Header

สงกรานต์ 7 วันอันตราย

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

จากสถิติอุบัติเหตุ 7 วันอันตราย หลายปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ มีจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตมากที่สุด เนื่องจากมีวันหยุดยาวทำให้ผู้คนใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก และสงกรานต์ก็ถือเป็นหนึ่งในเทศกาลที่มักเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมาเป็นลำดับต้น ๆ การเตรียมความพร้อมทั้งร่างกาย และความปลอดภัยของยานพาหนะจึงสำคัญมาก ๆ แต่ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุวิธีการช่วยเหลือที่ถูกวิธีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าหากผิดวิธีอาจจะทำให้พิการ หรือถึงแก่ความตายได้

ดูแลผู้บาดเจ็บอย่างเป็นขั้นตอน

การดูแลรักษาทุกขั้นตอนเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับบริการรับผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ บ้าน หรือโรงพยาบาลอื่น (ให้บริการร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน โทร. 1669) หรือโทร: 02 0805999 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ พร้อมปฐมพยาบาลเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ โดยทีมแพทย์เวชศาสต์ฉุกเฉิน และทีมงานผู้เชียวชาญด้าน Pre hospital trauma life support (PHTLS) เพื่อให้ผู้ป่วยหรือผู้ได้รับบาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น ช่วง 7 วันอันตรายนี้ในส่วนของศูนย์อุบัติเหตุจัดเตรียมความพร้อมของทีมแพทย์ พยาบาลฉุกเฉิน และบริการสนับสนุน ได้แก่ แผนกฉุกเฉิน, ห้องผ่าตัด, ธนาคารเลือด, ห้องไอซียู รวมทั้งทีมรถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีทีมศัลยแพทย์อุบัติเหตุ ศัลยแพทย์เฉพาะทางให้การดูแลผู้บาดเจ็บ และเพิ่มช่องทางขอความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์โดยใช้ Mobile App รับความช่วยเหลือฉุกเฉินทางการแพทย์ได้ทันที เรียกรถพยาบาล และแชร์ตำแหน่งที่จะให้ไปรับ พร้อมติดตามการเดินทางของรถพยาบาลแบบ Real Time

การดูแลผู้บาดเจ็บก่อนนำส่งสถานพยาบาล และช่วยเหลือผู้บาดเจ็บมีขั้นตอนสำคัญ คือ

“แก้ไขภาวะฉุกเฉินที่อาจทำให้เสียชีวิตโดยเร็ว เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิต“ และ

“ป้องกันการบาดเจ็บซ้ำซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยเพื่อลดความพิการ”


ผู้บาดเจ็บทุกรายต้องได้รับการตรวจประเมินทุกส่วนในร่างกาย เพื่อตรวจหาการบาดเจ็บ และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

โดยมีลำดับการดูแลดังนี้

  • สำรวจหาภาวะฉุกเฉินที่ทำให้เสียชีวิต เช่น เสียเลือดมาก หายใจลำบาก ขาดออกซิเจน เมื่อตรวจพบต้องเร่งแก้ไขในทันที
  • ตรวจร่างกายให้ครบทุกส่วน เพื่อสำรวจหาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทั้งภายนอกและภายในร่างกาย ขั้นตอนนี้จะทำเมื่อผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะที่คุกคามชีวิต
  • เมื่อตรวจพบการบาดเจ็บที่สำคัญ ต้องมีทีมแพทย์สหสาขาผู้ชำนาญมาร่วมวางแผนการรักษาตั้งแต่ต้นเพื่อลดการรอคอยและการตรวจค้นที่ซ้ำซ้อน สามารถเริ่มผ่าตัดรักษา หรือให้การดูแลที่จำเพาะต่อการบาดเจ็บได้ทันที โดยเฉพาะการบาดเจ็บในระบบสำคัญของร่างกาย เช่น สมองและระบบประสาท หัวใจ หลอดเลือดใหญ่ ปอด ทางเดินหายใจกระดูกและข้อ

การรักษาที่ไม่ถูกต้อง หรือล่าช้าอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เกิดความพิการ หรือเสียชีวิต อีกขั้นตอนสำคัญคือ การวางแผนการรักษาร่วมกันของทีมแพทย์อุบัติเหตุ และศัลยแพทย์ผู้ชำนาญเฉพาะทางในสาขาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นศัลยกรรมสมองและระบบประสาท, ศัลยกรรมกระดูก, ศัลยกรรมตกแต่ง, ศัลยกรรมกระดูกใบหน้า และกระบอกตา, วิสัญญีแพทย์ และทีมแพทย์เวชบำบัดวิกฤติที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนักอย่างต่อเนื่อง ทีมแพทย์ต้องร่วมกันวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา และสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละราย



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประโยชน์ดี ๆ จากการกิน Dark Chocolate

ช็อกโกแลตเป็นของหวานสุดโปรดในดวงใจของใครหลายคน แต่หยิบมากินทีไรกลับรู้สึกผิด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ประโยชน์ดี ๆ จากการกิน Dark Chocolate

ช็อกโกแลตเป็นของหวานสุดโปรดในดวงใจของใครหลายคน แต่หยิบมากินทีไรกลับรู้สึกผิด

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยซ่อนเร้นของอาการปวดท้อง

มะเร็งกระเพาะอาหารถือเป็นมะเร็งอันดับที่ 5 ที่มักเกิดขึ้น โรคนี้ถือเป็นอีกโรคที่น่ากลัวที่เราควรตระหนัก เพราะเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ จากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลกเลยทีเดียว

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยซ่อนเร้นของอาการปวดท้อง

มะเร็งกระเพาะอาหารถือเป็นมะเร็งอันดับที่ 5 ที่มักเกิดขึ้น โรคนี้ถือเป็นอีกโรคที่น่ากลัวที่เราควรตระหนัก เพราะเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ จากโรคมะเร็งทั้งหมดทั่วโลกเลยทีเดียว

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ปวดเข่า จากการ ออกกำลังกาย เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วออกกำลังกายท่าไหนได้บ้าง?

ในบางครั้ง การออกกำลังกายก็มีส่วนให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ เช่น ออกกำลังกายแต่ปวดเข่า และในขณะเดียวกันก็ช่วยส่งสัญญาณเตือนเมื่อร่างกายของเรากำลังมีภาวะผิดปกติได้เช่นกัน

ปวดเข่า จากการ ออกกำลังกาย เกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วออกกำลังกายท่าไหนได้บ้าง?

ในบางครั้ง การออกกำลังกายก็มีส่วนให้ร่างกายเกิดการบาดเจ็บ เช่น ออกกำลังกายแต่ปวดเข่า และในขณะเดียวกันก็ช่วยส่งสัญญาณเตือนเมื่อร่างกายของเรากำลังมีภาวะผิดปกติได้เช่นกัน