Header

กักตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 อย่างไร หากไม่มีห้องพักแยก

การกักตัวแยกที่บ้าน (HI) ได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งวิธีการหลักในการรักษา สำหรับผู้ได้รับเชื้อโควิด-19 กลุ่มที่มีอาการเล็กน้อย หรือไม่แสดงอาการ สุขภาพร่างกายแข็งแรง อาจมีโรคร่วมที่รักษา และสามารถควบคุมได้ตามดุลยพินิจของแพทย์ มีอายุน้อยกว่า 75 ปี และยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง

แม้ว่าในบางกรณี ผู้ป่วยจะมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่สามารถทำการกักตัวแยกที่บ้านได้ แต่หากมีผู้พักอาศัยร่วมในที่พัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่พักที่ไม่มีห้องพักแยก แนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการส่งต่อ-รับเชื้อ ระหว่างผู้ร่วมพักอาศัย จึงเป็นสิ่งจำเป็น

โดย นพ.ไพโรจน์ เครือกาญจนา รองผู้อำนวยการด้านวิชาการและการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี ได้ให้คำแนะนำ สำหรับแนวทางการปฏิบัติ กรณีที่ผู้ป่วยไม่มีห้องพักแยกกักตัวในบ้าน แต่จำเป็นต้องอาศัยอยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัว ให้ปฏิบัติดังนี้:

  1. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และยึดแนวทางการป้องกันตนเองตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
  2. แบ่งเขตพื้นที่ส่วนของผู้ได้รับเชื้อโควิด-19 และส่วนผู้ที่ไม่ติดเชื้อ แยกออกจากกันอย่างชัดเจน
  3. วางพัดลมไว้ในห้องและเปิดตลอดเวลา เพื่อกำหนดทิศทางลมให้ไปออกที่หน้าต่างฝั่งที่ใกล้กับส่วนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ช่วยให้บริเวณของผู้ที่ไม่ติดเชื้ออยู่เหนือลม (มีพื้นที่กำหนดพิเศษที่จะให้ผู้ป่วยโควิด-19 สามารถผ่านเข้ามาได้ เฉพาะกรณีวางของหรือออกจากห้องเท่านั้น)
  4. กำหนดพื้นที่พิเศษสำหรับการจัดการกับสิ่งของหรือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ใช้แล้ว (ผู้ป่วยโควิด-19 จะต้องนำของใส่ในถุง พ่นด้วยแอลกอฮอล์ข้างในก่อนปิดปากถุง เมื่อวางแล้วให้พ่นแอลกอฮอล์ซ้ำที่ตรงปากถุงด้านนอก ส่วนผู้ที่จะนำไปจัดการต่อจะต้องใส่ถุงมือ โดยพ่นแอลกอฮอล์ที่ด้านนอกถุงอีกครั้ง เมื่อนำถุงออกมาจากพื้นที่แล้ว ให้เปิดปากถุงแล้วแช่ด้วยน้ำสบู่หรือน้ำผสมผงซักฟอกประมาณ 10-15 นาที ก่อนที่จะนำไปทำความสะอาดตามปกติ)
  5. เมื่อมีการสัมผัสสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน ขอให้มีการปฏิบัติตัวป้องกันตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด โดยยึดหลัก “ไม่แพร่เชื้อ-ไม่ติดเชื้อ”

อย่างไรก็ตาม แนวทางปฏิบัติทั้ง 5 ข้อ สามารถช่วยได้เพียงลดความเสี่ยงต่อการส่งต่อ-รับเชื้อ หากผู้พักอาศัยร่วม หรือผู้ดูแลมีอาการผิดปกติ ที่เป็นสัญญาณของการได้รับเชื้อโควิด-19 ควรรีบตรวจหาเชื้อทันที

อ้างอิง : กรมการแพทย์ (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เม.ย. 65)



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักอาการป่วย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” จากกรณีตูน บอดี้สแลม แพทย์ชี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาทนี้เป็นภาวะความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากการทำพฤติกรรมผิด ๆ บางอย่างเป็นประจำ เช่น การก้มคอเล่นมือถือ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รู้จักอาการป่วย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” จากกรณีตูน บอดี้สแลม แพทย์ชี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน

โรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาทนี้เป็นภาวะความเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน เนื่องจากการทำพฤติกรรมผิด ๆ บางอย่างเป็นประจำ เช่น การก้มคอเล่นมือถือ

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
อาการท้องผูก

หลาย ๆ คนมักจะหลงคิดไปว่าท้องผูกเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่าง

อาการท้องผูก

หลาย ๆ คนมักจะหลงคิดไปว่าท้องผูกเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่าง

การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา

blank ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
การตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI คือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ในการตรวจวินิจฉัยรอยโรคของผู้ป่วย เพื่อนำมาใช้ในการรักษาและติดตามผลการรักษา

blank ศูนย์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม