Header

7 วิธีลดอุบัติเหตุกับ 7 วันอันตรายในเทศกาลสงกรานต์

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

กันไว้ก่อน ดีกว่าแก้…ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลอด 7 วันของการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มักจะเกิดอุบัติเหตุบนท้อนถนน ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตในที่สุด เนื่องจากมีวันหยุดยาวทำให้ผู้คนใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก เราจึงมีวิธีเตรียมตัวเองให้พร้อมเมื่อต้องขับขี่รถบนท้องถนน

1. ง่วงไม่ขับ

ตามประมวลฐานความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก 2522 ระบุว่า ผู้ขับขี่รถขณะร่างกาย หรือจิตใจหย่อนความสามารถมีความผิดตาม ม.103 บทลงโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งการง่วงแล้วขับไม่ได้เกิดเฉพาะช่วง 7 วันอันตรายเท่านั้น แต่ในชีวิตประจำวันที่แสนธรรมดาก็สามารถเกิดขึ้นได้ และเมื่อคุณเริ่มรู้ตัวว่าตัวเองหรือผู้ขับรถมีอาการง่วงควรปฏิบัติดังนี้

  • จอดพักเพื่องีบสัก 15-20 นาที อย่านานกว่านี้เพราะสมองจะมึนและไม่สดชื่น
  • ดื่มกาแฟ เทคนิคคือให้ดื่มก่อนที่จะงีบ เนื่องจากกาแฟไม่ได้ออกฤทธิ์ทันที แต่จะออกฤทธิ์ให้หลังเมื่อ 10-15 นาทีไปแล้ว วิธีนี้เราจะตื่นพอดี และสดชื่นทันก่อนออกรถอีกครั้ง
  • ร้องเพลง เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือการทำให้ปากขยับไล่ความง่วง
  • งดดื่มแอลกอฮอล์คืนก่อนเดินทาง ฯลฯ

2. งดขับรถเร็ว

ส่วนใหญ่มักประมาทการขับรถบนท้องถนนด้วยการขับรถเร็ว และการเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งเกิดจากการขับรถเร็ว สาเหตุอาจมาจากการเร่งรีบขณะขับรถเพื่อไปถึงจุดหมายให้เร็วขึ้น หรืออาจเป็นปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันทั้ง พ.ร.บ. จราจรและ พ.ร.บ. ทางหลวง ได้เพิ่มโทษให้สูงขึ้นเป็น 10,000 บาทอีกด้วย หากคุณสามารถลดความเร็วในการขับรถ หรือกระทั่งการขับรถแซงทางโค้ง ขับรถเปลี่ยนเลนกระทันหัน การเบรครถกระทันหัน การขับรถฝ่าไฟแดง ฯลฯ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยแก่ตัวคุณเองรวมไปถึงคนรอบข้างได้อีกด้วย

3. เมื่อเมาห้ามขับรถ

การเมาแล้วขับแป็นสาเหตุหลัก ๆ และสำคัญมากในช่วงเทศกาลที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เนื่องจากคนไทยเป็นชาติที่นิยมการสังสรรค์ และจะมากกว่าปกติหากเป็นช่วงเทศกาลสำคัญ การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นมีผลต่ออวัยวะที่สำคัญ คือ ตับ สมอง หัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้เสียการทรงตัว พูดไม่ชัด สายตาพร่ามัว ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองช้า การตัดสินใจช้าลง และผิดพลาดง่ายขึ้นและการควบคุมอารมณ์ผิดปกติ เมื่อขับรถขณะเมาขาดสติจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการเมาแล้วขับ หรือควรงดการดื่มแอลกอฮอล์เลยจะเป็นการลดอุบัติเหตุได้ดีที่สุด

4. คาดเข็มขัดนิรภัย หรือแม้แต่การสวมใส่หมวกกันน็อค

สิ่งหนึ่งที่ทุกคนพึงปฏิบัติคือ การคาดเข็มขัดนิรภัยและการสวมหมวกกันน็อค ซึ่งหากละเลยข้อนี้ไปนอกจากจะเสียทรัพย์แล้วอาจทำให้เสียชีวิตได้ เหตุผลสำคัญของการต้องปฏิบัติตามกฎจราจรโดยการคาดเข็มขัดและสวมหมวกกันน็อคก็เพราะ เป็นการคุ้มครองส่วนบุคคลเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นและช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตหรือบาดเจ็บให้น้อยลง โดยเฉพาะหมวกกันน็อค เนื่องจากศีรษะเป็นอวัยวะสำคัญเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะช่วยลดการกระแทกของศีรษะนั่นเอง การสวมหมวกกันน็อคและการคาดเข็มขัดจึงเป็นอีกข้องหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

5. ห้ามโทรศัพท์ขณะขับรถ

กฎหมายห้ามใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถอย่างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์ การใช้อินเทอร์เน็ต และการแชท ซึ่งการใช้โทรศัพท์มือถือไม่ว่ากรณีใด ๆ อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หากพบการกระทำผิดจะมีโทษปรับตั้งแต่ 400-1,000 บาท กฎหมายข้อนี้ไม่ได้มีขึ้นเพื่อลดการใช้โทรศัพท์เท่านั้น แต่เป็นการช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วย เพราะเมื่อเราใช้โทรศัพท์มือถือในขณะขับรถอาจทำให้การรับรู้ของประสาทลดลงหรือพูดง่าย ๆ ว่า แยกประสาทไม่ได้เนื่องจากในการขับรถเราใช้ทั้งสายตา หู มือและประสาทสัมผัสต่าง ๆ หากเราจดจ่ออยู่กับโทรศัพท์อย่างเดียวอาจทำให้สติในการขับรถลดน้อยลงและมีโอกาสต่อการเกิดอุบัติเหตุ

6. เช็คสภาพรถก่อนสตาร์ท

ก่อนสตาร์ทรถ หรือเมื่อมีเวลาว่างควรตรวจเช็คสภาพรถเป็นประจำ เนื่องจากสภาพรถเป็นขั้นตอนพื้นฐานในการดูแลรถ ซึ่งหากขาดการดูแล และตรวจสภาพรถอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ จึงควรหมั่นตรวจเช็ครถทุกครั้ง เช่น การเช็คลมยางก่อนทุกครั้ง หากพบว่าลมยางอ่อนเกินไปควรแวะเข้าปั๊ม หรืออู่ที่ใกล้เคียงเพื่อเติมลมยางให้พอดีไม่แข็ง และไม่อ่อนจนเกินไป หรือการเช็คไฟหน้าไฟหลัง แบตเตอรี่ ถังน้ำมัน สัญญาณไฟเตือนต่าง ๆ สายเบรค ฯลฯ เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุ และสร้างความปลอดภัยในขั้นแรกของการขับรถบนท้องถนน ซึ่งนอกจากจะเป็นผลดีต่อตัวเรา และคนรอบข้างแล้ว ยังทำให้อายุการใช้งานรถเพิ่มขึ้นอีกด้วย

7. การไม่ประมาทและความไม่ขาดสติ

จากวิธีต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นทุกอย่างอยู่บนพื้นฐานของการไม่ประมาท และความไม่ขาดสติทั้งสิ้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันหรือการขับรถบนท้องถนนก็เป็นสิ่งที่ควรระลึก และจำขึ้นใจไว้เสมอ เป็นเสมือนเครื่องเตือนใจ และเป็นเครื่องป้องกันภัยกับตัวเราได้ดีที่สุด ที่พบเห็นการประมาทบ่อย เช่น หันหรือก้มไปหยิบจับสิ่งใด อย่างเช่นแว่นกันแดด แก้วน้ำ โทรศัพท์มือถือ หรืออาจรวมถึงการนำเด็กเล็กมานั่งตักเวลาขับรถ เป็นต้น เพียงแค่ละสายตาจากเส้นทางตรงหน้าก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นในขณะขับรถจึงต้องไม่ประมาท และมีสติอยู่เสมอ

การเตรียมตัวเอง และยานพาหนะให้พร้อมจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก โทรสายด่วนที่ควรรู้ สายด่วน 1669 หรือโทร: 02 0805999 โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิพร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติร่วมกับภาคีเครือข่ายสถานพยาบาล และหน่วยบริการทั้งภาครัฐ และเอกชนให้บริการการส่งต่อผู้บาดเจ็บผู้ป่วยฉุกเฉิน



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกพัฒนาการช้ารู้ได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าลูกซนมาก สงสัยว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ แล้วเด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ลูกพัฒนาการช้ารู้ได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะรู้สึกว่าลูกซนมาก สงสัยว่าลูกจะเป็นเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ แล้วเด็กสมาธิสั้นเป็นอย่างไร

พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช โรงพยาบาลพริ้นซ์สุวรรณภูมิ พญ.นพวรรณ ศรีวงค์พานิช

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคข้อสะโพกเสื่อม ภัยร้ายที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

โรคข้อสะโพกเสื่อม คือ รูปแบบหนึ่งของข้ออักเสบที่เกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อเสื่อมล่อนหลุดออกไป เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ทำให้กระดูกมีการเสียดสีกันโดยตรง จนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด

โรคข้อสะโพกเสื่อม ภัยร้ายที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด

โรคข้อสะโพกเสื่อม คือ รูปแบบหนึ่งของข้ออักเสบที่เกิดจากการที่กระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อเสื่อมล่อนหลุดออกไป เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ทำให้กระดูกมีการเสียดสีกันโดยตรง จนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด

โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease)

โรคหัวใจและหลอดเลือดนับว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตจากโรคมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง โดยสถิติกระทรวงสาธาณสุขเมื่อปี 2561

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD or Coronary Heart Disease)

โรคหัวใจและหลอดเลือดนับว่าเป็นโรคที่เป็นสาเหตุในการเสียชีวิตจากโรคมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็ง โดยสถิติกระทรวงสาธาณสุขเมื่อปี 2561

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม