Header

เป็นเบาหวานแล้วติด COVID-19 มีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไป !!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคโควิด-19 ไม่แตกต่างจากคนทั่วไปแต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดีเนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายมีประสิทธิภาพป้องกันโรคลดลงจริงหรือไม่ ? มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันกับบทความนี้ได้เลยค่ะ

โรคเบาหวานกับโควิด-19

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ห่วงผู้ป่วยเบาหวาน คุมน้ำตาลให้ดี อย่าขาดยาอย่างเด็ดขาดเพราะผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดีมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 มากกว่าคนทั่วไปเนื่องจาก

  • ระดับน้ำตาลที่สูงกว่าค่าปกติ จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง ทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ไม่ดี ไวรัสสามารถเติบโตและกระจายตัวได้ง่ายขึ้น
  • โรคร่วมหรือผลข้างเคียงจากเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี มักจะมีโรคร่วม หรือผลข้างเคียงจากเบาหวานร่วมด้วย ซึ่งการที่มีโรคร่วมดังกล่าวทำให้เมื่อติดเชื้อไวรัส COVID-19 มีโอกาสที่จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น มีผลข้างเคียงง่ายและเพิ่มขึ้นได้
  • ปฏิกิริยาการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส ทำให้การควบคุมเบาหวานทำได้แย่ลง เมื่อผู้ป่วยเบาหวานติดเชื้อไวรัส COVID-19 ร่างกายจะมีปฏิกิริยาต่อต้านไวรัสและเกิดการอักเสบ ปฏิกิริยาการอักเสบจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดยิ่งสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและโรคที่เป็นผลข้างเคียงจากเบาหวานดังกล่าวข้างต้น

ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรค หากผู้ป่วยเบาหวานได้รับเชื้อไวรัส COVID-19 ขึ้นอยู่กับอายุ ระดับน้ำตาลในเลือด โรคร่วม หรือผลข้างเคียงจากโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยเป็นอยู่  ไม่ได้ขึ้นกับว่าผู้ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดที่ 2

 

การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้เป็นโรคเบาหวานในสภาวะที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ผู้เป็นโรคเบาหวานที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีค่าระดับน้ำตาลสะสมมากกว่า 8% จะมีอัตราการเสียชีวิตที่มากกว่าคนที่เป็นเบาหวานและสามารถควบคุมค่าน้ำตาลได้ดี โดยสรุปผู้เป็นโรคเบาหวานติดเชื้อไวรัสก็เพิ่มความรุนแรงของการเจ็บป่วยจากโควิด-19 แล้ว และถ้าหากยิ่งคุมระดับน้ำตาลไม่ดี ยิ่งเสียงต่อการเสียชีวิตได้ง่ายขึ้น

 

ความเสี่ยงของผู้เป็นเบาหวานกับการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ผู้เป็นเบาหวานไม่ได้เพิ่มอัตราการรับเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ถ้าหากติดเชื้อแล้ว จะทำอาการรุนแรงของโรคมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้เป็นเบาหวานต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

 

การใช้ยาในผู้เป็นเบาหวานที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ถ้าผู้เป็นเบาหวานได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ต้องทำการปรึกษาแพทย์ เพราะมียาหลายชนิดที่อาจจะต้องพิจารณาลดขนาดลง หยุดรับประทาน หรือบางตัวยังสามารถใช้ได้ต่อ โดยเฉพาะอินซูลินไม่แนะนำให้หยุด หากไม่ได้ปรึกษาแพทย์ก่อน เนื่องจากหากหยุดอินซูลินกะทันหัน และเกิดภาวะน้ำตาลสูงมากจนเลือดเป็นกรดอาจอันตรายถึงชีวิต ทั้งนี้หากมีน้ำตาลต่ำ อาจพิจารณาลดขนาดอินซูลินลงได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

วิธีดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและโรคอ้วนให้ห่างไกล COVID-19

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานและโรคอ้วนนั้น การได้รับเชื้อไวรัส COVID-19 มักจะส่งผลรุนแรงกว่าคนทั่วไป ดังนั้นจึงควรดูแลสุขภาพอย่างจริงจัง ดังนี้

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงหลังจากการติดเชื้อไวรัส COVID-19 มากกว่าบุคคลทั่วไปหากควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ วัดระดับน้ำตาลปลายนิ้วอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ
  • ดูแลสุขภาพกายใจ ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และลดความเครียด การมีสุขภาพกายและใจที่ดีจะเป็นส่วนช่วยในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้
  • รับประทานอาหารให้เหมาะสมถูกสุขลักษณะ เตรียมอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล(คาร์โบไฮเดรต) ไว้ที่บ้านให้เพียงพอ ในกรณีที่เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ จะสามารถแก้ไขระดับน้ำตาลได้ทันที
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ หรือทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮฮล์
  • ห้ามใช้ช้อน ส้อม แก้วน้ำร่วมกับคนอื่น ๆ
  • สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน
  • รักษาระยะห่าง (Social Distancing)
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานเมื่อขาดน้ำ ระดับน้ำตาลจะยิ่งสูงขึ้น
  • เตรียมยาประจำตัวไว้ที่บ้านให้เพียงพอ โดยเฉพาะในกรณีที่จำเป็นต้องกักตัว (Quarantine) อยู่ที่บ้าน 2-3 สัปดาห์
  • บันทึกเบอร์โทรศัพท์สำคัญ ทั้งเบอร์โทรศัพท์ของโรงพยาบาลที่รักษาอยู่ เบอร์โทรศัพท์ของแพทย์ที่ทำการรักษา เพื่อให้สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน และควรให้คนใกล้ชิดบันทึกเบอร์โทรศัพท์นี้ไว้ด้วย
  • หมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้ หายใจหอบเหนื่อย ไอ น้ำมูก เจ็บคอควรปรึกษาแพทย์ทันที นอกจากนี้หากมีอาการที่เป็นผลจากระดับน้ำตาลที่ผิดปกติ เช่น    หน้ามืด ใจสั่น มือสั่น มึนงง เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน ความรู้สึกตัวลดลง หรือวัดระดับน้ำตาลที่บ้านแล้วค่าระดับน้ำตาลต่ำหรือสูงกว่าภาวะปกติ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • ที่สำคัญที่สุดตามประกาศจากนโยบายของรัฐ ที่ให้ฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มเสี่ยง 7 โรคเรื้อรัง ซึ่งโรคเบาหวานและโรคอ้วน อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการฉีดวัคซีน COVID-19 อย่างเร่งด่วน ผู้มีโรคจึงควรพิจารณาเข้ารับวัคซีน หากไม่มั่นใจหรือยังกังวล สามารถปรึกษาแพทย์ที่ดูท่านอยู่ เชื่อว่าแพทย์ทุกท่านพร้อมจะตอบทุกข้อสงสัย

โดยสรุปจะเห็นว่าผู้ป่วยเบาหวานเป็นกลุ่มเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ COVID-19 ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตที่มากขึ้น ผู้ป่วยควรทราบวิธีการดูแลตนเองอย่างเหมาะสม รวมถึงให้ความสำคัญกับการป้องกันการติดเชื้อและหมั่นสังเกตอาการตนเอง หากมีอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือวัดระดับน้ำตาลที่บ้านแล้วค่าระดับน้ำตาลต่ำหรือสูงกว่าภาวะปกติ ควรปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด

 



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ที่ในทางการแพทย์เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สาเหตุส่วนใหญ่ของช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่นๆ

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ช็อกโกแลตซีสต์ โรคที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน

ช็อกโกแลตซีสต์ หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ที่ในทางการแพทย์เรียกว่า เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ สาเหตุส่วนใหญ่ของช็อกโกแลตซีสต์ เกิดจากประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางปีกมดลูก แล้วเข้าไปฝังตัวที่อื่นๆ

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่าโรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และนอกจากนั้นอาการปวดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ยังอาจเป็นอาการแสดงของโรคอื่นที่มีความรุนแรงมากกว่า เช่นโรคแผลกระเพาะอาหาร,โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ด้วย

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคธรรมดาที่ไม่ควรมองข้าม

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆว่าโรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อย ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และนอกจากนั้นอาการปวดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ยังอาจเป็นอาการแสดงของโรคอื่นที่มีความรุนแรงมากกว่า เช่นโรคแผลกระเพาะอาหาร,โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้ด้วย

โรคทางนรีเวช ภัยร้ายของคุณผู้หญิง ป้องกันได้ด้วยการตรวจภายใน

ร่างกายของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน บางครั้งร่างกายอาจเกิดความผิดปกติและโรคต่าง ๆขึ้นได้ เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับโรคทางนรีเวชที่สำคัญ ๆ เพื่อให้เตรียมตัวป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที

โรคทางนรีเวช ภัยร้ายของคุณผู้หญิง ป้องกันได้ด้วยการตรวจภายใน

ร่างกายของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน บางครั้งร่างกายอาจเกิดความผิดปกติและโรคต่าง ๆขึ้นได้ เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับโรคทางนรีเวชที่สำคัญ ๆ เพื่อให้เตรียมตัวป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที