Header

สังคมก้มหน้า ที่มาของหลายโรค!!

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ในสังคมยุคปัจจุบัน “สมาร์ทโฟน” เป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีอิทธิพลสูงมาก ทำให้ผู้คนต่างมีพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะ นั่ง กิน นอน เดิน ก็จะหยิบสมาร์ทโฟนขึ้นมาดูตลอดเวลา จึงเรียกพฤติกรรมเหล่านี้ว่า “สังคมก้มหน้า” ที่ได้ยินกันจนคุ้นหูและเห็นภาพเหล่านี้จนชินตา นอกจากนี้ยังส่งผล กระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคนรอบข้างแล้ว การเสพติดการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไปยังส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพร่างกายด้วย แต่จะมีอะไรบ้าง ศึกษาได้จากบทความนี้

สังคมก้มหน้า ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างไร ?

การติดสมาร์ทโฟนสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้หลายด้าน ซึ่งอาจถึงขั้นทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือเกิดความผิดปกติบางอย่างต่อร่างกาย โดยปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมสังคมก้มหน้า มีดังนี้

  • กลุ่มอาการไหล่ห่อคอตก (Text Neck Syndrome) การก้มหน้าจ้องสมาร์ทโฟนอาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอเกร็งตัวมากเกินไป และอาจเกิดการกดทับเส้นประสาทได้ นอกจากนี้ อาจทำให้เสียบุคลิกภาพ และกลายเป็นคนที่มีท่าทางไหล่ห่อคอตกได้
  • นิ้วล็อก การเล่นสมาร์ทโฟนติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดพังผืดบริเวณข้อนิ้วหัวแม่มือที่ต้องงออยู่ตลอดเวลาในขณะเล่นสมาร์ทโฟน จนกระทั่งเกิดอาการนิ้วล็อกตามมา
  • ปัญหาสายตา การเล่นสมาร์ทโฟนส่งผลให้ได้รับแสงสีฟ้าจากหน้าจอสมาร์ทโฟนได้ โดยแสงดังกล่าวสามารถทำให้ตาล้าและเกิดอาการปวดตา ในระยะยาวก็อาจทำให้เสียสายตาได้ด้วย
  • ปัญหาในการนอนหลับ การเล่นสมาร์ทโฟนในช่วงเวลากลางคืนหรือก่อนนอนสามารถส่งผลต่อการนอน ทำให้นอนไม่หลับและรู้สึกเหนื่อยล้าในวันถัดไป
  • โรคกลุ่มเมตาบอลิกซินโดรม การอยู่ในท่าเดิมเป็นระยะเวลานาน ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานไม่เต็มที่ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงหรือภาวะอ้วน

วิธีป้องกันปัญหาสุขภาพจากการใช้สมาร์ทโฟน

เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่เป็นผลพวงจากการใช้สมาร์ทโฟนมากเกินพอดี ตลอดจนการเกิดอุบัติเหตุจากความไม่ระมัดระวังในการใช้สมาร์ทโฟน ผู้ใช้ควรปรับพฤติกรรมการใช้ให้เหมาะสมตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ไม่จ้องหน้าจอสมาร์ทโฟนใกล้เกินไป รวมทั้งควรปรับขนาดตัวอักษรและรูปภาพให้อ่านแล้วสบายตา และหมั่นพักสายตาเป็นระยะ เพื่อป้องกันอาการตาล้า
  • ใช้ฟิล์มติดหน้าจอสมาร์ทโฟนชนิดกันแสงสะท้อน และปรับสภาพแสงโดยรอบให้สมดุลกับหน้าจอ ไม่ให้สว่างจ้าหรือมืดจนเกินไป
  • คุยโทรศัพท์ครั้งละไม่เกิน 15 นาที เพื่อป้องกันการได้รับคลื่นรังสีในปริมาณมากเกินไป
  • เลือกใช้สมาร์ทโฟนที่มีค่าดูดกลืนพลังงานจำเพาะต่ำ (Specific Absorption Rate: SAR) ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกถึงปริมาณที่เนื้อเยื่อในร่างกายจะดูดซับคลื่นรังสีจากสมาร์ทโฟน โดยควรเลือกที่มีค่ามาตรฐานไม่เกิน 1.6 วัตต์ต่อน้ำหนักตัวของผู้ใช้ 1 กิโลกรัม
  • หลีกเลี่ยงการให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 10 ปีใช้สมาร์ทโฟน เนื่องจากกะโหลกศีรษะของเด็กยังบอบบาง ทำให้คลื่นรังสีผ่านกะโหลกศีรษะเข้าไปยังสมองได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่
  • ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น หูฟัง และบลูทูธ เป็นต้น เพื่อป้องกันคลื่นรังสีจากสมาร์ทโฟน รวมถึงป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันจากการจดจ่อกับสมาร์ทโฟนมากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟนขณะขับขี่ยานพาหนะ เพราะทำให้ขาดสมาธิและเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้

ถึงแม้การใช้สมาร์ทโฟนจะส่งผลเสียได้มากมายทั้งต่อสุขภาพคนเราและสังคมทั่วโลก แต่สมาร์ทโฟนก็มีข้อดีอยู่มากมายและมีส่วนช่วยเหลือพัฒนาได้ด้วยอีกเช่นกัน เพียงแค่รู้จักใช้งานให้ถูกหลัก รู้จักแบ่งเวลาและมีสติในการใช้งาน สมาร์ทโฟนก็จะกลายเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สูงสุดและเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือเราได้มากที่สุดเช่นกัน



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไข้เลือดออก

ซึ่งเกิดจากการที่ยุงลายที่มีเชื้ออยู่ไปกัดผู้ป่วยแล้วปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย โดยหลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจากนั้นผู้ป่วยจึงจะเริ่มแสดงอาการ โดยไข้เลือดออกนั้นสามารถพบได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่มีการระบาดมักจะเป็นฤดูฝน โดยสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคไข้เลือดออก

ซึ่งเกิดจากการที่ยุงลายที่มีเชื้ออยู่ไปกัดผู้ป่วยแล้วปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย โดยหลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจากนั้นผู้ป่วยจึงจะเริ่มแสดงอาการ โดยไข้เลือดออกนั้นสามารถพบได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่มีการระบาดมักจะเป็นฤดูฝน โดยสามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่

นพ.บุญชู อิศราดิสัยกุล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เสียงก๊อกแก๊ก สัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม”

เวลาเดินขึ้น-ลง บันได เคยมีเสียง “ก๊อกแก๊ก” ดังที่หัวเข่าทั้งสองข้างไหม? นั่นใช่สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมใช่หรือไม่ …ก่อนอื่นเราควรแยกเสียงออกเป็น 2 แบบก่อน คือ เวลาเดินขึ้นลงบันได มีเสียงดัง เข่าดังก๊อกแก๊กอย่างเดียว ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย กับอีกแบบคือได้ยินทั้งเสียงและมีอาการปวดร่วมด้วย

เสียงก๊อกแก๊ก สัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม”

เวลาเดินขึ้น-ลง บันได เคยมีเสียง “ก๊อกแก๊ก” ดังที่หัวเข่าทั้งสองข้างไหม? นั่นใช่สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมใช่หรือไม่ …ก่อนอื่นเราควรแยกเสียงออกเป็น 2 แบบก่อน คือ เวลาเดินขึ้นลงบันได มีเสียงดัง เข่าดังก๊อกแก๊กอย่างเดียว ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย กับอีกแบบคือได้ยินทั้งเสียงและมีอาการปวดร่วมด้วย