Header

โรคทางนรีเวช ภัยร้ายของคุณผู้หญิง ป้องกันได้ด้วยการตรวจภายใน

โรคทางนรีเวช - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ร่างกายของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยหมดประจำเดือน บางครั้งร่างกายอาจเกิดความผิดปกติและโรคต่าง ๆขึ้นได้ เราจึงอยากแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับโรคทางนรีเวชที่สำคัญ ๆ เพื่อให้เตรียมตัวป้องกันโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทันท่วงที

รู้จักกับโรคทางนรีเวช

โรคทางนรีเวช คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานสตรี ได้แก่ มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ ปากมดลูก และช่องคลอด

ผู้ป่วยอาจมีอาการและอาการแสดงแตกต่างกันไปตามปัญหาที่มี เช่น ปวดท้องน้อย ปวดร้าวที่หลังเอว ก้นกบ ตกขาวผิดปกติ คลำพบก้อนในอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะบ่อย เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์  น้ำหนักลด  ปวดประจำเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น มามากหรือน้อยเกินไป ประจำเดือนขาดหายโดยไม่ได้ตั้งครรภ์ มีเลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือน

 

โรคทางนรีเวชยอดฮิต

  1. เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของการปวดท้องน้อยในสตรี พบได้ประมาณ 10% ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยระหว่างมีประจำเดือนตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนกระทั่งต้องกินหรือฉีดยาระงับอาการปวด สาเหตุเกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกมีการฝังตัวและเจริญผิดปกตินอกโพรงมดลูก ไปตามอวัยวะต่างๆ อาจก่อให้เกิดอาการปวด มีพังผืดในอุ้งเชิงกรานและอาการมีบุตรยากตามมา นอกจากนี้อาจทำให้เกิดถุงน้ำรังไข่ที่เรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ โดยเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นนอกจากอาการปวดและมีบุตรยากแล้วอาจมีความเสี่ยงต่อมะเร็งรังไข่อีกด้วย

โรคนี้สามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจภายในหรือตรวจทางทวารหนักและอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน หรือในบางรายอาจตรวจพบโดยการส่องกล้องเข้าไปตรวจในช่องท้องรวมกับการตัดชิ้นเนื้อมาพิสูจน์ทางพยาธิวิทยา โดยการรักษาสามารถทำได้ด้วยการทานคุมกำเนิด, ยาลดฮอร์โมนและผ่าตัด

  1. เนื้องอกมดลูก (Myoma Uteri หรือ Uterine Fibroid)

คือเนื้องอกของกล้ามเนื้อมดลูก พบได้บ่อยถึง  20-40% ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกช่วงอายุ สามารถเกิดได้ในทุกตำแหน่งของกล้ามเนื้อมดลูก  เกิดจากการเจริญผิดปกติของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกซึ่งต้นเหตุอาจมาจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเนื้องอกชนิดนี้มักจะไม่พัฒนาไปเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง แต่ก็มีผู้ป่วยประมาณ 1 ใน กว่า 300 รายที่พบเซลล์มะเร็งหลังผ่าตัดเนื้องอก โรคนี้ในบางคนก็ไม่มีอาการ แต่บางครั้งอาจทำให้ปวดท้อง ประจำเดือนมามากและยาวนานผิดปกติ คลำได้ก้อนที่หน้าท้อง อาจทำให้ปัสสาวะบ่อยหรือท้องผูก เนื้องอกในบางตำแหน่งของมดลูกอาจส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ภาวะแท้ง คลอดก่อนกำหนดหรือตกเลือดหลังคลอดได้ การตัดสินใจรักษาขึ้นกับอาการของผู้ป่วยและลักษณะของเนื้องอก อาจทำได้ทั้งตรวจติดตามและผ่าตัด หรือรักษาด้วยยาในกรณีมีอาการเลือดออกมาก วิธีการผ่าตัดขึ้นกับความต้องการมีบุตรในแต่ละคน เช่นผ่าตัดเฉพาะเนื้องอก ผ่าตัดมดลูก

  1. มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)

คือเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก พบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งเต้านม และทำให้เสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งตับ โดยช่วงไม่กี่ปีมานี้โรคมะเร็งปากมดลูกมีแนวโน้มที่จะเกิดกับหญิงที่อายุน้อยลง ต้นเหตุเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ชนิดความเสี่ยงสูงที่เซลล์ปากมดลูกเป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกผ่านความผิดปกติหลายระยะจนนำไปสู่การเป็นมะเร็งในที่สุด

 

วิธีดูแลตัวเองทั่วไป

หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด รักษาสุขอนามัยของอวัยวะเพศภายนอก ใช้แผ่นอนามัยเฉพาะช่วงวันที่มีประจำเดือน หลีกเลี่ยงการใส่กระโปรง หรือกางเกงรัดรูปมากเกินไป ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ควบคุมน้ำหนักตามเกณฑ์ที่กำหนด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื้อสัตว์ อาหารที่มีไขมันสูง หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กัยผู้ที่มิใช่สามีภรรยาโดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย หมั่นสังเกตประจำเดือนเพื่อจะได้ทราบความผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว

 

ตรวจภายใน ช่วยป้องกันก่อนจะสาย

โดยทั่วไปเมื่อไม่มีอาการผิดปกติแนะนำให้ตรวจภายในทุกปีหลังจากเริ่มมีเพศสัมพันธ์ หรืออายุ 20 เป็นต้นไป เป็นหนทางที่ดีในการป้องกันโรคทางนรีเวชและ หากเกิดอาการผิดปกติ  เช่น ปวดท้องน้อย ประจำเดือนมาผิดปกติ ตกขาวผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจภายใน โดยจะมีการตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกรานของสตรีทั้งภายนอกและภายในได้แก่ อวัยวะเพศภายนอก, ช่องคลอด, ปากมดลูก, มดลูก, ปีกมดลูก, รังไข่ และเนื้อเยื่อที่อยู่รอบ ๆ แพทย์จะตรวจเพื่อค้นหาและคัดกรองความผิดปกติ โดยอาจใช้การตรวจพิเศษอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น การอัลตร้าซาวน์อุ้งเชิงกรานเมื่อพบโรคแล้ว จะได้รับการรักษา, ป้องกันการลุกลามของโรคและติดตามอาการอย่างเหมาะสม ในส่วนของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกนั้น คำแนะนำล่าสุดของราชวิทยาลัยสูติแพทย์แห่งประเทศไทย ในปีพ.ศ. 2564 แนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มเติมจากการตรจภายใน เมื่ออายุครบ 25 ปีหากมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือครบ 30 ปีใรกรณีไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ โดยความถี่ของการตรวจทุก 2-5 ปีขึ้นอยู่กับชนิดของเทสต์ที่ใช้ แนะนำให้ตรวจทุกคนแม้จะได้รับวัคซีน HPV แล้วก็ตาม  สำหรับผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ แพทย์สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีขนาดเหมาะสมเพื่อลดความไม่สบายตัวได้

 

 

จะเห็นได้ว่าโรคทางนรีเวช ล้วนสร้างความลำบากให้กับผู้ป่วย และอาจส่งผลทางสุขภาพแตกต่างกันไป ทุกคนจึงควรดูแลสังเกตร่างกายของตนอยู่เสมอ เพื่อที่จะได้ทราบหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น และควรตรวจภายในทุกปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามคำแนะนำของแพทย์ ทั้งนี้ก็เพื่อตัวคุณเองและคนที่คุณรักจะได้สุขภาพดีและมีความสุขไปด้วยกันค่ะ

การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย การมีคู่นอนหลายคน การมีประวัติการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ การมีบุตรหลายคน อีกทั้งปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น การไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สูบบุหรี่ และภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง อาจส่งเสริมให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้

 อาการผิดปกติที่พบบ่อย ได้แก่ ตกขาวผิดปกติ  เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด เช่น เลือดออกกลางรอบเดือน หรือหลังมีเพศสัมพันธ์

การตรวจคัดกรองสามารถทำได้ โดย ได้แก่การตรวจหาเชื้อ HPV และการตรวจทางเซลล์วิทยา เช่น PAP SMEAR หรือ THIN PREP  ซึ่งหากตรวจพบความผิดปกติระยะที่ยังไม่ใช่มะเร็งสามารถตรวจติดตามหรือรักษาได้ตามลักษณะของความผิดปกตินั้นๆ

ส่วนถ้าตรวจพบมะเร็ง จะรักษาด้วยการผ่าตัด, ฉายรังสี และเคมีบำบัดตามแต่ระยะที่ตรวจพบ ซึ่งหากตรวจพบเร็วก็มีจะโอกาสหายได้เกือบ 100% ดังนั้นผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จึงควรตรวจภายในอย่างสม่ำเสมอ

 

บทความโดย : แพทย์หญิง ลูกหวาย คู่ธีรวงศ์ สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารฤทธิ์เย็น ดับพิษร้อน ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์

ความร้อนที่สะสมภายในร่างกายอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วย ไม่สบายเนื้อ-สบายตัว เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย หน้ามืด เจ็บในช่องปากและลำคอ พบแผลร้อนในช่องปาก เกิดอาการท้องผูก ขับถ่ายลำบาก ทำให้ผิวพรรณแห้งกร้านไม่สดใส เกิดสิวอักเสบขึ้นตามใบหน้า หรือเกิดฝีอักเสบตามลำตัวได้

อาหารฤทธิ์เย็น ดับพิษร้อน ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทยประยุกต์

ความร้อนที่สะสมภายในร่างกายอาจทำให้เกิดความเจ็บป่วย ไม่สบายเนื้อ-สบายตัว เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย หน้ามืด เจ็บในช่องปากและลำคอ พบแผลร้อนในช่องปาก เกิดอาการท้องผูก ขับถ่ายลำบาก ทำให้ผิวพรรณแห้งกร้านไม่สดใส เกิดสิวอักเสบขึ้นตามใบหน้า หรือเกิดฝีอักเสบตามลำตัวได้

การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา

blank ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา

blank ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด-19 (Covid-19 Antibody Level Test)

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โควิดระบาดอย่างหนัก ทำให้ทุกคนมีความเสี่ยงติดโควิดสูงมาก ถึงแม้จะฉีดวัคซีนแล้วก็ตามก็อาจติดได้อีก

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจหาภูมิคุ้มกันโควิด-19 (Covid-19 Antibody Level Test)

ในสถานการณ์ปัจจุบันที่โควิดระบาดอย่างหนัก ทำให้ทุกคนมีความเสี่ยงติดโควิดสูงมาก ถึงแม้จะฉีดวัคซีนแล้วก็ตามก็อาจติดได้อีก

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม