Header

โรคถุงลมโป่งพอง โรคร้ายใกล้ตัว

นพ.อดิศร มนูสาร โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.อดิศร มนูสาร

ทุกวันนี้ รอบตัวเรามีมลพิษมากมาย จนร่างกายรับไม่ไหว โดยหนึ่งโรคร้ายที่พบบ่อยและเกิดขึ้นจากการได้รับมลพิษ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงใกล้ตัว นั่นก็คือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือที่เรามักเรียกกันว่า “โรคถุงลมโป่งพอง” โดยองค์การอนามัยโลกระบุว่ามีผู้ป่วยโรคนี้ทั่วโลกกว่า 80 ล้านคน และเสียชีวิตปีละกว่า 3 ล้านคนเลยทีเดียว วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคนี้ เพื่อเตรียมป้องกันและรับมือกันนะคะ

 

โรคถุงลมโป่งพองคืออะไร

โรคถุงลมโป่งพองคือภาวะที่ถุงลมภายในปอดมีการขยายตัวมากกว่าปกติ ส่งผลให้พื้นที่ผิวในปอดลดน้อยลง จนทำให้หายใจลำบาก และทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ซึ่งโรคนี้ก่อตัวขึ้นจากการหายใจและสูดดมเอามลพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นเวลานาน ซึ่งมลพิษดังกล่าวมักอยู่ในรูปของฝุ่น ควัน ก๊าซ สารเคมีที่มีอนุภาคเล็ก ๆ เข้า จึงเกิดการสะสมจนทำลายระบบทางเดินหายใจ อันได้แก่ หลอดลมและปอด ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้

ทุกคนอาจจะยังเห็นภาพไม่ชัด แต่ถ้าเราพูดถึงการสูบบุหรี่แล้วล่ะก็ต้องร้องอ๋อแน่นอน โดยสาเหตุของโรคถุงลมโป่งพองกว่าร้อยละ 90 เกิดมาจากการสูบบุหรี่ แต่สำหรับคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ก็อย่าชะล่าใจไป เพราะควันบุหรี่มือสองก็สามารถทำร้ายเราได้เช่นกัน นอกจากนี้มลภาวะในอากาศตามท้องถนน ตามโรงงานต่าง ๆ เช่น ควันรถยนต์ ควันอาหาร ก็สามารถก่อโรคได้เช่นเดียวกัน ถือว่าอยู่รอบตัวเรากันเลยทีเดียว

 

ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคถุงลมโป่งพอง

  • ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่สูบบุหรี่
  • แม่ค้าพ่อค้าขายอาหาร
  • ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง โดยเฉพาะตามท้องถนน
  • ผู้ที่ทำงานในโรงงาน หรืออยู่ใกล้โรงงาน

 

อาการของโรคถุงลมโป่งพอง ส่วนใหญ่จะมี 2 ลักษณะ ได้แก่

  • อาการเหนื่อย โดยมักจะเป็นเหนื่อยหอบ หายใจตื้น หายใจลำบากในเวลาที่ออกแรงหรือทำงานหนัก หรือหากถ้ามีอาการหนัก แม้แต่ในขณะพักก็อาจมีอาการเหนื่อยได้ด้วยเช่นกัน
  • อาการไอ มักจะไอเรื้อรัง โดยมักไอและมีเสมหะเล็กน้อยในตอนเช้าหลังตื่นนอน

นอกจากนี้ ในบางรายอาจมีอาการเบื่ออาหาร และน้ำหนักลดได้

 

การตรวจวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง

สามารถตรวจวินิจฉัยได้ด้วยการซักประวัติ ร่วมกับการตรวจสมรรถภาพปอดหรือการเป่าปอด เพื่อดูว่ามีการตีบแคบอุดกั้นของหลอดลมหรือไม่

 

การรักษาโรคถุงลมโป่งพอง

  • การรักษาโดยใช้ยา ซึ่งมียาหลักคือยาขยายหลอดลมเพื่อบรรเทาอาการ โดยมีทั้งชนิดกิน ฉีด และพ่น
  • การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และออกกำลังกาย เช่น
  • การงดสูบบุหรี่
  • การใส่หน้ากากปิดปากเพื่อป้องกันมลพิษ
  • การออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพปอด
  • ในผู้ป่วยที่มีออกซิเจนในร่างกายต่ำอาจมีการให้ออกซิเจนในระยะยาว

รู้จักโรคถุงลมโป่งพองกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าลืมหลีกเลี่ยงมลพิษทางอากาศ ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพปีละ 1 ครั้ง เพื่อค้นหาโรคถุงลมโป่งพองกันนะคะ

 

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

แผนกอายุรกรรม

สถานที่

อาคาร A ชั้น G

เวลาทำการ

จันทร์ - อาทิตย์ 08.00 - 21.00

เบอร์ติดต่อ

02 080 5999 ต่อ 4011

แพทย์ประจำศูนย์

แผนกอายุรกรรม

นพ.ธราวุฒิ เมฆธารา

อายุรศาสตร์ทั่วไป

แผนกอายุรกรรม

พญ.ธัญวลัย เลิศวนิชกิจกุล

อายุรศาสตร์โรคไต

แผนกอายุรกรรม

นพ.นราพงษ์ โยธินนรธรรม

อายุรศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคข้อสะโพกเสื่อม

เกิดขึ้นได้กับทุกข้อต่อในร่างกาย ซึ่งกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อค่อยๆ มีความขรุขระ บางลง หรืออักเสบ หลุดออก จนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด

blank ศูนย์ Joint Surgery Center โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคข้อสะโพกเสื่อม

เกิดขึ้นได้กับทุกข้อต่อในร่างกาย ซึ่งกระดูกอ่อนที่คลุมพื้นผิวของข้อค่อยๆ มีความขรุขระ บางลง หรืออักเสบ หลุดออก จนทำให้เกิดอาการปวดและมีการเคลื่อนไหวติดขัด

blank ศูนย์ Joint Surgery Center โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
เสียงก๊อกแก๊ก สัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม”

เวลาเดินขึ้น-ลง บันได เคยมีเสียง “ก๊อกแก๊ก” ดังที่หัวเข่าทั้งสองข้างไหม? นั่นใช่สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมใช่หรือไม่ …ก่อนอื่นเราควรแยกเสียงออกเป็น 2 แบบก่อน คือ เวลาเดินขึ้นลงบันได มีเสียงดัง เข่าดังก๊อกแก๊กอย่างเดียว ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย กับอีกแบบคือได้ยินทั้งเสียงและมีอาการปวดร่วมด้วย

เสียงก๊อกแก๊ก สัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม”

เวลาเดินขึ้น-ลง บันได เคยมีเสียง “ก๊อกแก๊ก” ดังที่หัวเข่าทั้งสองข้างไหม? นั่นใช่สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมใช่หรือไม่ …ก่อนอื่นเราควรแยกเสียงออกเป็น 2 แบบก่อน คือ เวลาเดินขึ้นลงบันได มีเสียงดัง เข่าดังก๊อกแก๊กอย่างเดียว ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย กับอีกแบบคือได้ยินทั้งเสียงและมีอาการปวดร่วมด้วย

มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยแต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือตัวเหลือง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
มะเร็งตับอ่อน

มะเร็งตับอ่อน พบได้ไม่บ่อยแต่มีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือตัวเหลือง

blank บทความโดย : ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม