Header

ผลวิจัยสูตรวัคซีน SSA กระตุ้นภูมิโควิด-19

blank โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ในขณะที่เรากำลังรอการนำเข้าของวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA อย่าง ‘โมเดอร์นา’ เพื่อฉีดกระตุ้นภูมิโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะพร้อมให้บริการเต็มรูปแบบ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป (อ้างอิง: องค์การเภสัชกรรม, 15 ก.ย. 64) ขณะเดียวกัน นับตั้งแต่ 24 ก.ย. 64 เป็นต้นมา ในประเทศไทยก็เริ่มมีการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster) ได้แก่วัคซีน AstraZeneca ให้กับกลุ่มประชาชนทั่วไปที่รับวัคซีน Sinovac ครบโดส (2 เข็ม) ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2564 หลังจากนั้นถัดมาตั้งแต่ พฤศจิกายน 2564 จะฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster) ได้แก่วัคซีน AstraZeneca ให้กับกลุ่มประชาชนทั่วไปที่รับวัคซีน Sinovac ครบโดส (2 เข็ม) เมื่อเดือนมิถุนายน 2564 (อ้างอิง: ร่างแผนการจัดสรรวัคซีนเดือน ต.ค.–ธ.ค. 64, ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19, 27 ก.ย. 64)

 

ที่มาสูตรไขว้.. ทางเลือกกระตุ้นภูมิที่เร็วและมีประสิทธิภาพ

ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับศิริราชพยาบาล เผยว่า การรับวัคซีนสลับชนิด อย่าง ‘ซิโนแวค – แอสตร้าเซนเนก้า’ หรือสูตรไขว้ SA พบสร้างภูมิสูงกว่าการรับซิโนแวคสองเข็มกว่า 3 เท่า และสร้างภูมิสูงกว่าการรับแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็มเล็กน้อย ขณะที่งานวิจัยล่าสุดพบว่า การรับวัคซีนซิโนแวคสองเข็มแล้วกระตุ้นด้วยแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่สาม สามารถสร้างภูมิคุ้มกันจำเพาะต่อไวรัสเดลต้า สูงกว่าการฉีดกระตุ้นด้วยซิโนฟาร์ม 4 เท่า และสูงกว่าการรับวัคซีนไฟเซอร์ครบโดส (อ้างอิง: ศูนย์วิจัยคลินิก ศิริราช, 10 ก.ย. 64)

ทางศูนย์วิจัยคลินิก (SICRES) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผลวิจัยที่มีการศึกษาแนวทางการฉีดวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพจากทรัพยากรวัคซีนที่มีในประเทศ 2 โครงการ  ได้แก่

1. การฉีดสลับหรือฉีดไขว้ในคนแข็งแรงทั่วไป และวัดระดับภูมิต้านทาน

ผลการวิจัยเผยว่า การฉีดด้วยซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ภูมิคุ้มกันขึ้นจาก 24 หน่วย BAU/mL เป็น 1,354 หน่วย แต่หากฉีดแอสตร้าเซนเนก้าตามด้วยซิโนแวค ภูมิคุ้มกันขึ้นเล็กน้อย จาก 147 หน่วย เป็น 222.47 หน่วย จึงเห็นได้ว่า การฉีดสลับด้วยซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้าได้ผลดีกว่าการฉีดแบบไม่สลับ (ซิโนแวค 2 เข็ม หรือ แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม) และร่างกายจะสร้างภูมิสูงกว่าภูมิคุ้มกันของผู้หายป่วยของการระบาดในช่วงปลายปี 2563 อย่างไรก็ตาม ภูมิจากการรับวัคซีนสลับ หรือไขว้ ยังต่ำกว่าไฟเซอร์ 2 เข็มซึ่งภูมิคุ้มกันอยู่ที่ 1,900 หน่วย

2. การฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ในผู้ที่รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม

ผลการวิจัยเผยว่า เมื่อกระตุ้นด้วยแอสตร้าเซนเนก้า จะทำให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มจาก 52 หน่วย เป็น 1,558 หน่วย ซึ่งผลการกระตุ้นดังกล่าวสูงกว่าการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยซิโนฟาร์ม ซึ่งเพิ่มจาก 44 หน่วย เป็น 218 หน่วย

นอกจากนี้ ยังมีการทำการวิจัยร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์วัดภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อสายพันธุ์เดลตา โดยใช้วิธี Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT50) โดยการนำตัวอย่างเลือดของผู้ที่ได้รับวัคซีนมาดูการยับยั้งไวรัสเดลตาที่มีชีวิตในหลอดทดลอง พบว่า

  • การฉีดวัคซีนแบบไขว้ด้วยซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ให้ภูมิคุ้มกันได้ 78 หน่วย ซึ่งสูงกว่าการฉีดด้วยแอสตร้าเซนเนก้าแล้วตามด้วยซิโนแวค หรือซิโนแวคสองเข็ม ประมาณ 3 เท่า
  • การฉีดด้วยแอสตร้าเซนเนก้าสองเข็ม วัดได้ภูมิ 76 หน่วย ซึ่งใกล้เคียงกับการรับซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ให้ภูมิคุ้มกันได้ 78 หน่วย ผลการสร้างภูมิจากการรับวัคซีนสลับซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า จึงถือว่าเป็นที่น่าพอใจ
  • สำหรับผู้ที่ฉีดซิโนแวคสองเข็มแล้วมาฉีดกระตุ้นด้วยแอสตร้าเซนเนก้าเป็นเข็มที่ 3 ได้ภูมิคุ้มกันต่อเดลตาสูงมากถึง 271 หน่วย ใกล้เคียงกับคนที่เพิ่งหายป่วยจากเชื้อเดลตาหรืออัลฟ่า และสูงกว่าการฉีดไฟเซอร์ 2 เข็ม

จากผลการวิจัยในประเทศแสดงให้เห็นว่า การรับวัคซีนแบบสูตรไขว้ยังให้ผลการสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพได้ และการรับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นหลังจากรับซิโนแวคยังสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย จึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการรับวัคซีนประกอบการตัดสินใจก่อนรับวัคซีน mRNA ทั้งนี้ขึ้นกับช่วงเวลารับวัคซีนของแต่ละบุคคล และกำหนดการมาถึงของวัคซีนด้วย

 

อ้างอิง: กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์วิจัยคลินิกคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

ร่างแผนการจัดสรรวัคซีนเดือน ต.ค. – ธ.ค. 64, ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19, 27 ก.ย. 64

 

 

หากคุณต้องการนัดหมายแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา

สามารถติดต่อสอบถามเราได้ Call Center 02-080-5999 หรือ LINE : @psuv หรือ คลิกที่นี่เพื่อ Add Line ของเรา

เรายินดีให้บริการคุณตลอด 24 ชั่วโมง



แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

“ประจำเดือน” ผิดปกติ สาเหตุของโรคอะไรบ้าง?

“ประจำเดือน” คือเยื่อบุของโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ในปกติผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์จะมีรอบเดือนทุกๆ 21-35 วัน และแต่ละรอบจะยาวนานราว 2-7 วัน

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
“ประจำเดือน” ผิดปกติ สาเหตุของโรคอะไรบ้าง?

“ประจำเดือน” คือเยื่อบุของโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ในปกติผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์จะมีรอบเดือนทุกๆ 21-35 วัน และแต่ละรอบจะยาวนานราว 2-7 วัน

นพ.บุญชู สถิรลีลา โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ นพ.บุญชู สถิรลีลา

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผลเสียของการดื่มสุรา

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสุราเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต เมื่อดื่มแล้วจะทำให้เกิดผลต่อระบบประสาท

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ผลเสียของการดื่มสุรา

การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสุราเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิต เมื่อดื่มแล้วจะทำให้เกิดผลต่อระบบประสาท

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร ตรวจแบบไหนดี

ปัจจุบันมีวิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างหลากหลาย โดยวิธีที่คุ้นหูและรู้จักกัน จะเป็นการตรวจแบบเร่งด่วน Antigen Test Kit (ATK) และแบบ RT-PCR (Real Time PCR)

blank บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม