง หรือเส้นเลือดหัวใจแตก หรืออุดตัน ก็สามารถบริจาคโลหิตได้

  • โรคไทรอยด์

ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์ แต่ถ้าระดับฮอร์โมนกลับมาปกติ โดยไม่ต้องรับยาแล้วอย่างน้อย 8 สัปดาห์ หรือแพทย์อนุญาตให้หยุดรักษาแล้ว 2 ปี ก็สามารถบริจาคเลือดได้ แต่ถ้าเป็นไทรอยด์ที่เกิดจากมะเร็ง หรือโรคภูมิคุ้มกัน จะไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ถาวร

  • โรคลมชัก

หากหยุดยามาแล้ว 3 ปี และมีใบรับรองแพทย์ ผู้ที่เป็นโรคลมชักก็สามารถบริจาคได้

  • โรคมะเร็งทุกชนิด

ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งทุกชนิด แม้ว่าจะรักษาหายแล้ว ก็จะไม่สามารถบริจาคโลหิตได้ถาวร

  • โรควัณโรค

ผู้ที่เป็นโรคนี้ จะสามารถบริจาคโลหิตได้ก็ต่อเมื่อรักษาจนหายแล้ว แล้วหยุดยาเม็ดสุดท้ายมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี

  • โรคหอบหืด

แม้ว่าจะควบคุมอาการโดยใช้ยากินแบบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ หรือใช้ยาพ่น ก็สามารถบริจาคได้ แต่วันที่มาบริจาคจะต้องไม่มีอาการ

  • โรคตับอักเสบ

หากเป็นตับอับเสบชนิดเอ เมื่อรักษาหายแล้วก็สามารถบริจาคได้ แต่ถ้าเป็นตับอักเสบชนิดบี หรือซี จะต้องงดบริจาคโลหิตถาวร

  • โรคไข้หวัด ไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา

สามารถบริจาคได้หลังรักษาหายแล้ว 1 เดือน

  • โรคไข้ซิกา

สามารถบริจาคได้หลังจากรักษาหายแล้ว 4 เดือน

  • โรคมาลาเรีย

สามารถบริจาคได้หลังจากรักษาหายแล้ว 3 ปี

  • โรคโควิด

ให้งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์

นอกจากนี้ถ้าหากคุณป่วย และมีการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ ไม่ควรมาบริจาคโลหิต และจะสามารถมาบริจาคได้เมื่อหยุดยาแล้ว 7 วัน ส่วนผู้ที่ใช้ยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อ ก็ควรหยุดยาอย่างน้อย 2 วันก่อนมาบริจาค

 

ขอขอบคุณ อ. พญ. กุลวรา กิตติสาเรศ ที่มา www.si.mahidol.ac.th

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เสียงก๊อกแก๊ก สัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม”

เวลาเดินขึ้น-ลง บันได เคยมีเสียง “ก๊อกแก๊ก” ดังที่หัวเข่าทั้งสองข้างไหม? นั่นใช่สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมใช่หรือไม่ …ก่อนอื่นเราควรแยกเสียงออกเป็น 2 แบบก่อน คือ เวลาเดินขึ้นลงบันได มีเสียงดัง เข่าดังก๊อกแก๊กอย่างเดียว ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย กับอีกแบบคือได้ยินทั้งเสียงและมีอาการปวดร่วมด้วย

เสียงก๊อกแก๊ก สัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม”

เวลาเดินขึ้น-ลง บันได เคยมีเสียง “ก๊อกแก๊ก” ดังที่หัวเข่าทั้งสองข้างไหม? นั่นใช่สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมใช่หรือไม่ …ก่อนอื่นเราควรแยกเสียงออกเป็น 2 แบบก่อน คือ เวลาเดินขึ้นลงบันได มีเสียงดัง เข่าดังก๊อกแก๊กอย่างเดียว ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย กับอีกแบบคือได้ยินทั้งเสียงและมีอาการปวดร่วมด้วย

6 ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยง

สถานการณ์การกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อหรือการแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ตัว เรามีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูและตัวเองและสังคมได้ ดังนี้

6 ข้อปฏิบัติหากมีคนในบ้านได้รับเชื้อหรือเดินทางมาจากบริเวณพื้นที่เสี่ยง

สถานการณ์การกลับมาระบาดอีกครั้งของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่กี่วันที่ผ่านมา เพื่อลดความเสี่ยงต่อการรับเชื้อหรือการแพร่เชื้อให้กับคนใกล้ตัว เรามีแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่อดูและตัวเองและสังคมได้ ดังนี้

4 วิธีเตรียมตัว ก่อนเข้ารับการตรวจส่องกล้อง

วิธีเตรียมตัว ก่อนเข้ารับการตรวจส่องกล้อง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
4 วิธีเตรียมตัว ก่อนเข้ารับการตรวจส่องกล้อง

วิธีเตรียมตัว ก่อนเข้ารับการตรวจส่องกล้อง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม