Header

เสียงก๊อกแก๊ก สัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม”

เวลาเดินขึ้น-ลง บันได เคยมีเสียง “ก๊อกแก๊ก” ดังที่หัวเข่าทั้งสองข้างไหม? นั่นใช่สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมใช่หรือไม่ …ก่อนอื่นเราควรแยกเสียงออกเป็น 2 แบบก่อน คือ เวลาเดินขึ้นลงบันได มีเสียงดัง เข่าดังก๊อกแก๊กอย่างเดียว ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย กับอีกแบบคือได้ยินทั้งเสียงและมีอาการปวดร่วมด้วย

ถ้า “เข่า” มีเสียงดังก๊อกแก๊กเฉยๆ โดยเฉพาะเวลางอเข่ามากๆ เช่น นั่งยองๆ หรือลุกจากเก้าอี้ที่นั่งต่ำๆ เสียงดังแบบนี้เกิดจากการ “ขบกัน” ของผิวกระดูกอ่อนหรือเนื้อเยื่อกับเส้นเอ็นในข้อเข่า ไม่ใช่ความผิดปกติที่เกิดจากข้อเข่าเสื่อม

แต่ในตรงกันข้าม ถ้าเสียงดังก๊อกแก๊กนั้นมีอาการปวด เข่าสั่น ร่วมด้วย  เช่น ปวดเข่าเวลาวิ่ง กระโดด ขึ้น-ลง บันได  ปวดเข่าเมื่อนั่งพับเพียบหรือนั่งยองๆ ไม่ค่อยมีแรง ทรงตัวไม่ค่อยได้  ให้สันนิษฐานเบื้องต้นได้เลยว่า “ข้อเข่าเราน่าจะมีปัญหา!! เพราะอาการปวดร่วมกับเสียงก๊อกแก๊กที่ดังนั้น อาจมาจากน้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่าน้อย หรือ กระดูกข้อเข่าสึกกร่อน

การรักษาเสียงดังที่เข่าจาก “ข้อเข่าเสื่อม”

ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เสียงดังที่เกิดจากข้อเข่าเสื่อมนั้น “ระยะแรก” คนที่อาการไม่เป็นมาก สามารถใช้วิธีการบริหารหัวเข่า จากการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าและกล้ามเนื้อสะโพก หลีกเลี่ยงท่านั่งที่ต้อง “งอเข่า” มากๆ

ที่สำคัญการรักษาข้อเข่าเสื่อม คือเรื่อง “น้ำหนักตัว” มีส่วนสำคัญและจำเป็นต้อง “ลดน้ำหนัก” ให้คนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำร่วมกับการรักษา ทั้งการรับประทานยาหรือฉีดยา เนื่องน้ำหนักตัวมีผลโดยตรงต่อแรงกระแทกบริเวณข้อเข่า หากมีน้ำหนักตัวที่พอดีจะช่วยลดแรงกระแทกภายในข้อเข่าลงไปได้

นอกจากนี้คนที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม ในช่วงที่เริ่มทำการรักษานั้นควรหลีกเลี่ยงการยืน และการเดินนานๆ เพื่อ “เข่า” จะได้ไม่ต้องรับน้ำหนักตัวตลอดเวลา และเป็นการลดอาการบาดเจ็บให้น้อยลงได้ด้วย

รีบเช็คอาการข้อเข่าตัวเอง ก่อนสาย

 ข้อเข่ามีความสำคัญในการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมาก อย่าใช้ผิดท่า หรือถ้ามีความผิดปกติ แม้รู้สึกปวดเพียงเล็กน้อยต้องรีบ “เช็ก” สัญญาณข้อเข่าเสื่อม แล้วรักษาอาการโดยเร็วอย่าปล่อยทิ้งไว้เนินนานไม่เป็นผลดีต่อตัวเอง

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ที่ในทางการแพทย์เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สาเหตุส่วนใหญ่ของช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่นๆ

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ที่ในทางการแพทย์เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สาเหตุส่วนใหญ่ของช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่นๆ

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
กักตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างไร หากไม่มีห้องพักแยก

แม้ว่าในบางกรณี ผู้ป่วยจะมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่สามารถทำการกักตัวแยกที่บ้านได้ แต่หากมีผู้พักอาศัยร่วมในที่พัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่พักที่ไม่มีห้องพักแยก แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการส่งต่อ-รับเชื้อ ระหว่างผู้ร่วมพักอาศัย

กักตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างไร หากไม่มีห้องพักแยก

แม้ว่าในบางกรณี ผู้ป่วยจะมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่สามารถทำการกักตัวแยกที่บ้านได้ แต่หากมีผู้พักอาศัยร่วมในที่พัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่พักที่ไม่มีห้องพักแยก แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการส่งต่อ-รับเชื้อ ระหว่างผู้ร่วมพักอาศัย

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเจ็บเต้านม มีก้อนที่เต้านม มีแผลที่หัวนม หรือมีน้ำไหลจากหัวนม มักจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าจะมีความผิดปกติในเต้านมหรือไม่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม และการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเต้านม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเจ็บเต้านม มีก้อนที่เต้านม มีแผลที่หัวนม หรือมีน้ำไหลจากหัวนม มักจะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าจะมีความผิดปกติในเต้านมหรือไม่

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม