Header

สัญญาณอันตราย “ซีสต์ในรังไข่”

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ซีสต์ในรังไข่ - โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

เรื่องภายในของคุณผู้หญิงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจดูแลและหมั่นตรวจเช็กอยู่เสมอ โดยเฉพาะเรื่องถุงน้ำรังไข่ หรือเราเรียกกันว่า “ซีสต์รังไข่” ซึ่งไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะบางครั้งอาจไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ดังนั้นการเข้าใจเรื่องซีสต์รังไข่และหมั่นสังเกตตนเองจึงเป็นหนทางของการป้องกันและรับมือได้อย่างถูกวิธี

ซีสต์ คืออะไร?

ซีสต์ (cyst) คือ การสะสมของน้ำ เป็นถุงน้ำ เป็นก้อนหรือตุ่มที่เกิดขึ้นตามร่างกาย โดยมีลักษณะเป็นถุงที่บรรจุอากาศ ของเหลว น้ำ ไขมัน หรือมีเนื้อเยื่อผสมอยู่ก็ได้ ซึ่งถือเป็นความความผิดปกติของร่างกาย ซึ่งสามารถก่อตัวขึ้นได้ในรังไข่ หากพบในวัยเจริญพันธุ์มักจะเป็นซีสต์ปกติที่หายได้ อีกส่วนหนึ่งก็อาจเป็นซีสต์ที่ผิดปกติที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา แต่ถ้าพบในคนวัยใกล้หมดประจำเดือนอาจเป็นซีสต์ผิดปกติที่มีโอกาสเป็นหรือไม่เป็นมะเร็งได้
 


 

อาการของโรคซีสต์ในรังไข่

รังไข่ จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศหญิง เพื่อควบคุมเยื่อบุโพรงมดลูกจะช่วยรองรับการตั้งครรภ์ หรือเกิดประจำเดือนหากไม่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ขนาดของซีสต์ มีหลากหลายขนาดและลักษณะมีทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ บางรายเป็นก้อนจำนวนน้อย บางรายตรวจพบเต็มท้อง ส่วนใหญ่ถุงน้ำในรังไข่หรือซีสต์ไม่มีอาการอะไรเลย ส่วนใหญ่จะตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปีของแพทย์ อาการของโรคจะขึ้นอยู่กับชนิดของถุงน้ำที่เกิดขึ้น บางรายอาจไม่มีอาการ หรือบางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย โดยสามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

  • ปวดท้องน้อยเรื้อรัง
  • ปัสสาวะบ่อยขึ้นหรือปัสสาวะลำบาก
  • มีอาการปวดประจำเดือน
  • มีอาการหน่วงๆ ตึงๆ ท้องน้อย หรือปวดท้องน้อยเฉียบพลัน
  • เจ็บหรือปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • คลำพบก้อนในท้องน้อย
     

อันตรายของซีสต์ในรังไข่

ซีสต์ในรังไข่มีหลายชนิด ซึ่งมีความอันตรายแตกต่างกันขึ้นอยู่ว่าเป็นซีสต์ชนิดไหน ชนิดที่เกิดจากการทำงานของรังไข่ความร้ายแรงจะต่ำ ซึ่งอาจจะสามารถหายเองได้หรือบางชนิดสามารถรักษาได้ด้วยฮอร์โมน แต่หากถุงน้ำมีขนาดใหญ่หรือปล่อยไว้นาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของซีสต์ได้เช่นการบิดของขั้วรังไข่ การแตกหรือรั่วทำให้เกิดอาการปวดท้องฉุกเฉินได้ หรือถุงน้ำบางลักษณะอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด ดังนั้นถุงน้ำรังไข่มีความอันตรายตั้งแต่น้อยจนถึงเสี่ยงต่อมะเร็งได้
 

ตรวจภายใน ลดเสี่ยงอันตรายจากซีสต์ในรังไข่

แม้ว่าสาเหตุของมะเร็งถุงน้ำรังไข่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดแต่ก็เป็นโรคที่พบได้บ่อย ดังนั้นการตรวจสุขภาพพร้อมกับการตรวจระบบสืบพันธุ์เพศหญิง จะทำให้ตรวจรังไข่และมดลูกอย่างละเอียดหากพบว่ามีถุงน้ำรังไข่ก็จะสามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยให้พบความเสี่ยงของโรคอื่นๆ เพื่อป้องกัน หรือรักษาได้ทันท่วงทีก่อนลุกลามจนเจ็บปวดและยากต่อการรักษา

 

 สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาได้ที่ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv

 



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกสุขภาพสตรี โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกสุขภาพสตรี

สถานที่

อาคาร A ชั้น 2

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 -20.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4204

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.ชัยวุฒ ไพบูลย์บริรักษ์

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา,เวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.บุญชู สถิรลีลา

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

แผนกสุขภาพสตรี

นพ.ปัญจวิชญ์ ปทุมานุสรณ์

สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพประจำปีอาจถูกหลายคนมองข้ามถึงความสำคัญ เพราะคิดว่าร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี อีกทั้งไม่แสดงถึงอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติใดๆ  แต่ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพประจำปีอาจถูกหลายคนมองข้ามถึงความสำคัญ เพราะคิดว่าร่างกายมีความแข็งแรงสมบูรณ์ดี อีกทั้งไม่แสดงถึงอาการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติใดๆ  แต่ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปีนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความเสี่ยงของโรค หรือภาวะต่าง ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น

การคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย โดยจะมีอุบัติการณ์มากขึ้นเมื่อมีอายุมากขึ้นตั้งแต่50ปีขึ้นไป นอกจากนั้นยังมีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงเช่น การตรวจพบติ่งเนื้อลำไส้ใหญ่(colonic polyp), การมีญาติใกล้ชิดเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, โรคลำไส้อักเสบ(inflammatory bowel disease), การทานผักน้อยและทานเนื้อสัตว์จำนวนมาก เป็นต้น

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease)

โรคหัวใจและหลอดเลือดนับว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตจากโรคมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง โดยสถิติกระทรวงสาธาณสุขเมื่อปี 2561

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease)

โรคหัวใจและหลอดเลือดนับว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตจากโรคมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง โดยสถิติกระทรวงสาธาณสุขเมื่อปี 2561

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม