Header

ตะคริว อาการใกล้ตัว ที่หลาย ๆ คนต้องเคยเป็น

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ปัญหาเรื่อง “ตะคริว” เป็นปัญหาประจำที่เชื่อว่าทุกคน ทุกครอบครัวมีประสบการณ์มากันทั้งนั้น  ในบางครั้งเกิดขึ้นในช่วงที่ไม่ควรเกิดขึ้น จนอาจนำอันตรายมาสู่เราได้ เช่น ตอนว่ายน้ำ หรือตอนวิ่ง และไม่จำเป็นต้องเกิดกับนักกีฬาหรือขณะที่มีการออกกำลังกาย แต่สามารถเกิดขึ้นกับกับคนธรรมดาได้ แต่รู้หรือไม่ว่าอาการ “ตะคริว” นี้เป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนว่ามีความผิดปกติขึ้นในร่างกายเกิดขึ้น !! เราจึงจำเป็นต้องรู้จักอาการนี้ทั้งสาเหตุ การรักษา และการป้องกันให้มากขึ้นนะคะ

ตะคริวเกิดจากอะไร ?

ตะคริว (Muscle cramps) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อหดเกร็ง จนเกิดเป็นก้อนแข็ง ซึ่งเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดก็ได้ แต่ส่วนมากจะเกิดขึ้นบริเวณน่องและขา ส่งผลให้เกิดอาการปวด หรือเจ็บกล้ามเนื้อบริเวณนั้น โดยตะคริวจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และไม่สามารถล่วงรู้หรือบังคับ ให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ โดยตะคริวมักจะเป็นในระยะเวลาสั้น ๆ ชั่วขณะหนึ่ง หลังจากนั้นอาการเจ็บปวดต่าง ๆ จะค่อย ๆ ทุเลาลงไปเอง แต่ในบางรายก็ใช้ระยะเวลานานกว่าจะทุเลาลง หรือบางรายอาจจะเป็นตะคริวได้บ่อย จนทำให้เกิดความทรมาน หรือรู้สึกหงุดหงิดได้


ตะคริวเกิดขึ้นที่บริเวณใดได้บ้าง ?

หลายคนอาจชินกับการเกิดภาวะนี้บริเวณขาจนเข้าใจว่าตะคริวไม่สามารถเกิดขึ้นที่อื่นได้ แต่ในความเป็นจริงตะคริวสามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด และแต่ละจุดยังสำคัญต่อการเคลื่อนไหว ได้แก่

  • ตะคริวบริเวณหน้าท้อง จากโรคที่เกิดขึ้นในบริเวณท้อง เช่น ระบบย่อยอาหารอาจเกิดการติดเชื้อ หรือเกิดจากการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อท้องได้ด้วยเช่นกัน
  • ตะคริวบริเวณหลัง เกิดจากการใช้แรงในขณะก้มมากเกินไปทั้งก้มยกของหนัก หรือการก้มนาน ๆ จะส่งผลให้เกิดอาการตะคริว หรืออาการปวดได้ นอกจากนี้อาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณว่ากระดูกสันหลังมีความผิดปกติอีกด้วย
  • ตะคริวบริเวณขา พบได้มากจากการออกกำลังกาย เนื่องจากการใช้กล้ามเนื้อเกินความเหมาะสมจนเกิดอาการเกร็ง หรืออ่อนล้าโดยอาการที่อันตรายที่สุดคือ การเป็นตะคริวขณะว่ายน้ำ


สาเหตุของการเกิดตะคริว

ตะคริวเกิดจากสาเหตุมากมายหลายประการจนยากที่จะระมัดระวังได้ จึงทำให้ไม่สามารถควบคุมการเกิดตะคริวได้ สาเหตุที่ว่านั้น อาจเกิดจาก

  • เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อย ๆ จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย
  • เซลล์ประสาทและเส้นประสาทที่ควบคุมการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อทำงานผิดปกติในขณะนอนหลับ
  • เกิดได้จากโรคบางโรค เช่น โรคตับ หรือโรคไต
  • เกิดจากการใช้ยาบางกลุ่ม เช่น ยาขับปัสสาวะ หรือยาราโลซิฟีน เป็นต้น
  • การดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อขาดน้ำ
  • เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะโซเดียมและโพแทสเซียม ได้แก่ ท้องเดิน อาเจียน เสียเหงื่อมาก
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ก็อาจเป็นตะคริวได้บ่อย
  • ตั้งครรภ์อาจเป็นตะคริวได้บ่อยขึ้น เนื่องจากระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ
  • บาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ อาจเกิดจากการกระแทกระหว่างเล่นกีฬา
  • ใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นทำงานหนักมากเกินไประหว่างการทำกิจกรรมออกแรง
  • เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ จากการออกกำลังกายหนักหรือวอร์มอัพไม่พ่อ
  • การนอน นั่ง หรือยืน ในท่าที่ไม่สะดวกนาน ๆ ก็ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก
  • ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง หรือหลอดเลือดตีบตัน ๆ ทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี


อาการของตะคริว

อาการปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้ออย่างมาก หากสัมผัสจะพบว่ามีก้อนเนื้อบริเวณนั้น โดยปกติจะสามารถหายได้ภายในเวลา 2-15 นาที ในบางรายอาจมีอาการปวดเรื้อรังอยู่ และจะกินเวลาเป็นวันก่อนจะหายอย่างสมบูรณ์

จะแก้ตะคริวอย่างไร ?

  • หากเกิดตะคริวขณะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาบนบก ให้ยืดกล้ามเนื้อ หรือนวดบริเวณที่เป็นตะคริวประมาณ 1-2 นาที หากอาการยังไม่หายดี ให้ค่อย ๆ นวดไปเรื่อย ๆ
  • หากเกิดตะคริวขณะว่ายน้ำ เราต้องตั้งสติ พยายามทำให้ตัวของเราลอยน้ำอยู่ตลอดเวลา หากเกิดตะคริวที่น่องด้านหลัง ให้หงายตัวขึ้น ใช้มือพยุงน้ำให้ลอย และยกขาขึ้นเหนือน้ำเข้าหาใบหน้า หากเกิดตะคริวหลังขาอ่อน พยายามอยู่ในท่านอนคว่ำ และพับข้อเท้าเข้าหาด้านหลัง หากเกิดตะคริวที่ข้อเท้า นอนหงายและให้เท้าอยู่บนผิวน้ำ แล้วนวด หรือหมุนเบา ๆ ที่ข้อเท้า
  • หากเกิดอาการเป็นตะคริวในขณะที่นอน ให้ยืดกล้ามเนื้อขา โดยยืดขาให้ตรง กระดกปลายเท้าขึ้น ค้างไว้ 5 วินาที ทำแบบนี้ 5-10 ครั้ง แล้วนวดกล้ามเนื้อขาเป็นวงกลมจนกว่าจะหาย
  • หากสตรีตั้งครรภ์เกิดตะคริว ให้ปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์ เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุอย่างละเอียด และทำการรักษา เนื่องจากอาการตะคริวอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้

จะป้องกันตะคริวกินอย่างไร ?

  • อบอุ่นร่างกายยืดเส้นยืดสายกล้ามเนื้อก่อนเริ่มออกกำลังกาย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 แก้วหรือ 2 ลิตร
  • กินอาหารที่มีแคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เช่น ปลา นม ผักโขม ลูกเกด กล้วยหอม เป็นต้น
  • ดื่มนมก่อนนอนเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่ตะคริวกินระหว่างนอนตอนกลางคืน
  • นอนยกขาให้สูงโดยใช้หมอนรองขาให้ขาสูงขึ้นจากเตียงประมาณ 10 เซนติเมตร หรือประมาณ 4 นิ้ว
  • ฝึกยึดกล้ามเนื้อมัดที่เกิดตะคริวบ่อย ๆ
  • ระมัดระวังการยกของหนัก หรือการทำกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อหนักอย่างต่อเนื่อง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หลังการรับประทานอาหาร
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30-60 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอวันละ 7-9 ชั่วโมง


จะเห็นได้ว่า โดยส่วนใหญ่ตะคริว เกิดจาก เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้ยืดตัวบ่อย ๆ จึงทำให้มีการหดรั้งหรือเกร็งได้ง่าย และเกิดจากโรค หรือการใช้ยาบางกลุ่มที่เป็นปัจจัยกระตุ้นทำให้เกิดตะคริว แม้ตะคริวจะไม่ได้เป็นโรคภัยที่ร้ายแรงมาก แต่ก็สร้างความเจ็บปวดทรมานไม่น้อยเลยล่ะค่ะ อีกทั้งหากเป็นขึ้นมาอย่างกะทันหัน ก็เสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด อย่างการสะดุดล้มหรือหกล้ม ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้ อาจนำไปสู่การบาดเจ็บที่ร้ายแรงได้เลยนะคะ ดังนั้น แม้อาการตะคริวจะพบได้บ่อยจนเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามเลยล่ะค่ะ ควรยืดกล้ามเนื้อบ่อย ๆ กินอาหารที่มีแคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เช่น ปลา นม ผักโขม ลูกเกด กล้วยหอม อีกสิ่งหนึ่งคือระมัดระวังการยกของหนักก่อนด้วยนะคะ



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตรวจสุขภาพตับ ไม่ต้องกลัวเจ็บ ด้วยไฟโบรสแกน (Fibroscan)

ภาวะตับอักเสบเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันพอกตับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน การใช้ยาเกินความจำเป็น

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจสุขภาพตับ ไม่ต้องกลัวเจ็บ ด้วยไฟโบรสแกน (Fibroscan)

ภาวะตับอักเสบเรื้อรังเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะไขมันพอกตับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน การใช้ยาเกินความจำเป็น

blank บทความโดย : ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดื่มนมเวลาไหนได้ประโยชน์ที่สุด

นมเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด เพราะนมเต็มไปด้วยสารอาหาร เช่น โปรตีน, วิตามินเอ, บี 1, บี 2, บี 12, วิตามินดี โพแทสเซียม และแมกนีเซียม

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ดื่มนมเวลาไหนได้ประโยชน์ที่สุด

นมเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุด เพราะนมเต็มไปด้วยสารอาหาร เช่น โปรตีน, วิตามินเอ, บี 1, บี 2, บี 12, วิตามินดี โพแทสเซียม และแมกนีเซียม

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก ภาวะแทรกซ้อนเมื่อกระดูกพรุนหรือหลังลื่นล้ม

ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหักคืออาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นภายในเยื่อหุ้มข้อ อันเนื่องมาจากภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ หรือการได้รับอุบัติเหตุบริเวณสะโพก เช่น การลื่นล้ม อุบัติเหตุจราจร และการตกจากที่สูง

ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหัก ภาวะแทรกซ้อนเมื่อกระดูกพรุนหรือหลังลื่นล้ม

ภาวะคอกระดูกต้นขาบริเวณสะโพกหักคืออาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นภายในเยื่อหุ้มข้อ อันเนื่องมาจากภาวะกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ หรือการได้รับอุบัติเหตุบริเวณสะโพก เช่น การลื่นล้ม อุบัติเหตุจราจร และการตกจากที่สูง