Header

ผลเสียของการดื่มสุรา

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสุราเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต เมื่อดื่มแล้วจะทำให้เกิดผลต่อระบบประสาทอย่างเช่น เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด และที่รุนแรงคือหมดสติ หลังจากดื่มสุราเข้าไปปริมาณหนึ่ง ทำให้ร่างกายจิตใจและพฤติกรรมผิดปกติ ความสามารถในการทำหน้าที่ต่าง ๆ บกพร่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขับขี่ยานพาหนะก่อให้เกิดปัญหาทั้งต่อผู้ดื่มเอง ครอบครัว และสังคม

ผลเสียของการดื่มสุรา

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีผลต่ออวัยวะหลายส่วนภายในของร่างกาย ในด้านสุขภาพเป็นสาเหตุหลักในการเสียชีวิต ทั้งผลเสียทั้งในระยะสั้นและระยะสะสม

สมองและระบบประสาท

  • ผลต่อสมอง มีอาการมึนเมา ง่วงนอน หลับ หมดสติ
  • ระบบประสาทส่วนปลาย ทำให้มีอาการชาตามปลายมือ, ปลายเท้า
  • ถ้าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ หรือดื่มจนติดจะทำให้เกิดความจำเสื่อม ทำให้สมองเสื่อมเมื่อเอ็กซเรย์สมองจะพบว่าขนาดของสมองเล็กลง สูญเสียการทรงตัว เดินไม่ตรงทาง มีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง บางครั้งมีอาการเศร้าซึม หรือบางครั้งจะมีอาการประสาทหลอน ระแวงว่าจะมีคนมาทำร้าย

ระบบทางเดินอาหารและตับ

  • กระเพาะอาหาร ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ เป็นแผลในกระเพาะ เลือดออกในกระเพาะอาหาร เส้นเลือดดำที่หลอดอาหารโป่ง ก่อให้เกิดอาการปวดท้อง หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • ผลต่อตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนอักเสบ มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง มีไข้ขึ้นสูง บางครั้งอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • ผลต่อตับ เมื่อดื่มนานเข้าจะทำให้เกิดโรคตับแข็ง ซึ่งจะมีอาการอ้วกเป็นเลือด ทำให้อาจเป็นมะเร็งตับได้ 

ระบบหัวใจและหลอดเลือด

  • ระบบหัวใจ เมื่อดื่มแอลกอฮอล์มาก ๆ จะทำให้การเต้นและการบีบตัวของหัวใจไม่ปกติ หัวใจเต้นเร็วขึ้น และขณะเดียวกันถ้าดื่มสุรามากจะขาดวิตามินบีหนึ่ง ก็จะทำให้กล้ามเนื้อของหัวใจทำงานไม่ปกติ
  • ระบบหลอดเลือด แอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดขยายตัวและทำให้ไขมันในเลือดสูงทำให้เส้นเลือดแข็งตัวง่าย ซึ่งจะทำให้เส้นเลือดในสมองแตกได้ง่าย ส่งผลให้เป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ พิการชั่วชีวิตได้

ระบบขับถ่ายและอวัยวะสืบพันธุ์

  • เมื่อดื่มจนเรื้อรังจะทำให้ความต้องการทางเพศจะลดลง และส่งผลทำให้ลูกอัณฑะมีขนาดเล็กลงได้
  • ในผู้หญิงตั้งครรภ์ จะทำให้เกิดการแท้งหรือคลอดบุตรเร็วกว่ากำหนด มีโอกาสทำให้เด็กที่กำลังจะเกิดมาเกิดมามีความผิดปกติได้สูง ทำให้การสร้างเซลล์ประสาทและสมอง รวมถึงหัวใจ ตา แขน ขา อวัยวะเพศของทารก  ผิดปกติ ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย สมองเล็กกว่าปกติ เป็นโรคสมาธิสั้น รูปหน้าผิดปกติ ดวงตา กรามมีขนาดเล็ก ปลายจมูกพิการ

ผลต่อวงจรการนอน

  • แอลกอฮอล์จะช่วยให้หลับง่ายในช่วงแรกแต่เมื่อดื่มต่อเนื่องจะทำลายวงจรการนอนโดยตรง ทำให้ตื่นกลางคืน และมีปัญหาการนอนไม่หลับ


การดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลเสียโดยตรงต่อปัญหาสุขภาพทางร่างกายในระบบประสาทและสมอง และยังเป็นสาเหตุหลักของโรคตับแข็ง ซึ่งการดื่มสุราเป็นระยะเวลานานนอกจากจะมีปัญหาสุขภาพแล้วยังส่งผลกระทบต่อชีวิตในด้านความสัมพันธภาพกับคนในครอบครัวและการงานอีกด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสังคมที่เรามักจะพบเห็นกับบ่อย ๆ อย่างการเมาแล้วขับ ผู้ที่มีปัญหาการติดแอลกอฮอล์หรือสุราจึงควรได้รับการบำบัดรักษาควบคู่กับการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด เพื่อเลิกสุราอย่างได้ผล



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคข้อเสื่อม อาการยอดฮิตของผู้สูงวัย

ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อม หากไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่สะดวก

โรคข้อเสื่อม อาการยอดฮิตของผู้สูงวัย

ผู้ที่มีภาวะข้อเสื่อม หากไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม อาการของโรคจะดำเนินไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ ส่งผลให้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ไม่สะดวก

ป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักได้ง่ายๆ ด้วย 4 วิธีนี้

วัคซีนป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก แม้ฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอ

ป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักได้ง่ายๆ ด้วย 4 วิธีนี้

วัคซีนป้องกันไม่ให้ป่วยหนัก แม้ฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่อ่อนแอ

กักตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างไร หากไม่มีห้องพักแยก

แม้ว่าในบางกรณี ผู้ป่วยจะมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่สามารถทำการกักตัวแยกที่บ้านได้ แต่หากมีผู้พักอาศัยร่วมในที่พัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่พักที่ไม่มีห้องพักแยก แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการส่งต่อ-รับเชื้อ ระหว่างผู้ร่วมพักอาศัย

กักตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างไร หากไม่มีห้องพักแยก

แม้ว่าในบางกรณี ผู้ป่วยจะมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่สามารถทำการกักตัวแยกที่บ้านได้ แต่หากมีผู้พักอาศัยร่วมในที่พัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่พักที่ไม่มีห้องพักแยก แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการส่งต่อ-รับเชื้อ ระหว่างผู้ร่วมพักอาศัย